702_1

 

รัชกาลที่ 6

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

 

ครองราชย์ 23 ตุลาคม พ.. 2453 - 26 ตุลาคม พ.. 2468

 

 

 

 

703 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

.. 2453

 

.. 2453 รัชกาลที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชย์

วันที่ 23 ตุลาคม พ.. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยาม-มกุฎราชกุมาร ขึ้นครองราชย์ (วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.. 2453 มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

 

2453 - 1 ตำแหน่งข้าราชการโรงเรียนราชแพทยาลัย(1)

วันที่ 6 พฤศจิกายน ร.. 129 (.. 2453) กระทรวงธรรมการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนราชแพทยาลัยและศิริราชพยาบาลเป็นชื่อโรงเรียนราชแพทยาลัย อยู่ในกำกับของกรมศึกษาธิการ โดยมีพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (...เปีย มาลากุล) เป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ ทั้งนี้ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงธรรมการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 26 วันที่ 3 ตุลาคม ร.. 128ยังคงใช้ชื่อโรงเรียนราชแพทยาลัยและศิริราชพยาบาล ดังนี้

 

โรงเรียนราชแพทยาลัยและศิริราชพยาบาล(2)

อาจารย์ผู้ปกครอง              หลวงบำเหน็จวรญาณ

ผู้ช่วยปกครองทั่วไป            ขุนจรุงชวนะภูน

ผู้ช่วยปกครองฝ่ายนักเรียนแพทย์ นายพร ครูประกาศนียบัตร์

ผู้ช่วยปกครองฝ่ายนักเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ จาบ

แพทย์ผู้ช่วยปกครองฝ่ายโรงพยาบาล ขุนอาจวิทยาคม

อาจารย์ประจำ           มอยอชแม็กฟาแลนด์

                                        หมอเฟอร์แนนเดส

อาจารย์พิเศษ            พระยาพิศนุประสาตร์เวช

หมอดับลยู บี. ตอย

หมออี. วอกเตอร์

หมอเอชอาร์ดัมซัน

นายศิริ

ครูประกาศนียบัตร์ ต่างประเทศ

ครูภาษาอังกฤษ นายกุ๊น

แพทย์ผู้ฝึกหัดที่ 1              ขุนอนุมานแพทยากร

แพทย์ผู้ฝึกหัดวิชาแพทย์ไทย        ขุนพินิจไวทยการ

แพทย์ผู้ฝึกหัดที่ 2 แลประจำห้องยา นายจรัส แพทย์ประกาศนียบัตร์

แพทย์ผู้ฝึกหัดที่ 3 แลประจำโรงพยาบาลชาย        นายเจิม

แพทย์ผู้ฝึกหัดที่ 3 แลประจำโรงพยาบาลหญิง       นายเวช

แพทย์ผดุงครรภ์ ประจำโรงคลอดบุตร   ซ่วน

 

 

704 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

แต่อีกปีต่อมาไม่ปรากฏชื่อโรงเรียนราชแพทยาลัยและศิริราชพยาบาล แต่พบชื่อโรงเรียนราชแพทยาลัยในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 27 ดังต่อไปนี้

โรงเรียนราชแพทยาลัย

(เปนโรงเรียนนักเรียนอยู่ประจำ)

พแนกปกครอง

อาจารย์ใหญ่ผู้ปกครอง       หลวงบำเหน็จวรญาณ

ผู้ช่วยปกครองทั่วไป            ขุนจรุงชวนะภูน

ผู้ปกครองนักเรียนชาย        นายพร ครูประกาศนียบัตร์

ครูปกครองนักเรียนหญิง     พูล

 

พแนกสอนวิชา

อาจารย์ประจำ           หมอยอชแม็กฟาแลนด์

ครูประจำ                   นายกุ๊น ครูประกาศนียบัตร์

ครูประจำ                   นายช่วง ครูประกาศนียบัตร์

ครูประจำ                   มิสเตอร์เอม. เอส. แฟนานดิศ

อาจารย์                    หลวงอนุภาษศิศยานุสาร ครูประกาศนียบัตร์

ต่างประเทศ

อาจารย์                    หมอเอช. อาร์ดัมซัน

อาจารย์                    หมอวอลเตอร์ บี. ทอย

อาจารย์                    หมออี. วอกเตอร์

พแนกพยาบาล

แพทย์ฝ่ายการรักษาพยาบาลทั่วไป    หลวงอาจวิทยาคม

แพทย์ฝ่ายการรักษาพยาบาลทั่วไป     นายจรัส แพทย์ประกาศนียบัตร์

แพทย์พแนกรักษาไข้หญิง   นายเวช แพทย์ประกาศนียบัตร์

แพทย์พแนกรักษาไข้ชาย     นายเจิม แพทย์ประกาศนียบัตร์

แพทย์ประจำห้องยาฝรั่ง      นายบุ๋น แพทย์ประกาศนียบัตร์

แพทย์ประจำห้องยาฝรั่ง      นายหยิ้น แพทย์ประกาศนียบัตร์

แพทย์ไทย                         ขุนพินิจไวทยการ

ผู้ช่วยแพทย์ไทย                 นายเจริญ

แพทย์ผดุงครรภ์                 เกิด

คนพยาบาลไข้ชาย     นายอ่วม คนพยาบาลประกาศนียบัตร์...

คนพยาบาลไข้หญิง    เกิด

 

 

705 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

705

 

 

 

706 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

706_สมุดบันทึกของนักเรียนแพทย์ในโรงเรียนราชแพทยาลัย

 

สมุดบันทึกของนักเรียนแพทย์ในโรงเรียนราชแพทยาลัย ระบุชื่อนายหวาน เลขประจำตัว 406

จดบันทึกเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.. 2457 ต่อมาคือขุนไพศาลสุขกิจ (หวาน สุนทากรัณย์) .. 2465

ท่านรับราชการในตำแหน่งรองอำมาตย์ตรี สุขาภิบาลเมืองราชบุรี

ข้อมูลจาก : นาครสงเคราะห์ พ.. 2465 หน้า 1229 งานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ที่มาภาพ : คุณประวิทย์ สังข์มี

 

 

707 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

2453 - 2 ยุบกองจัดการพยาบาลในกระทรวงธรรมการ และย้ายไปกระทรวงมหาดไทย(3)

วันที่ 6 พฤศจิกายน ร.. 129 (.. 2453) มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ตำแหน่งราชการกระทรวงธรรมการว่า มีการยุบกองจัดการพยาบาลในกรมธรรมการกลาง รวมทั้งแผนกโอสถศาลา

 

2453 - 3 สร้างโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง(4) (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์)

วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินจำนวน 5,800 บาท สมทบรวมกับเงินส่วนพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จ-พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเงินหนึ่งแสนสองหมื่นบาทเศษ จัดสร้างโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดงเพื่อฟื้นฟูสภาอุณาโลมแดง ตามพระราชกระแสรับสั่งในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้ง ร.. 125 (.. 2449)

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.. 2454 พระยาศุภกรณ์บรรณสาร อธิบดีกรมพระคลังข้างที่ กราบบังคมทูลเรื่องกระทรวงกลาโหมขอพระราชทานเช่าที่ดินริมถนนหัวลำโพงนอก เหนือคลองราชดำริ หรือใต้สนามม้า เพื่อสร้างโรงพยาบาล โดยขอคิดราคาค่าเช่าตามราคาที่เก็บได้อยู่ปีละ215 บาท

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช-หัตถเลขาที่ 29/544 ถึงกรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ความว่า

 

...ได้รับหนังสือที่ 20/6853 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ มีมาที่กรมหมื่นปราจิณกิติบดี เรื่องซึ่งจะสร้างโรงพยาบาลอุณาโลมแดง จะขอเช่าที่แปลงเหนือถนนราชดำริห์ ของพระคลังข้างที่ ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงกำหนดไว้ให้เก็บผลประโยชน์พระราชทานเปนเงินเดือนเลี้ยงชีพข้าราชการในพระองค์ฝ่ายในนั้น ได้ทราบแล้ว ตกลงให้ท่านจัดการกับกรมพระคลังข้างที่ต่อไป(5)

 

วันที่ 21 ธันวาคม พ.. 2454 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีว่าการกระทรวงกลาโหม กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า

 

...ด้วยเรื่องโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง ซึ่งเดิมเมื่อ ร.. 125 พระราชทานเรื่องนี้ให้ข้าพระพุทธเจ้าดำริห์จัดการที่จะมิให้เสื่อมสูญไป ข้าพระพุทธเจ้าได้ร่างกฎข้อบังคับทูลเกล้าฯ ถวายไว้แต่ครั้งนั้นชั้นหนึ่งแล้ว แต่เปนการที่ระงับมา ครั้น ร.. 129 ได้เริ่มการนี้ขึ้น โดยที่พระราชโอรส และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้พระราชทานเงินสำหรับการนี้อุทิศส่วนพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเปนเงินแสนสองหมื่นเศษ กับได้เช่าที่ดินของพระคลังข้างที่ที่ถนนราชดำริห์

 

 

 

708 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

สำหรับทำโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง...จึงได้รับพระราชทานปฤกษาการนี้กับหมอเชเฟอร์ ในการจัดทำโรงพยาบาล ที่จะให้เปนโรงพยาบาลอันถูกต้องตามแบบวิธีใหม่ที่เปนวิธีที่ดีเวลานี้...บริษัทบางกอกเคดอก ห... รับทำเปนเงิน 235,000 บาท แต่จำนวนเงินที่ข้าพระพุทธเจ้าได้รับไว้แล้วไม่พอกับการก่อสร้าง...ขอรับพระราชทานเงินของสภาอุณาโลมแดงที่มีอยู่ในชั้นเดิมนั้นมีอยู่สามแสนกว่า มารวมกับเงินรายใหม่ เพื่อจะได้จ่ายจัดการในการอุณาโลมแดงต่อไป...

 

วันที่ 15 มกราคม พ.. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรม-ราชานุญาตให้กรมพระคลังข้างที่นำเงินของสภาอุณาโลมแดงที่มีอยู่เดิมให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรี จัดการก่อสร้างโรงพยาบาล

วันที่ 4 มีนาคม พ.. 2455 พระยาศุภกรณ์บรรณสารกราบบังคมทูลว่า ได้จ่ายเงินสภาอุณาโลมแดง จำนวน 391,259 บาท 98 สตางค์ ให้กระทรวงกลาโหมรับไปจัดการแล้ว

 

 

หมายเหตุ

กรมพระคลังข้างที่ - มีหน้าที่จัดการดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

กรมพระคลังมหาสมบัติ - มีหน้าที่จัดการดูแลทรัพย์สินและงบประมาณแผ่นดิน

 

2453 - 4 ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง(6)

วันที่ 28 ธันวาคม พ.. 2453 มีพระราชกระแสดำรัสสั่งให้พระยาไพศาลศิลปสาตร์ (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) มหาดเล็กข้าหลวงเดิม จัดการตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมมหาราชวังแล้วจัดการย้ายมหาดเล็กเด็ก ๆ ที่ยังเล่าเรียนอยู่ตามโรงเรียนต่าง ๆ และที่พระราชอุทยานสราญรมย์มาเล่าเรียนรวมกันที่โรงเรียนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเนื่องในวันเฉลิมพระชนม-พรรษา

 

 

.. 2454

 

2454 - 1 รายงานจัดการกระทรวงทหารเรือ - การพยาบาลทหารเรือ(7)

วันที่ 19 มกราคม พ.. 2454 นายพลเรือโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตร-สุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ กราบบังคมทูลถวายรายงานจัดการกระทรวงทหารเรือ จำนวน 218 หน้า เรื่องรายละเอียดวิธีการจัดการหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงทหารเรือ จึงได้คัดข้อความเฉพาะเรื่องการแพทย์ทหารเรือไว้ดังนี้

 

 

709 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

มาตรา 8 การพยาบาล

ข้อ 1 ในเมื่อข้าพระพุทธเจ้ามารับตำแหน่ง(8) การแพทย์และการพยาบาลรวมอยู่ในบังคับบัญชานายแพทย์ซึ่งเป็นทหารฝรั่ง มีแพทย์อยู่ในบังคับบัญชาแต่ล้วนเป็นแพทย์ที่รู้ด้วยคุ้นเคยกับการแพทย์ยาไทยเท่านั้น ตามกองทหารไม่มีแพทย์ประจำ มีแต่ประจำอยู่ที่โรงพยาบาล ถ้ามีคนเจ็บในเรือ ก็ชักธงสัญญาขึ้น แพทย์ลงไปตรวจ เห็นควรรักษาในโรงพยาบาลก็พาลงเรือมาไว้ที่โรงพยาบาล ส่วนคนเจ็บตามกองที่อยู่บก ก็แล้วแต่จะส่งไปโรงพยาบาลหรือไม่ส่ง ส่วนตามป้อม มีแพทย์ลงไปตรวจอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ตามกองทหารหัวเมืองให้หมอเชลยศักดิ์

ข้อ 2 ต่อมาได้จัดขยายกว้างขวางขึ้น ได้รับแพทย์ประกาศนียบัตรจากโรงเรียนแพทยาลัยมาสู่ราชการ จัดให้มีแพทย์ประจำตามกองทหารหัวเมือง ส่วนการในกรุงเทพฯ เห็นว่าจัดแพทย์ประจำทุกลำเรือแลกองทหาร งานก็ไม่สู้จะมีมากในน่าที่แพทย์คนหนึ่ง ๆ ทั้งกองทหารทั้งปวงก็รวมอยู่ใกล้กันจึงได้จัดให้มีแพทย์ประจำแต่ที่โรงเรียนนายเรือ นอกจากนั้น จัดสถานที่ขึ้นแห่งหนึ่งเรียกว่า โอสถศาลา มีแพทย์ประจำสำหรับทำการตรวจโรค ที่แจกยาตามใบสั่งของแพทย์มีที่ตึกยากับเครื่องมืออย่างใหม่พร้อม แลมีกำหนดเวลาที่เรือแลกองทหารทั้งปวงจะส่งคนเจ็บมาให้แพทย์ในที่นั้นทุกวัน คนเจ็บคนใดอาการน้อย แพทย์ก็ให้ยาส่งกลับไปกอง...มีใบตรวจประจำตัวถือไปส่งกองทหารกำหนดให้ทราบว่าคนเจ็บนั้นควรปฏิบัติอย่างใด ให้ส่งไปตรวจอีกเมือใด ถ้าเป็นอาการเจ็บถึงล้มนอนเสื่อ หรือเป็นโรคติดต่อกันได้ โอสถศาลาก็ส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล เว้นไว้ถ้าเรือจะไปราชการ ก็จัดแพทย์ลงประจำพร้อมด้วยพลพยาบาลออกไปด้วย นอกจากนี้ ส่วนในกรุงถ้าคนเจ็บขึ้นในเวลาค่ำคืนเป็นอาการมาก ก็ให้เรียกแพทย์ซึ่งอยู่เวรจากสถานพยาบาลได้ทุกเวลา

ข้อ 3 สถิติโรคต่าง ๆ...

ข้อ 4 การอดฝิ่น

ข้อ 5 ส่วนของโรงพยาบาลทหารเรือ กรุงเทพฯ นี้ ของเดิมเป็นเรือนไม้แลไม่กว้างขวางพอแก่การ บัดนี้ได้ซื้อที่ที่จะปลูกใหม่ริมคลองมอญสำเร็จลงแล้ว จะได้ลงมือการก่อสร้างในศกน่าต่อไป

ข้อ 6 การหาตัวแพทย์เข้าประจำการ ถ้าจะว่าด้วยจำนวนเสียส่วนง่าย แค่ในวิชาความรู้ยังหย่อนมาก ถ้าหากหลักสูตรราชแพทย์วิทยาลัยยังหย่อนอยู่ตราบใดก็ยังจะต้องใช้แพทย์ชาวยุโรปอยู่อีกไม่ต่ำกว่านายหนึ่งเสมอไปเว้นแต่จะได้แพทย์ไทยที่ได้เล่าเรียนความรู้อย่างบริบูรณ์มาแต่ที่อื่น

ข้อ 7 การรักษาความสะอาดในสถานที่...อาหารและเครื่องบริโภคของอาหารทั่วไป ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเข้ามาได้จัดให้มีแพทย์...ประจำตรวจตราอย่างกวดขันทุกแห่ง ยังหาได้เคยมีโรคอันใดเกิดขึ้นในทางโสโครกไม่...

 

 

710 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

2454 - 2 รัฐบาลสวิสมีหนังสือแจ้งรัฐบาลสยาม เรื่องประเทศต่าง ๆ ขอเข้าร่วมลงนามอนุสัญญาเจนีวา และประเทศฮอลันดาออกกฎหมายบังคับผู้กระทำความผิดและฝ่าฝืนตามข้อสัญญาเยนิวา ลงวันที่ 6 กรกฎาคม ร.. 125 - ข้อ 27 และข้อ 28(9)

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.. 2454 เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือที่ 370/10239 ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิตติบดี ราชเลขานุการว่า สวิสคอนเฟดเดอเรชั่นมีหนังสือสอบถามประเทศสยาม เรื่องประเทศสวีเดน ประเทศโรมาเนีย ประเทศซาลเวโดร์ ประเทศฮอนดูรัส ประเทศคอสตราริกา ขอเข้าร่วมลงนามในหนังสือสัญญาเยนิวา ร.. 125 กระทรวงการต่างประเทศสยามได้มีหนังสือตอบรับไปแล้ว

วันที่ 28 มีนาคม พ.. 2454 เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือที่ 127/12305 ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิตติบดี ราชเลขานุการว่า มองซิเออร์ รูเซด ประธานาธิบดีแห่งสวิสคอนเฟดเดอเรชั่น มีหนังสือสอบถามประเทศสยาม เรื่องประเทศปารากวัยขอเข้าร่วมลงนามในหนังสือสัญญาเยนิวา ร.. 125 กระทรวงการต่างประเทศสยามได้ตอบรับไปตามธรรมเนียม

วันที่ 22 สิงหาคม พ.. 2454 เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือที่ 188/4959 ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิตติบดี ราชเลขานุการว่า มองซิเออร์ รูเซด ประธานาธิบดีแห่งสวิสคอนเฟดเดอเรชั่น มีหนังสือแจ้งความประเทศสยาม เรื่องประเทศฮอลันดาได้ออกกฎหมายบังคับผู้กระทำความผิดและฝ่าฝืนข้อสัญญาเยนิวา ลงวันที่ 6 กรกฎาคม ร.. 125 ข้อ 27 และข้อ 28

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.. 2455 เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือที่ 78/1394 ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิตติบดี ราชเลขานุการว่า สวิสคอนเฟดเดอเรชั่นมีหนังสือสอบถามประเทศสยาม เรื่องประเทศโปรตุเกส ประเทศกัวเตมาลา ขอร่วมลงนามในหนังสือสัญญาเยนิวา ร.. 125 กระทรวงการต่างประเทศสยามได้มีหนังสือตอบรับไปแล้ว

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.. 2455 เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือที่ 147/3310 ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิตติบดี ราชเลขานุการว่า สวิสคอนเฟดเดอเรชั่น มีหนังสือสอบถามประเทศสยามเรื่องประเทศบูลคาเรียขอร่วมลงนามในหนังสือสัญญาเยนิวา ร.. 125 กระทรวงการต่างประเทศสยามได้มีหนังสือตอบรับไปแล้ว

 

2454 - 3 ตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวในหัวเมือง

วันที่ 2 มีนาคม ร.. 129 (.. 2453) มีการตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวที่ตำบลสีคิ้ว อำเภอจันทึก มณฑลนครราชสีมา โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือที่ 1657/12074 ความว่า

 

กราบทูล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุมสมมตอมรพันธ์ ราชเลขา-นุการทราบฝ่าพระบาท

ด้วยเกล้าฯ ได้รับใบบอกข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา...ว่าที่

 

 

711 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

อำเภอจันทึกเป็นที่ประชุมชนมีคนสัญจรไปมาเที่ยวรับจ้างต่าง ๆ เป็นอันมาก เมื่อคนจำพวกนี้ป่วยไข้ลงแล้ว ไม่มีที่พักอาศัยรักษาพยาบาล ขุนธนูประการกิจนายอำเภอจันทึก จึงพร้อมด้วย กำนัน ขอแรงปลูก โรงพยาบาลชั่วคราว ขึ้นที่ตำบลสีคิ้ว 1 หลัง 3 ห้อง กว้าง 3 วา 1 ศอก ยาว 4 วา(10) เสาทำด้วยไม้เต็งรัง ฝาขัดไม้รวก หลังคามุงแฝก...ส่วนเงินเดือนแพทย์นั้น ให้ช่วยกันบริจาคทรัพย์ส่วนตัวได้เป็นรายเดือน ๆ ละ 40 บาท และได้จ้างนายแพทย์เชลยศักดิ์ ประจำโรงพยาบาล มีหน้าที่รักษาอยู่โรงพยาบาล 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ร.. 129 ถึงเดือนเมษายน ร.. 130 ถ้าการป่วยไข้ของราษฎรยังไม่สงบ ก็จะได้จัดการรักษาต่อไป...บรรดาผู้บริจาคทรัพย์...พร้อมกันขอพระราชทานถวายพระราชกุศล...

 

2454 - 4 ประธานาธิบดีสวิสมีหนังสือถึงรัฐบาลสยามประเทศภาคีสมาชิกของอนุสัญญาเจนีวา เพื่อแจ้งเรื่องนานาประเทศเข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125(11)

วันที่ 28 มีนาคม ร.. 129 (.. 2453) หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 127/12305 แจ้งเรื่องประเทศรีปับลิกปราเดวเข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 มา 1 ปีแล้ว ไม่มีประเทศภาคีสมาชิกคัดค้าน จึงถือว่าได้เข้าร่วมอนุสัญญาแล้ว

วันที่ 22 สิงหาคม ร.. 130 (.. 2454) หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 188/4959 แจ้งเรื่องประเทศฮอลันดาออกกฎหมายบังคับผู้กระทำผิดฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125ข้อ 27 และข้อ 28 ว่าด้วยการรักษาพยาบาลทหารบาดเจ็บในเวลาทำสงคราม

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ร.. 130 (.. 2454) หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 370/10239 แจ้งเรื่องประเทศสวีเดน โรมาเนีย ซาลเวโดร์ ฮอนดูรัส เข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 มา 1 ปีแล้ว ไม่มีประเทศภาคีสมาชิกคัดค้าน จึงถือว่าได้เข้าร่วมอนุสัญญาแล้ว

วันที่ 17 พฤษภาคม ร.. 131 (.. 2455) หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 78/1394 แจ้งเรื่องประเทศโปรตุเกสและประเทศรีปับลิกัวเตมาลาเข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125รัฐบาลสยามได้มีหนังสือตอบรับรองไปยังรัฐบาลสวิส

วันที่ 19 กรกฎาคม ร.. 131 (.. 2455) หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 78/1394 แจ้งเรื่องประเทศบูลคาเรียได้แรติไฟ(12) อนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 แล้ว

วันที่ 19 มิถุนายน พ.. 2456 หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 59/3020 แจ้งเรื่องประเทศคองโก ประเทศเบลเยียม ประเทศเยอรมนี ประเทศเดนมาร์ก ประเทศตุรกี ออกประมวลกฎหมายอาญาตามผลผูกพันของอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125

วันที่ 19 กันยายน ร.. 131 (.. 2455) หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 135/5866 แจ้งเรื่องประเทศฝรั่งเศสได้แรติไฟอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 แล้ว

วันที่ 12 มิถุนายน พ.. 2456 หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 143/6183 แจ้งเรื่องประเทศญี่ปุ่นออกกฎหมายบังคับการกระทำผิดอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ข้อ 27 และข้อ 28

 

 

712 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

2454 - 5 การศึกษาเพื่อทวยราษฎร์

วันที่ 1 เมษายน พ.. 2454 ประกาศตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาท-สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(13)

 

...สำนักฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งสมเด็จพระบรมชนกนารถพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริห์เริ่มตั้งขึ้นโดยพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย จึงได้ทรงจัดการกระทรวงมหาดไทย รวมหัวเมืองซึ่งแยกย้ายสังกัดอยู่ในกระทรวงต่างตามความสะดวกในสมัยเดิมให้สังกัดอยู่แห่งเดียวกัน...แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการฝึกหัดกุลบุตร์สำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่รัตนโกสินทร์ 118...โปรดเกล้าฯ ให้แยกการฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนจากกระทรวงมหาดไทยตั้งเปนโรงเรียนขึ้นต่างหาก เรียกว่าโรงเรียนมหาดเล็ก ตั้งแต่รัตนโกสินทรศก 121...

...บัดนี้ การปกครองท้องที่ก็ลงระเบียบแบบแผนอยู่แล้ว เปนอันมิใช่ว่าการปกครองนั้นเปนฉเภาะน่าที่ของกระทรวงมหาดไทยแลนครบาล กระทรวงอื่น ๆ ย่อมมีน่าที่ซึ่งจะจัดการเปนการอาไศรยซึ่งกันแลกัน แลรับผิดชอบด้วยกันทั่วทั้งพระราชอาณาจักร...สมควรจะขยายการโรงเรียนให้กว้างขวางออกไป สำหรับส่งคนไปรับราชการทุกกระทรวงทะบวงการ จัดการโรงเรียนให้เปนพแนกวิทยาต่าง ๆ เช่น กฎหมาย ปกครอง การต่างประเทศการเกษตร การช่าง แลการแพทย์ เปนต้น

...จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเปนโรงเรียนข้าราชการพลเรือน พระราชทานนามปรากฏว่า โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุด้วยพระบาท-สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชดำริห์เริ่มตั้งขึ้นไว้ แลจะใช้ทุนที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเปนพระเกียรติยศในพระบรมนามาภิไธย...

 

วันที่ 1 เมษายน พ.. 2454 จัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง(14)

 

แจ้งความโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ พิเศษส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงการเล่าเรียนว่าเปนกิจสำคัญแลจำเปนอย่างหนึ่ง เพราะว่าความเจริญแห่งประเทศบ้านเมืองในสมัยต่อไปนี้ ที่จะเปนปึกแผ่นแน่นหนาได้แท้จริงก็ด้วยอาศรัย

 

 

713 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

ศิลปวิทยาเปนที่ตั้ง หรือเปนรากเง้าเค้ามูล จึงมีพระราชประสงค์จะทรงทำนุ-บำรุงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้รุ่งเรืองทันเขาอื่น พระราชดำริห์เรื่องนี้ได้มีมาแต่ครั้งยังดำรงพระเกียรติยศอยู่ในตำแหน่งพระเยาวราช คือได้ทรงจัดโรงเรียนขึ้นในพระตำหนักสวนจิตร์ลดาแลวังสราญรมย์ แลที่ย้ายมาในพระบรมมหาราชวังในบัดนี้ ได้ทรงจัดการศึกษาด้วยพระองค์ แต่ในครั้งนั้นเปนแต่ทรงจัดขึ้นเล็กน้อย คือให้มีนักเรียนเฉภาะแต่มหาดเล็กข้าในกรม วิชาที่สอนก็เปนแต่ชั้นต่ำ ๆ เพื่อเปนการทดลองพอเปนทางที่จะได้ทรงพระราชดำริห์ต่อไป ก็เปนอันได้สมพระราชประสงค์ตามควรแก่การในครั้งนั้น

มาบัดนี้จึงทรงพระราชดำริห์ว่า สมควรจะขยายการศึกษาของโรงเรียนนี้ให้กว้างขวางขึ้นได้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีกรรมการขึ้นคณะหนึ่งสำหรับรับพระบรมราชโองการ มาจัดการตามกระแสพระราช-ดำริห์ แลโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินสวนดุสิตระหว่างถนนซางฮี้ใน ถนนดวงเดือนใน แลคลองเปรมประชากร ให้เปนที่โรงเรียน แลจะพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ลงมือก่อสร้างโรงเรียนใหญ่อย่างงดงาม สำหรับเปนโรงเรียนนักเรียนอยู่ประจำ มีที่อยู่ที่เรียนที่เล่นแลที่ฝึกหัดศิลปวิทยาพร้อมสรรพ กับต่อไปจะได้พระราชทานทุนทรัพย์ให้เปนสมบัติของโรงเรียน สำหรับเก็บประโยชน์หรือดอกเบี้ยเลี้ยงโรงเรียนต่อไปชั่วกาลนาน...พระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง

วันที่ 1 เมษายน พ.. 2454 ประกาศจัดการมูลศึกษาของทวยราษฎร(15)

มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล เรื่องการขยายการศึกษาทุกตำบล ดังนี้

 

ด้วยมีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา-วชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ทรงพระราชรำพึงโดยพระราชจริยานุวัตร์ จะทำนุบำรุงให้เหล่ากุมาร กุมารีทั้งหลายในพระราชอาณาจักร ได้เล่าเรียนให้รู้หนังสือ อันจะเปนทางที่จะประกอบกิจการงานทั้งปวง ตามชาติภูมิ์ในภายน่าให้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระ-กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขยายการศึกษา...ขึ้นทั่วทุกตำบล เพื่อให้เปนการสะดวกแก่ประชาราษฎรทั้งปวงที่จะได้ส่งบุตร์หลานเข้าเล่าเรียนได้ในที่ใกล้บ้านเรือนทั่วไป จะได้จัดตั้งกรรมการตำบลขึ้นไว้ทุก ๆ ตำบล ๆ ละ 3 นาย คือ กำนัน หรือหัวน่าตำบลนั้นคน 1 กับอธิการวัดใดวัดหนึ่งในตำบลนั้นรูป 1 กับแพทย์ประจำท้องถิ่นตำบลนั้น ซึ่งจะได้เลือกขึ้นไว้เปนผู้ช่วยสำหรับรักษาพยาบาลในเวลาป่วยไข้นั้นอีกนาย 1 รวม 3 นาย เปนเจ้าน่าที่จัดการศึกษาวิชาชั้นต้นของทวยราษฎรทั้งปวง

 

 

714 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

เพราะฉะนั้น ให้ผู้ปกครองเด็กทั้งปวงส่งเด็กทั้งหญิงแลชายซึ่งมีอายุย่างเข้า 8 ปีแล้ว อันสมควรจะเล่าเรียนให้ได้เข้าเรียน จงทุกคนในสถานโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งตามความพอใจ...

 

2454 - 6 สภาอุณาโลมแดงอเมริกันถามเรื่องไข้มาเลเรียชุกชุมที่เชียงใหม่(16)

วันที่ 21 มิถุนายน พ.. 2455 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิตติบดี ราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลทรงทราบ

 

...ด้วยกระทรวงต่างประเทศ มีจดหมายที่ 306/11355 วันที่ 14 มีนาคม ศก 130 มายังกระทรวงมหาดไทยว่า อุปทูตสยาม กรุงวอชิงตันมีบอกถามมาว่า สภาอุณาโลมแดงอเมริกัน แจ้งว่าได้รับรายงานของคณะสอนศาสนาที่เชียงใหม่บอกไปว่า ในเขตแขวงเชียงใหม่ ราษฎรได้ป่วยเป็นไข้มาเลเรียชุกชุม สภาอุณาโลมแดงขอทราบว่าจะเปนการจริงตามคำของคณะสอนศาสนากล่าวหรือไม่ พระยาวรวิไชย ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ ตอบว่า หมอเคอร์และหมอแมกกีนชี้แจงว่า ไข้ที่เป็นกันชุกชุมเป็นไข้มาเลเรีย ต้องรักษาด้วยยาควินินหรือยาโอสถเท่านั้น ผู้มีทรัพย์พอจะหาซื้อได้ เห็นว่าถ้ารัฐบาลจัดส่งยาควินินเม็ด และยาโอสถสำหรับจ่ายแจกแก่ผู้ที่ยากจนขัดสนจริง ๆ ไข้ที่จับก็จะหายได้ง่าย ไม่ถึงกับล้มตายมาก...

 

2454 - 7 การประชุมนานาประเทศว่าด้วยการป้องกันโรคและบำรุงความสุขสำหรับบ้านเรือน ครั้งที่ 3(17)

วันที่ 28 กันยายน พ.. 2454 อัครราชทูตเยอรมนีมีหนังสือลงวันที่ 13 กันยายน ร.. 130 ส่งโปรแกรมการประชุมนานาประเทศว่าด้วยการป้องกันโรคและบำรุงความสุขสำหรับบ้านเรือน ครั้งที่ 3 ซึ่งจะได้ประชุมต่อเนื่องจากการแสดงพิพิธภัณฑ์วิธีป้องกันโรคแลบำรุงความสุข ณ เมืองเดรสเดรน วันที่ 2 - 7 ตุลาคม ร.. 130 แต่ประเทศสยามส่งผู้แทนไปไม่ทัน

 

2454 - 8 รัฐบาลสยามออกพระราชบัญญัติห้ามใช้เครื่องหมายกากะบาดแดง ร.. 130ตามข้อผูกพันของอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125

วันที่ 19 ธันวาคม พ.. 2454 พระยากัลยาณไมตรีมีจดหมายที่ 8622 จาก Office of the General Adviser ถึงสมเด็จกรมพระยาเทวะวงษวโรประการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศว่า The Ninth International Conference of the Red Cross จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ณ กรุงวอชิงตัน ว่าด้วยเรื่อง การออกกฎหมายภายใต้สัญญากากะบาดแดง ร.. 125 (The Subject of Legislation Under the Geneva Convention of 1906) ซึ่งผู้แทนสภาอุณาโลมแดงของสยามอาจจะต้องนำเสนอความก้าวหน้า และพระยากัลยาณไมตรีได้แนบ

 

 

 

715 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

บันทึกข้อเสนอเพื่อปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว (Geneva Convention of 1906 - Note and Enclosures on Legislation in Fulfillment of Articles 23, 27, 28) ดังความย่อดังนี้

1. ผู้แทนรัฐบาลสยามจะต้องนำเสนอการดำเนินการตามภาระผูกพันภายใต้สัญญากากะบาดแดง ร.. 125 ข้อ 23 ข้อ 27 และข้อ 28

...It would be advisable to instruct our delegate as to what Siamese Government has done to carry out certain obligations which it under took in 1906 under Article 23, 27 and 28 of the Geneva Convention of that year...

 

2. รัฐบาลสยามต้องออกกฎหมายผูกพันตามข้อบังคับที่ 28 เพื่อกำหนดบทลงโทษทางทหาร โดยความเห็นชอบของสภาเสนาบดี ในการคุ้มครองเชลยศึกของกองทัพ ผู้เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายต่อชีวิตมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ หรือทรัพย์สิน ตามคำอธิบายในสัญญาข้อ 249 ถึง 259 และบทกำหนดโทษในสัญญาข้อ 268 ถึง 303

…The Government proposes to fulfill its obligation under Article 28 by making adequate provision in the new Military Penal Code which has been drafted and is under consideration by the Cabinet. Speaking in a very General way, commits on any wounded or sick person belonging to the military forces any of the offences against life, body, or property, described by § 249 to 259, and § 268 to 303 of the Penal Code, shall be liable to the punishment provided by such sections increased by one-half…

 

3. การใช้ธงกาชาดหรือสัญลักษณ์กาชาดในระหว่างสงครามไม่ถูกต้อง ตามบทบัญญัติสัญญากากะบาดแดง ร.. 125 ถือเป็นความผิดตามข้อ 128 ของบทกำหนดโทษ

...Also, whoever in time of war uses the Red Cross flag or the Red Cross Badge contrary to the provisions of the Geneva Convention of July 6, 1906 shall be guilty of the offence described in § 128 of the Penal Code...

 

4. ต้องออกกฎหมายเพื่อไม่ให้มีการใช้กาชาดในเชิงพาณิชย์

…In Regard to legislation against the misuse of the Red Cross for commercial purposes...

 

 

716 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

 

วันที่ 7 มกราคม พ.. 2455 มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติห้ามใช้เครื่องหมายกากะบาดแดง ร.. 130และมีคำปรารภแห่งพระราชบัญญัติว่า

 

...มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหา-วชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่า ด้วยนานาประเทศทั้งหลายได้ชุมนุมปรึกษากันครั้งที่ 2 ณ เมืองเยเนฟวา ทำหนังสือสัญญาไว้ ซึ่งกันและกันฉะบับ 1 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม รัตน-โกสินทรศก 125 ว่าด้วยการรักษาพยาบาลคนที่ป่วย เจ็บ กองทัพทั้งหลายในสนามให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนแล้ว และหนังสือสัญญาฉะบับนี้ได้ทรงพระราชดำริเห็นชอบ มีพระบรมราชานุญาตไว้แต่วันที่ 29 มกราคม รัตนโกสินทรศก 125 แล้วนั้น และ มีพระราชประสงค์จะกระทำตามความข้อ 23 และข้อ 27 ในหนังสือสัญญานั้นให้สำเร็จในส่วนกรุงสยาม ด้วยให้มีความไว้ในกฎหมายดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราเป็นข้อพระราชบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้...

 

 

หมายเหตุ

กฎหมายกากะบาดแดง(18) ร.. 130 คือ กฎหมายที่ออกโดยภาระผูกพันตามสัญญากากะบาดแดง ร.. 125 ข้อ 23 ที่ว่าให้ใช้เครื่องหมายกากะบาดแดงบนพื้นสีขาวและบทกำหนดโทษ ข้อ 128 ว่าด้วยการใช้ธงกาชาดหรือสัญลักษณ์กาชาดในระหว่างสงครามไม่ถูกต้อง ผู้ร่างกฎหมายคือ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไป พระยากัลยาณไมตรี (Jens Iverson Westengard)

ตามคำปรารภแห่งพระราชบัญญัติห้ามใช้เครื่องหมายกากะบาดแดง ร.. 130 ระบุวันว่า พระบาท-สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตเข้าร่วมในอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 เมื่อวันที่ 29 มกราคม รัตนโกสินทรศก 125 อันหมายถึงวันที่ทรงลงพระปรมาภิไธยในการให้สัตยาบัน (Ratifying) อนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ทำให้มีผลเข้าร่วมในอนุสัญญาโดยสมบูรณ์ และอนุสัญญามีผลบังคับต่อประเทศสยาม

 

วันที่ 27 มกราคม ร.. 130 (.. 2454) พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระเทวะวงษ-วโรประการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ มีหนังสือที่ 363/9977 กราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ความว่า

 

ด้วยหนังสือสัญญาระหว่างนานาประเทศ ซึ่งได้ประชุมกันครั้งที่ 2 พร้อมกันทำที่เมืองเยเนฟวา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ร.. 125 (..1906) เพื่อรักษาทหารซึ่งป่วยเจบในสนามนั้น มีความในข้อ 23 ว่า เครื่องหมายกากะบาดแดงบนพื้นขาว แลคำว่ากากะบาทแดงฤๅกากบาทแดงเมืองเยเนฟวานั้น พึงใช้ได้ในเวลาสงบศึก ฤาในเวลามีศึกสงครามเพื่อเฉพาะจะป้องกัน ฤๅจะทำสำคัญให้เหนปรากฏชัดว่า เปนพวกฤๅเปน กองศุขาภิบาล

 

 

 

717 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

 

ทั้งบุคคลแลสิ่งของเครื่องมือ ที่ใช้ในการนั้นอยู่ในความป้องกันไม่ให้ใครทำอันตรายได้ตามหนังสือสัญญานี้

แลมีความต่อไปในข้อ 27 อีกว่า รัฐบาลที่ได้ลงชื่อในหนังสือสัญญานี้ประเทศใดที่พึงยังไม่มีข้อกฎหมายพอเพียงที่จะบังคับตามสัญญาในเวลานั้น กระทำสัญญาไว้ในข้อนี้ว่า จะเอาเปนกิจธุระที่จะให้ผู้ทำกฎหมายของรัฐบาลประเทศนั้น ทำกฎหมายที่จำเปนจะต้องใช้ เพื่อจะป้องกันไม่ให้บุคคลฤๅบริษัทอื่น นอกจากผู้ซึ่งสมควรจะใช้ได้ตามสัญญานี้ ใช้เครื่องหมายกากะบาทแดง ฤๅกากะบาทเมืองเยเนฟวา มีข้อสำคัญคือที่ใช้เครื่องหมายนี้ในการค้าขาย โดยการที่ทำของเช่นนี้ขึ้น ฤๅทำเปนยี่ห้อการค้าขาย เปนต้น อนึ่งการที่จะห้ามไม่ให้ใช้เครื่องหมายที่ว่านี้ จะต้องทำให้สำเรจเปนกฎหมายทุกประเทศไป มีกำหนดเวลาอย่างช้าไม่เกินห้าปี นับตั้งแต่เวลาที่ใช้ (คือแรติไฟ) สัญญานี้ ตั้งแต่เวลานั้นสืบไป จะไม่ได้มีการทำเครื่องหมายเช่นนี้ ฤๅมียี่ห้อในการค้าขายผิดกฎหมายที่ห้ามไว้ได้

...กรุงสยามได้ลงชื่อในหนังสือสัญญาเยเนฟวานี้ แลได้แรติไฟเมื่อวันที่29 มกราคม ร.. 125 แล้ว หม่อมฉันเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ยังไม่มีกฎหมายห้ามตามที่สัญญาไว้ แลมีความวิตกว่า ถ้าพ้นวันที่ 29 มกราคม ศกนี้ ซึ่งเปนการครบ 5 ปีที่รับไว้ในสัญญาว่าจะทำกฎหมายขึ้นนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายไปบอกออฟฟิศกลางว่า ได้มีกฎหมายในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง เหมือนอย่างประเทศอื่นได้ทำ แลออฟฟิศกลางได้แจ้งความให้ทราบอยู่เนือง ๆ นั้นแล้ว ก็จะปรากฏเปนความเสียหายขึ้นแก่นานาประเทศว่า กรุงสยามไม่ได้กระทำตามข้อสัญญาที่ลงชื่อรับไว้ หม่อมฉันจึงได้ตักเตือนพระยากัลยาณไมตรี คิดร่างกฎหมายสำหรับจัดการตามสัญญามาแต่ก่อนกว่าหนึ่งปีแล้ว

พระยากัลยาณไมตรีก็ได้คิดร่างกฎหมายนี้ขึ้น แลได้ทูลหารือพระเจ้า-พี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงเหนชอบด้วยข้อความในร่างกฎหมายนี้แล้วตั้งแต่เดือนกันยายนปีกลายนี้ เวลานั้นหม่อมฉันก็ได้ขอต่อพระยากัลยาณไมตรีให้ออกกฎหมายเสียทีเดียว แต่พระยากัลยาณไมตรีเหนว่าจะออกไปก่อนไม่ดี เกรงว่าจะใช้ไม่ได้ในคนต่างประเทศ ซึ่งยังมีศาลกงศุลอยู่ในกรุงสยาม พระยากัลยาณไมตรีจะขอไปหารือความเหนผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศเสียก่อนให้จงได้ หม่อมฉันเหนว่ายังพอมีเวลาจะพอรออยู่ได้อีกปีเศษ จึงได้ยอมตกลงให้ไปพูดจาว่ากล่าวถามกันดู

ครั้นในเดือนธันวาคมที่ล่วงมา พระยากัลยาณไมตรีทำรายงานมายื่นในเรื่องนี้ สำหรับที่จะได้ไปบอกให้ผู้แทนฝ่ายสยามในที่ประชุมนานาประเทศ ซึ่งนัดกันว่าจะประชุมที่กรุงวอชิงตันในคฤสตศักราช 1912 นี้ ว่าด้วยที่เกี่ยวกับสภากากะบาทแดงนั้น ทราบความตามที่กรุงสยามยังไม่ได้ทำกฎหมายนี้ เพราะมีข้อขัดข้องอยู่ด้วยรัฐบาลต่างประเทศบางเมืองยังไม่ยอมรับกฎหมาย

 

 

718 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

ที่ร่างขึ้นไว้สำหรับให้ผู้แทนฝ่ายสยามจะได้ชี้แจงในที่ชุมนุมในเวลาที่จะมีคำถามในข้อนี้ขึ้นในที่นั่น

แต่หม่อมฉันเหนด้วยเกล้าฯ อยู่ว่า การที่จะแก้ตัวว่ารัฐบาลต่าง-ประเทศบางเมืองยังไม่ยอมรับใช้ตามร่างกฎหมายไทยในเรื่องนี้ ไม่เปนเหตุอันสมควรพอที่จะให้กรุงสยามหลุดพ้นจากการที่ได้รับสัญญาว่าจะทำกฎหมายไทย ด้วยเหตุว่ากฎหมายในที่นี้มีความประสงค์จะบังคับคนไทยเปนสำคัญ คนต่างประเทศนั้นเมื่อรัฐบาลต่างประเทศใดจะไม่บังคับห้ามปราม ความผิดก็จะอยู่กับรัฐบาลต่างประเทศนั้นเอง หม่อมฉันจึงอ้อนวอนขอให้พระยากัลยาณ-ไมตรีรีบคิดอ่าน ทำกฎหมายให้คล้ายกับอย่างกฎหมายอเมริกัน ที่ได้ทราบมาจากทูตอเมริกันให้ได้ออกไป ภายในกำหนดเวลาที่จะไม่ให้กรุงสยามเปนผู้กระทำผิดข้อสัญญา คือออกก่อนวันที่ 29 เดือนนี้

พระยากัลยาณไมตรีเหนจริงด้วยแล้ว จึ่งได้ คิดเพิ่มเติมร่างกฎหมายให้เหมือนกับกฎหมายอังกฤษ ซึ่งพึ่งออกเมื่อเดือนสิงหาคมที่ล่วงมาแล้ว ความที่ร่างไว้ตามที่ได้ตกลงพร้อมกันกับกระทรวงกระลาโหม ซึ่งเปนข้อความห้ามเดจขาดทั่วไปนั้นก็คงอยู่หมดแล้ว มีแต่ข้อยกเว้นเพิ่มเติม ก็คงให้ใช้ได้ต่อไปอีกห้าปีเท่านั้น หม่อมฉันมีความยินดีมากที่ตกลงเหนพร้อมกันได้ว่าควรออกกฎหมายนี้ให้ทันเวลาที่กำหนดไว้...

 

 

หมายเหตุ

หนังสือกระทรวงการต่างประเทศฉบับนี้อธิบายความเป็นมาของพระราชบัญญัติห้ามใช้เครื่องหมายกากะบาดแดง ร.. 130ว่า เป็นการดำเนินการตามข้อผูกพันของอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ที่พระบาทสมเด็จ-พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแรติไฟ (ให้สัตยาบัน) ไว้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม ร.. 125 หากไม่ออกกฎหมายตามข้อผูกพัน ถือว่าทำผิดอนุสัญญา ต้องพ้นจากอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ภายในวันที่ 29 มกราคม ร.. 130 จึงเร่งออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อต่ออนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ไปอีก 5 ปี ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปหลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พุทธศักราช 2561

ในหนังสือฉบับนี้ได้อธิบายความสำคัญของเครื่องหมายกากะบาดแดงบนพื้นขาวอย่างชัดเจน โดยทุกประเทศต้องทำกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมาย สัญลักษณ์เฉพาะกาชาด เพื่อช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในเวลาเกิดสงคราม จะได้ไม่เกิดความสับสนจนกระทบต่อภารกิจกาชาดในภาวะสงครามที่เกิดขึ้นทุกหนแห่งในโลกนี้ ภายใต้เครื่องหมายกากะบาดแดงบนพื้นขาวในพื้นที่ที่เกิดสงครามจนกระทบต่อมนุษยชาติ และประเทศไทยยอมรับข้อผูกพันนี้ตามอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 โดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว

 

 

719 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

.. 2455

 

2455 - 1 ตั้งโรงวชิรพยาบาล(19)

วันที่ 21 ตุลาคม พ.. 2455 เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล มีหนังสือที่ 19/8361 กราบบังคมทูลขอพระราชทานเงิน 240,000 บาท เพื่อซื้อบ้านนายเชย อิศรภักดี (พระสรรพการหิรัญกิจ) สร้างเป็นโรงพยาบาล โดยถวายความเห็นเรื่องการตั้งชื่อโรงพยาบาลว่า ชื่อมหาวชิราวุธพยาบาลนั้นงามดี ให้หมอติเลกีเป็นหมอประจำ รับผิดชอบรักษาพยาบาลข้าราชการในราชสำนักและประชาชนในตอนเหนือพระนคร และให้เลิกโรงพยาบาลสามเสน ยกมารวมในโรงพยาบาลใหม่นี้

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศุภกรบรรณสาร กรมพระคลังข้างที่ จ่ายเงินให้เจ้าพระยายมราช 240,000 บาท ซื้อบ้านนายเชย อิศรภักดี ส่วนชื่อโรงพยาบาลนั้นจะทรงคิดให้ใหม่

วันที่ 26 ธันวาคม พ.. 2455 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยก โรงวชิร-พยาบาลให้เป็นสาธารณสถาน

วันที่ 2 มกราคม พ.. 2456 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงวชิรพยาบาล ในประกาศยกโรงวชิรพยาบาลให้เปนสาธารณสถาน ลงวันที่ 2 มกราคม พ.. 2456นั้น พระองค์มีพระราชดำรัสว่า

 

เราขอให้นามว่า วชิรพยาบาล

และขอมอบที่นี้ไว้เปนสาธารณสถาน เปนสมบัติสิทธิขาดแก่ประชาชนชาวไทย

 

719_บ้านพระสรรพการหิรัญกิจ

บ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี)

ที่เรียกว่าบ้านหิมพานต์ เปิดเป็นสวนให้ประชาชนซื้อบัตรเข้าชม เมื่อ พ.. 2451

แต่ดำเนินการได้เพียงไม่กี่ปีก็ล้มละลาย รัฐบาลได้ซื้อไว้เพื่อเป็นที่ตั้งของวชิรพยาบาล

 

 

720 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

2455 - 2 ประเทศอังกฤษนำสภาอาสาที่จะช่วยทหาร (National Red Cross Society) ขอรับรองจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เพื่อปฏิบัติตามข้อสัญญาเยนิวา ร.. 125 - ข้อ 10(20)

วันที่ 20 ธันวาคม พ.. 2455 เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือที่ 285/8823 ทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิตติบดี ราชเลขานุการว่า อุปทูตอังกฤษมีหนังสือแจ้งว่า ตามข้อสัญญาเยนิวา ลงวันที่ 6 กรกฎาคม ร.. 125 ข้อ 10ซึ่งว่าประเทศใดได้ให้อำนาจแก่สภาอาสาใด ๆ ที่จะช่วยกองพยาบาลทหารบกแล้ว ต้องบอกนามสภานั้น ๆ ให้ประเทศซึ่งเข้าสัญญาร่วมกันทราบนั้น บัดนี้รัฐบาลอังกฤษได้ให้อำนาจแก่สภากากะบาดแดงอังกฤษ (รวมทั้งสาขาสกอตด้วย) 1 สภาพยาบาลเซนต์ยอน 1 และสภาพยาบาลเซนต์ แอนดรู 1 เป็นสภาช่วยกองพยาบาลทหารบกอังกฤษ กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือตอบรับไปแล้ว

 

 

หมายเหตุ

ข้อสัญญาเยนิวา ร.. 125 - ข้อ 10คือ ข้อกฎหมายผูกพันของอนุสัญญาเจนีวา ทำให้มีการจัดตั้งสภากาชาดของแต่ละประเทศ (National Red Cross Society) ที่เป็นหน่วยงานกาชาดเพียงแห่งเดียวของแต่ละประเทศ เป็นกำเนิดที่มาของสภากาชาดสยาม ซึ่งเป็นการแต่งตั้งให้สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามกลายเป็น National Red Cross Society ที่ถูกต้องตามอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 ลักษณะแบบเดียวกับกำเนิดสภากาชาดญี่ปุ่น ซึ่งได้ยกสมาคมการกุศล (Hakuaisha) องค์กรบรรเทาทุกข์สำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บจากการประท้วง Satsuma ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.. 2420 เป็นสภากาชาดญี่ปุ่นในปี พ.. 2430 หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้สัตยาบันอนุสัญญาเจนีวาในปี พ.. 2429

และทำให้สภากาชาดสยามจะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศหลังจากจัดตั้งเสร็จแล้ว และต้องเข้าร่วมขบวนการกาชาด (Red Cross Movement) เพื่อดำเนินการพัฒนาองค์กรกาชาดทั่วโลกที่มีการประชุมขับเคลื่อนทุก ๆ 4 ปีตามการขับเคลื่อนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ในฐานะผู้แทนของรัฐบาลสวิสซึ่งมีหน้าที่ขับเคลื่อนอนุสัญญาเจนีวา เพราะเป็นรัฐบาลประเทศผู้รับสัญญา (Depositary State) และรัฐบาลสยามเป็นผู้ให้สัญญา (Ratifying State) มีหน้าที่ปฏิบัติตามอนุสัญญาและการขับเคลื่อนอนุสัญญาของประเทศผู้รับสัญญา

Article 10 of the Geneva Red Cross Convention of the 6th July 1906 provides that eachcontracting State shall notify to the others the names of the Voluntary Aid Societies which it hasauthorized, under its own responsibilities, to render assistance to the regular Medical Service of its Armies.

“The Voluntary Aid Societies which it has authorized, under its own responsibilities.” หมายถึง National Red Cross Society (สภากาชาด) ของแต่ละประเทศที่จัดตั้งตามกฎหมายของประเทศตนเอง และให้ National Red Cross Society เป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจตามกฎหมาย มีหน้าที่ความรับผิดชอบช่วยเหลือกองแพทย์พยาบาลทหารของกองทัพ

 

 

721 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

2455 - 3 ตั้งกรมพยาบาล กระทรวงมหาดไทย(21)

วันที่ 24 ธันวาคม พ.. 2455 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 163/8989 กราบบังคมทูลความว่า

 

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าลอองธุลีพระบาท

ด้วยราชการในกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ในการจัดการพยาบาลและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บราษฎรตามหัวเมือง เป็นหน้าที่สำคัญอย่าง 1 การเหล่านี้ตามที่เป็นมาแล้ว ยังแยกกันเป็นหลายกอง คือ กองแพทย์ประจำหัวเมือง 1 กองป้องกันโรคร้ายแรง ดังเช่น กาฬโรค อหิวาตกโรค ไข้ทรพิศม์และไข้พิศม์ กอง 1 ทำพรรณหนองฝีกอง 1 โรงพยาบาลตามหัวเมือง ดังเช่น โรงพยาบาลมณฑลภูเก็ต มณฑลนครราชสีมา มณฑลกรุงเก่า กอง 1 และบัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้ง กองปาสตัวอินสติจูด กอง 1 การเหล่านี้เจริญขึ้นมาตามลำดับ มีการงานที่ต้องทำเป็นอันมาก ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าว่า ถึงเวลาแล้วที่จำเป็นต้องจัดรวบรวมกองเหล่านี้ขึ้นเป็นกรม 1 ในกระทรวงมหาดไทย และการที่จะตั้งเป็นกรมขึ้นนี้ มีเงินสำหรับใช้จ่ายในงบประมาณพออยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรม-ราชานุญาตรวบรวมกองเหล่านี้ตั้งขึ้นเป็นกรม ๆ หนึ่ง เรียกว่ากรมพยาบาล

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาตอบเมื่อเดือนมกราคม พ.. 2466 ความว่า

 

ท่านขออนุญาตรวบรวมกองเหล่านี้ตั้งขึ้นเป็นกรม ๆ หนึ่ง เรียกว่า กรมพยาบาล นั้น

ทราบแล้ว ที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นกรมนั้น เปนการสมควรแล้ว

 

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.. 2457 พระยามหาอำมาตย์ (เส็ง วิรยศิริ) รองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย กราบบังคมทูลถวายรายงานเรื่องกรมพยาบาล(22) ใจความสรุปดังนี้

กระทรวงมหาดไทยขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งกรมพยาบาลขึ้นในกระทรวงมหาดไทย โดยโอนย้ายกองโอสถศาลารัฐบาล กองทำพันธุ์หนองฝี กองบังคับบัญชาแพทย์หัวเมือง กองป้องกันโรคและปลูกฝี และการควบคุมสุขาภิบาลหัวเมืองที่อยู่ในกรมพลำภัง (เดิมคือกรมมหาดไทย ฝ่ายพลำภัง ปัจจุบันคือกรมการปกครอง) มารวมอยู่ในกรมพยาบาล กระทรวงมหาดไทย แม้ว่าจะมีชื่อเหมือนกับกรมพยาบาลในกระทรวงธรรมการ แต่การแบ่งหน้าที่กองงานมีความแตกต่างกัน และกรมพยาบาลในกระทรวงมหาดไทยจะมีขนาดใหญ่กว่ามาก เพราะมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น

สาเหตุการจัดตั้งนั้น กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งแพทย์ประจำเมืองตั้งแต่ปี พ.. 2431

 

 

722 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

722_พระยามหาอำมาตย์ (เส็ง วิรยศิริ)

พระยามหาอำมาตย์ (เส็ง วิรยศิริ)

รองเสนาบดีกระทรวงมหาดไท

 

โดยใช้แพทย์แผนโบราณ ต่อมาในปี พ.. 2436 จึงได้รับแพทย์แผนปัจจุบันที่จบจากโรงเรียนราช-แพทยาลัย และในปี พ.. 2442 ได้มีนโยบายรับแพทย์แผนปัจจุบันที่ผ่าตัดได้ไปประจำทุกหัวเมืองโดยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมพลำภัง (กรมการปกครอง) แต่กระทรวงมหาดไทยก็ไม่ได้เอาใจใส่ในทางปฏิบัติมากนัก เมื่อพระยามหาอำมาตย์ (เส็ง วิรยศิริ) ไปดูงานที่ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเดือนตุลาคม พ.. 2455 เรื่องการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การปลูกฝีดาษ และการสัตวแพทย์ ซึ่งรัฐบาลอเมริกันเป็นผู้ดำเนินการ จึงได้รายงานต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นชอบและมอบให้จัดการเรื่องการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในหัวเมือง พระยามหาอำมาตย์ถวายความเห็นต่อเสนาบดีว่า

 

...ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า รัฐบาลได้จัดการปกครองท้องที่และปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองให้เป็นปกติเรียบร้อยได้มากแล้ว ถึงเวลาควรจัดการรักษาพยาบาลและการป้องกันไข้เจ็บของพลเมือง เพื่อให้จำนวนพลเมืองมากขึ้น เพราะราษฎรพลเมืองในสยามมีอยู่น้อยนัก...อนึ่งราษฎรพลเมืองป่วยตายปีหนึ่งมาก เพราะฉนั้นถึงเวลาแล้วที่ควรจะรีบรัดจัดวางการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อตัดทอนความเจ็บตายของราษฎรพลเมืองให้น้อยลงไป...มีโรคสำคัญ 4 อย่างคือ โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิศม์อย่าง 1 อหิวาตกโรคอย่าง 1 ไข้กาฬโรคอย่าง 1 ไข้พิศม์อย่าง 1...

 

ครั้นพุทธศักราช 2455 กระทรวงมหาดไทยจึงได้นำความกราบบังคมทูลขอรับพระ-ราชทานตั้งกรมพยาบาลขึ้นกรมหนึ่งในกระทรวงมหาดไทย โดยได้โอนงานการโอสถศาลา การทำพันธุ์หนองฝี และการบัญชาแพทย์ตามหัวเมือง รวมทั้งกองปาสตุรสภาที่เกี่ยวกับรักษาพยาบาลทั้งหมด ตั้งเป็นกรมพยาบาล มีพระยาอมรฤทธิธำรง (ฉี่ บุนนาค) เป็นอธิบดี โดยแบ่งกรมพยาบาลออกเป็น 6 แผนก คือ

 

 

 

723 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

1) แผนกบัญชาการ

2) แผนกการแพทย์

3) แผนกป้องกันโรคระบาด

4) แผนกปาสตุรสภา (สถานเสาวภา)

5) แผนกโอสถศาลา

6) แผนกสุขาภิบาล

การจัดตั้งกรมพยาบาลในกระทรวงมหาดไทยจึงไม่ใช่การจัดตั้งงานรักษาพยาบาลในหัวเมืองขึ้นใหม่ แต่เป็นการแยกงานรักษาพยาบาลในหัวเมืองที่มีอยู่เดิมในกรมพลำภัง แยกออกมาตั้งเป็นกรมหนึ่ง ๆ ในรายงานของพระยามหาอำมาตย์ได้รายงานข้อมูลจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ในกระทรวงมหาดไทยในปี พ.. 2457 ดังตัวอย่างต่อไปนี้

() แผนกการแพทย์ แพทย์ที่รับราชการในกรมพยาบาลมี

1) แพทย์ฝรั่ง 4 คน (อังกฤษ 3 คน ฝรั่งเศส 1 คน เงินเดือนคนละ 800 -1,200 บาท) เป็นแพทย์ที่ปรึกษามณฑลและทำหน้าที่สอนแพทย์เพิ่มเติมด้วย

2) แพทย์ประจำมณฑล 7 คน เป็นแพทย์มณฑล

3) แพทย์รับราชการในกรุงเทพฯ และประจำตามหัวเมือง เป็นแพทย์ประจำเมือง 82 คน

4) แพทย์ปลูกฝีตามหัวเมือง 24 คน รวมแพทย์ไทย 113 คน (แพทย์ที่มีประกาศนียบัตรของโรงเรียนราชแพทย์ 68 คน เงินเดือน 80 - 120 บาทแพทย์ที่ไม่มีประกาศนียบัตร 45 คน เงินเดือน 30 - 60 บาท)

5) แพทย์ประจำตำบลใน 17 มณฑล 3,935 คน

() แผนกป้องกันโรคระบาด มีหน้าที่ 2 อย่าง คือ การปลูกฝีและการป้องกันโรคระบาดอื่น ๆ เช่น กาฬโรค อหิวาตกโรค ไข้มาเลเรีย ซึ่งในส่วนการป้องกันกาฬโรคนั้นจะต้องรักษาความสะอาดบ้านเรือน เกี่ยวพันกับการขยายสุขาภิบาลตามตำบล

() แผนกสุขาภิบาล

รวมประกาศจัดตั้งการสุขาภิบาลจนถึง พ.. 2457 ได้จัดตั้งรวม 9 เมือง ได้แก่ นคร-ราชสีมา จันทบุรี สงขลา ชลบุรี นครปฐม นครศรีธรรมราช พิไชย ภูเก็ต และเชียงใหม่ แต่ต่อมาเกิดปัญหาที่เชียงใหม่ เพราะคนในบังคับอังกฤษไม่ยอมจ่ายภาษีโรงร้านได้เลิกไป จึงเหลือ8 เมือง แบ่งเป็นสุขาภิบาลเมือง 7 เมือง และสุขาภิบาลตำบล 1 ตำบล (คือ ท่าฉลอม)

ปัญหาการสุขาภิบาลสำคัญคือ ทั้งชาวบ้านและข้าราชการไม่เข้าใจว่าการสุขาภิบาลคืออะไร เจ้าหน้าที่จึงใช้จ่ายเงินสุขาภิบาลผิดวัตถุประสงค์ และราษฎรก็ไม่อยากจ่ายภาษีโรงร้าน รายงานระบุว่าราษฎรพลเมืองยังไม่มีความรู้พอในการที่จะช่วยกันออกเงินเพื่อรักษาความสุข(23)และประโยชน์แห่งตนดังนั้นจึงมีการจัดตั้งโรงพยาบาลสุขาภิบาลเพียง 4 แห่งสำหรับรับรักษาคนไข้และปลูกฝี คือที่เขตสุขาภิบาลเมืองภูเก็ต กรุงเก่า นครราชสีมา และสุโขทัย ดังนี้

1) โรงพยาบาลเมืองภูเก็ต พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) พร้อมกับชาวเมืองภูเก็ต

 

 

724 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

เรี่ยไรเงินสร้างขึ้นเมื่อ พ.. 2449 ภายหลังยกให้เป็นของสุขาภิบาลเมืองภูเก็ต โรงนี้มีคนไข้ประจำระหว่าง 30 - 40 คน ส่วนมากเป็นคนจีน

2) โรงพยาบาลเมืองนครราชสีมา พระยาราชนุกูล (อวบ เปาโรหิตย์) จัดตั้งเมื่อ พ.. 2451 ใช้เงินสุขาภิบาล มีคนไข้ประจำราว 20 คน

3) โรงพยาบาลเมืองสุโขทัย พระยาราชภักดี (ใหญ่) ผู้ว่าราชการเมือง พร้อมด้วยกรมการและราษฎรออกเงิน 2,981 บาท เมื่อ พ.. 2455 ถวายเป็นที่ระลึกในการเสด็จ-พระราชดำเนินประพาสเมืองสุโขทัย พ.. 2450 และพระราชทานนามว่าศุโขทัยศุขสถานเป็นโรงพยาบาลเล็ก ไม่มีคนไข้อยู่ประจำ

4) โรงพยาบาลกรุงเก่า พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลพร้อมด้วยกรมการและราษฎรออกเงิน 65,757 บาท สร้างเป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกในพระบาทสมเด็จ-พระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.. 2455 และพระราชทานนามว่าโรงพยาบาลเบ็ญจมาธิราชอุทิศราษฎรมักไปขอยา

รายงานกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ระบุว่า การตั้งโรงพยาบาลตามหัวเมืองไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีทุน ตั้งแล้วต้องเลิก และราษฎรที่เจ็บป่วยมักจะรักษาที่บ้าน ไม่ยอมไปรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยเหตุนี้กระทรวงมหาดไทยในปี พ.. 2457 จึงยังไม่คิดขยายให้มีโรงพยาบาลตามหัวเมืองขึ้นอีก แต่จะจัดให้มีร้านขายยาในหัวเมืองตามชุมชน เรียกว่า โอสถศาลา

โดยแพทย์หลวงต้องกำหนดเวลาประจำการที่โอสถศาลาให้แน่นอน (คล้ายกับคลินิกแพทย์ผสมกับร้านขายยาในปัจจุบัน) ถ้ามีผู้บริจาคเงินก็จะปลูกเป็นที่รับรักษาคนไข้ไม่เกิน 6 คน (คล้ายกับโรงพยาบาลขนาดเล็ก) นอกจากนี้ยังกล่าวถึงว่า มีโรงขายยาและโรงพยาบาลของมิชชันนารีที่ตั้งในชุมชนอีกหลายแห่งซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้อุดหนุนด้วย เพราะได้ทำประโยชน์แก่ราษฎร

 

 

.. 2456

 

2456 - 1 เปิดปาสตุรสภา(24) (สถานเสาวภา)

วันที่ 9 เมษายน พ.. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังปาสตุรสภา โรงพยาบาลพิษสุนัขบ้ากัด ณ ถนนบำรุงเมือง เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล กราบบังคมทูลถวายรายงานตอนหนึ่งว่า

 

...เดิมพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงปรารภเหตุที่หม่อมเจ้าหญิงบรรลุศิริสาร พระธิดาของพระองค์ ถูกสุนักข์บ้ากัด ที่ตำบลพระปฐมเจดีย์ เมื่อ ณ วันที่ 27 มกราคม พระพุทธศักราช 2454 ความทราบถึงใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท ได้ทรงพระราชดำริห์จะให้ส่งตัวไปรักษาที่ปาสตัวอินสติจุต ณ เมืองไซ่ง่อน แต่เปนเหตุให้แคล้วคลาดเวลาเรือไปมิได้ทันเวลา...หม่อมเจ้าหญิงต้องถึงชีพตักษัยภายในเวลา 24 ชั่วโมงตั้งแต่บังเกิด

 

 

725 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

725_หม่อมเจ้าหญิงบรรลุศิริสาร

หม่อมเจ้าหญิงบรรลุศิริสาร

 

พิศม์ กระทำให้พระบิดาทรงสังเวชสลดพระไทยในเหตุมรณแห่งพระธิดาเปนอย่างยิ่ง จึงทรงมีพระดำริห์ว่าสมควรจะมีสถานที่สำหรับรักษาโรคเช่นนี้ ด้วยวิธีที่แน่นอนขึ้นในกรุงเทพมหานคร แลตรวจโรคอื่น ๆ อีก เพื่อรักษาประชาชน...

 

2456 - 2 ประกาศตั้งโครงการศึกษา พุทธศักราช 2456(25)

วันที่ 30 ตุลาคม พ.. 2456 เสนาบดีกระทรวงธรรมการรับพระบรมราชโองการ วางรูปโครงการศึกษาเป็น 2 ประเภท คือ สามัญศึกษาและวิสามัญศึกษา และแบ่งเป็น 2 ภาค คือ ภาคศึกษาบังคับและภาคศึกษาพิเศษ ดังนี้

 

...เปนความเข้าใจผิดของประชาชนจนผู้คนไปล้นเหลืออยู่ในหน้าที่เสมียน ผู้ที่ไม่มีความสามารถพอก็ไม่มีใครรับไว้ใช้ คนเหล่านั้นย่อมขาดประโยชน์โดยหาที่ทำการไม่ได้ ทั้งการหาเลี้ยงชีพที่เหล่าตระกูลของตนเคยทำมาแต่เก่าก่อนก็ละทิ้งเสีย จะกลับไปทำก็ต่อไม่ติด จึงเกิดความลำบากขึ้น...แท้จริงการงานในบ้านเมืองที่จะพึงทำหาเลี้ยงชีพอันยังไม่มีผู้ทำเพียงพอนั้น ยังมีอย่างอื่นอยู่เปนอันมาก...เช่น การเพาะปลูก...วิชาการสร้างเย่าเรือน...การหัตถกรรมและพณิชการต่าง ๆ ก็ยังมีเปนอเนกประการ...จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชี้แจงตักเตือนไว้ในที่นี้ เพื่อให้ประชาชนทั้งหลาย ได้รู้สึกระฦกที่จะเลือกหาวิชาความรู้ใส่ตัวโดยรอบคอบกว้างขวาง อย่าให้เข้าใจว่ารู้อะไรแต่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็พอแล้ว และอย่าให้ลุ่มหลงไปในทางเดียว จักได้เฉลี่ยการงานให้มีผู้ทำทุก ๆ อย่าง ทั่ว ๆ กัน...และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วางรูปโครงการศึกษาลงให้เหมาะแก่เวลา และการงานให้เปนที่เข้าใจกันทั่ว ดังนี้

1. การศึกษาทั้งปวงให้กำหนดชื่อเปน 2 ประเภท คือ

สามัญศึกษา ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียนความรู้ใด ๆ อันเปนความรู้สามัญซึ่งคนควรจะรู้ทุกคน...

วิสามัญศึกษา ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียนความรู้ใด ๆ อันเปนความรู้พิเศษซึ่งบุคคลพึงเลือกเรียนเฉภาะสิ่งเฉภาะอย่าง ไม่จำเปนต้องให้รู้ทุกอย่างทุกคน ตัวอย่างเช่น วิชาครู วิชาแพทย์ วิชากฎหมาย วิชาช่างต่าง ๆ...

 

 

726 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

2. การศึกษาทั้งปวงให้กำหนดโดยประโยชน์แห่งผู้ที่จะเล่าเรียนเปน 2ภาค คือ

ภาคศึกษาบังคับ ได้แก่ ความรู้ทั้งฝ่ายสามัญศึกษาและวิสามัญศึกษา...สำหรับให้พอแก่ที่จะต้องใช้อยู่ทุกวัน รู้จักทางที่จะรักษาตัวทั้งส่วนชีวิตร่างกาย ทรัพย์สมบัติและชื่อเสียง ให้พอครองตนเปนพลเมืองดีได้...รู้จักทำการหาเลี้ยงชีพตามภูมิลำเนาเหล่าตระกูลของตน...เรียกว่าประถมศึกษาภาคหนึ่ง

ภาคการศึกษาพิเศษ...ซึ่งเรียกว่าอุดมศึกษา เปนวิชาความรู้ที่ไม่บังคับสุดแล้วแต่ผู้ใดมีทุนทรัพย์แลสติปัญญาที่จะเล่าเรียนได้เพียงใดและรักเรียนในทางใดก็เลือกเรียนได้ตามความพอใจภาคหนึ่ง

 

...เหตุฉะนั้นทุกคนจึงควรเรียนสามัญศึกษาไว้เปนพื้นสำหรับให้เปนพลเมืองดี แลเรียนวิสามัญศึกษาเปนเครื่องมือดังนี้ จึงจะเปนประโยชน์แก่ตนโดยบริบูรณ์...

 

2456 - 3 ประธานาธิบดีสวิสแจ้งรัฐบาลสยาม (ภาคีสมาชิก) ว่า ประเทศต่าง ๆ ได้ให้อำนาจสภากาชาดของแต่ละประเทศ (National Red Cross Society) เข้าช่วยเหลือกองพยาบาลของกองทัพแต่ละประเทศ ตามข้อผูกพันในอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125(26)

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.. 2456 หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 30/8164 แจ้งเรื่องประเทศอังกฤษ แคนาดา รัสเซีย ฝรั่งเศส ให้อำนาจแก่สภากาชาดแต่ละประเทศเข้าช่วยเหลือกองพยาบาลของกองทัพของตน

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.. 2456 หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 188/8233 กราบทูลราชเลขานุการ เรื่องประเทศรัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ให้อำนาจแก่สภากาชาดรัสเซีย สภากาชาดฝรั่งเศส สภากาชาดเยอรมนี เข้าช่วยเหลือกองพยาบาลของกองทัพแต่ละประเทศ ตามข้อผูกพันอนุสัญญาเจนีวาข้อ 10 ตามลำดับ

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.. 2457 หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 43/1566 แจ้งเรื่องประเทศอเมริกาออกกฎหมายผูกพันตามอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 จำนวน 1 ฉบับ

วันที่ 24 กันยายน พ.. 2457 หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 187/6575 แจ้งเรื่องประเทศญี่ปุ่นให้อำนาจแก่สภากาชาดญี่ปุ่นเข้าช่วยเหลือรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บ

วันที่ 29 มกราคม พ.. 2458 (นับแบบปัจจุบัน) หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 35/11120 แจ้งเรื่องประเทศเดนมาร์กให้อำนาจแก่สภากาชาดเดนมาร์กเข้าช่วยเหลือรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บในเวลาสงคราม

วันที่ 23 มีนาคม พ.. 2458 หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 312/14698 แจ้งเรื่องประเทศเบลเยียมให้อำนาจแก่สภากาชาดเบลเยียมเข้าสมทบกับกองพยาบาลทหารช่วยเหลือรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บในกองทัพเบลเยียม

วันที่ 11 ตุลาคม พ.. 2459 หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 143/7599 แจ้งเรื่องประเทศสวีเดนออกกฎหมายตามข้อผูกพันอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125 แล้ว

 

 

727 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

727_กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ

สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ

 

วันที่ 26 มกราคม พ.. 2460 (นับแบบปัจจุบัน) หนังสือศาลาว่าการต่างประเทศที่ 248/11289 แจ้งเรื่องรัฐบาลเซอร์เบียให้อำนาจแก่สภากากะบาดแดงเซอร์เบียเข้าช่วยเหลือรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บในเวลาสงครามแล้ว

 

 

.. 2457

 

2457 - 1 ตั้งผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม(27)

วันที่ 3 เมษายน พ.. 2457 มีกระแสพระบรมราชโองการเรื่องตั้งนายพลเอก สมเด็จ-พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ความตอนหนึ่งว่า

 

...บัดนี้ทรงพระราชดำริห์ว่า สภากาชาดนั้น ย่อมเปนสโมสรอันอาจนำมาซึ่งประโยชน์แก่มวลมหาชนโดยอเนกประการ ดังปรากฏตัวอย่างในนานาประเทศโดยมาก ย่อมมีสภาเช่นนี้ตั้งทำการอยู่ เพราะฉนั้นไม่สมควรจะปล่อยให้สภากาชาดสยามนั้นเสื่อมทรามไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ทรงรับตำแหน่งเปนผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม รับพระราโชวาทในสมเด็จ-

 

 

728 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

พระบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี องค์สภานายิกา จัดการวางกฎข้อบังคับและระเบียบสำหรับสภานี้ขึ้นใหม่ ตลอดจนจัดตั้งกรรมการต่อไป เพื่อให้สภากาชาดสยามนี้ดำเนินไปสู่ความเจริญ...

 

2457 - 2 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์(28) (โรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง)

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช-ดำเนินไปทรงเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมีพระราชดำรัสตอบในการเปิดโรงพยาบาล ความว่า

 

...การจะแก้ไขระเบียบการในสภากาชาดให้ลงรอย ควรมีโรงพยาบาลขึ้นโรงหนึ่ง เพื่อประสงค์ให้เปนที่ฝึกหัดนายแพทย์ฝ่ายทหาร แลหัดคนพยาบาลให้ชำนิชำนาญ...การของสภากาชาดนั้นเราเข้าใจกันเสียว่าจะทำแต่ในเวลาสงคราม ถึงกระนั้นก็ดี ในการรักษาโรคก็ดี การพยาบาลก็ดี...ต้องอาไศรยการเล่าเรียน เพราะฉะนั้นไม่ว่าชาติใด จำเปนต้องมีสถานที่ไว้เปนที่ศึกษาของนายแพทย์...

 

728_ภาพถ่ายทางอากาศ

ภาพถ่ายทางอากาศ แสดงบริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.. 2466

ที่มา : หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

729 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

เมื่อเราผ่านมาทาง เมืองญี่ปุ่น(29) ได้เห็นโรงพยาบาลของสภากาชาดของเขา เปนที่สร้างงดงามมาก ครั้นกลับเข้ามาถึงเมืองไทย จึงได้รู้สึกละอายใจว่าในเมืองเรา มิได้ทำไปให้เสมอน่าเขา เพราะแต่แรกทำการก็จับเข้าเดินทางผิดมาเสียแล้ว จึงได้คิดกันกับกรมหลวงนครไชยศรีช้านานมาแล้วในเรื่องนี้...

ในการบำเพ็ญกุศลถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถนั้น ย่อมต้องระลึกดูว่าจะทำการอย่างใด จึงจะเปนที่พอพระราชหฤไทย คือถ้ายังดำรงพระชนม์ชีพอยู่เราแลพี่น้องจะฉลองพระเดชพระคุณได้ในทางใด หรือถึงแม้เสด็จสวรรคตล่วงลับไปแล้ว ถ้ามีวิธีใดที่จะทำให้ทราบถึงพระองค์ได้นั้น การอย่างใดจะเปนที่พอพระราชหฤไทย เมื่อรลึกดูดังนี้ก็เห็นได้ว่า ตลอดเวลารัชกาลพระบาท-สมเด็จพระบรมชนกนาถย่อมพอพระราชหฤไทยในสิ่งที่เปนคุณประโยชน์แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่ทรงปกครอง สิ่งไรทำขึ้นให้นำมาซึ่งความศุขความสำราญแก่ประชาชน สิ่งนั้นย่อมพอพระราชหฤไทยยิ่งนัก...จึ่งตกลงกันว่าถ้าทำโรงพยาบาลขึ้นเปน ราชานุสาวรีย์ คงจะเปนที่พอพระราชหฤไทยเป็นแน่แท้...

 

 

หมายเหตุ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะพระชนมพรรษาได้ 12 พรรษาเศษ สมเด็จพระบรม-ชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ อังกฤษ ทรงศึกษาวิชาหลายแขนง ทางการทหารทรงสำเร็จการศึกษาจากแซนด์เฮิสต์ แล้วเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม ทางด้านพลเรือนทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และกฎหมายที่วิทยาลัยไครสต์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ระหว่างปี พ.. 2442 - .. 2444 เสด็จนิวัตพระนครตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยเสด็จพระราชดำเนินผ่านสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ถึงกรุงเทพมหานครเมื่อ 29 ตุลาคม พ.. 2445

 

2457 - 3 จัดตั้งแพทย์ประจำตำบล(30)

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.. 2457 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.. 2457 โดยใช้บังคับทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพ-มหานคร ในตอน 4 มาตรา 45 ให้มี แพทย์ประจำตำบล โดยให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านประชุมกันคัดเลือกราษฎรในตำบลผู้มีความรู้ทางแพทย์แผนโบราณหรือแผนปัจจุบันก็ได้ 1 คน มีหน้าที่ป้องกันความเจ็บไข้ของราษฎรในตำบลนั้น รวมทั้งปลูกฝี รายงานโรค โดยให้สังกัดกับแพทย์ประจำเมือง

นับว่าเป็นการสาธารณสุขแบบปฐมภูมิ ในโครงสร้างหลักคือการปกครองแบบเทศาภิบาล

 

 

730 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

.. 2458

 

2458 - 1 มูลนิธิ Rockefeller ติดต่อกระทรวงมหาดไทย เรื่อง The Eradication ofHookworm Disease(31) (โรคพยาธิปากขอ)

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.. 2458 ดอกเตอร์คอร์ตจากมูลนิธิ Rockefeller ติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศมาที่กระทรวงมหาดไทย เรื่อง The Rockefeller Sanitary Commission คือ The Eradication of Hookworm Disease โดย Dr. Ferrell ได้เสนอ Plan of the Commission as Outline ซึ่งช่วยพัฒนาการสาธารณสุขให้สยามอย่างมาก ดังนี้

 

a. Hookworm investigation, identify actual sanitary need, launch the sanitary campaign, subsequent sanitary work begun onlythe request of the Government in question and with cordial approvaland cooperation. The aim will be to help the countries to help them-selves.

b. To aid existing medical school by (1) building and (2) equipping laboratories and (3) providing fund for larger teaching staff in order that these school may be more efficient. And at the sametime, Hospital and Dispensaries in connection with these School so that through practical training may be possible.

Where no such school exists, (medical) school will be established. This will provide sufficient trained sanitary officers to carry out the need sanitary campaign along the line indicated by thefinding of the previous investigation...

 

วันที่ 28 กันยายน พ.. 2458 กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบ

วันที่ 12 ตุลาคม พ.. 2458 หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 511/6320 แจ้งกระทรวงการต่างประเทศว่า พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ให้หมอคอร์ตเข้ามาตรวจโรคพยาธิปากขอในมณฑลพายัพได้

วันที่ 6 มิถุนายน พ.. 2459 William H. Hornibrook ทูตอเมริกัน มีหนังสือมายังกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า Dr. Victor Heiser ผู้แทนของ The Rockefeller Foundationและ Dr. Perrin Norris ผู้ช่วยฝ่ายตะวันออกไกล In the Far East (ในขณะนั้นเรียกว่า ฝ่ายบุรพประเทศ) เข้ามาประเทศไทย ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จ-พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนเดินทางกลับ วันที่ 16 มิถุนายน พ.. 2459 เพื่อถวายแนวคิดที่จะรักษาโรคอย่างหนึ่ง (Hookworm Disease)

วันที่ 12 มิถุนายน พ.. 2459 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หมอไฮเซอร์เข้าเฝ้าฯ ที่หอราชฤทธิ์รุ่งโรจน์

 

 

731 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

วันที่ 15 มิถุนายน พ.. 2459 กระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือที่ 49/2781 กราบบังคมทูลผ่านราชเลขาธิการ เรื่องที่หมอไฮเซอร์เข้าเฝ้าฯ เป็นที่พอพระราชหฤทัย และทูตอเมริกันแสดงความยินดีที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ได้แสดงอัธยาศัยไมตรีแก่หมอทั้งสอง

วันที่ 19 มิถุนายน พ.. 2459 กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือที่ 9/1657 กราบบังคมทูล ว่า การไต่สวนเบื้องต้นพบว่ามีโรคพยาธิปากขอระบาดที่มณฑลพายัพ จังหวัดตรัง และมณฑลภูเก็ต

วันที่ 21 มิถุนายน พ.. 2459 รองอำมาตย์เอก หลวงนิติธรภาณี ข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย นำหมอนอริสไปจัดการไต่สวน (Investigation) ที่มณฑลพายัพ พร้อมด้วยนายร้อยเอก หลวงศักดาพลรักษ์ (ชื่น พุทธิแพทย์ ภายหลังได้เป็นพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ)ซึ่งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก โปรดเกล้าฯ ให้นายร้อยเอก หลวงศักดาพลรักษ์ ขึ้นไปช่วยเหลือหมอนอริสด้วย

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.. 2459 หมอนอริสได้ยื่นรายงานต่อกระทรวงมหาดไทยว่า ในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่และบริเวณใกล้เคียงมีโรคฮูกเวอร์มแน่นอน ไม่มากก็น้อย

วันที่ 12 สิงหาคม พ.. 2459 หมอนอริสมีหนังสือมายังกระทรวงมหาดไทย แจ้งว่า จะให้หมอบาร์นส์มาเป็นผู้จัดการไต่สวน (Project Manager for Hookworm Investigation)

วันที่ 23 กันยายน พ.. 2459 ราชเลขาธิการในพระองค์มีหนังสือที่ 70/722 แจ้งกระทรวงมหาดไทยว่า มีพระบรมราชานุญาตให้ทดลองจัดการป้องกันรักษาโรคฮูกเวอร์มในเขตสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่

ธันวาคม พ.. 2459 หมอบาร์นส์ได้เข้ามากรุงเทพฯ

 

732_2

หมอไฮเซอร์ (Dr. Victor Heiser)

 

732_1

นายจอห์น ดี. ร็อคกี้เฟลเลอร์ (John D. Rockefeller)

ผู้ก่อตั้งมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์

 

 

732 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

มกราคม พ.. 2460 กระทรวงมหาดไทยได้ส่งรองอำมาตย์ตรี ขุนมานิตประชากร แพทย์กรมประชาภิบาลขึ้นไปช่วย และให้ทางท้องที่ช่วยเหลือตามสมควร

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.. 2460 หมอบาร์นส์เริ่มจัดการรักษาพยาบาลโรคฮูกเวอร์ม

วันที่ 31 มีนาคม พ.. 2460 หมอบาร์นส์ได้ส่งรายงานประจำเดือนฉบับแรก เรื่อง การรักษาพยาบาลโรคฮูกเวอร์ม(32)

 

2458 - 2 ตั้งเขตสุขาภิบาลสำหรับเมืองและเขตสุขาภิบาลสำหรับตำบล

วันที่ 27 ธันวาคม พ.. 2458 มีพระบรมราชโองการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลหัวเมือง ร.. 127 (.. 2451) ทรงปรารภว่า การจัดการสุขาภิบาลที่แบ่งวิธีจัดการคือ ตั้งเป็นเขตสุขาภิบาลสำหรับเมืองและสำหรับตำบลนั้น มีพระราชดำริว่า เฉพาะราษฎรในเขตชุมชนหนาแน่นที่จะได้รับประโยชน์ เพราะได้จัดตั้งเป็นเขตสุขาภิบาล ควรจะขยายให้ราษฎรในท้องที่หัวเมืองได้รับประโยชน์ด้วย จึงทรงประกาศแก้ไขมาตรา 5 ให้วิธีจัดการสุขาภิบาลแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ 1. สุขาภิบาลสำหรับเมือง 2. สุขาภิบาลสำหรับท้องที่ เพื่อกระจายการจัดสุขาภิบาลให้ไปสู่ชุมชนขนาดเล็กได้ และให้คณะกรรมการสุขาภิบาลท้องที่ ประกอบด้วยนายอำเภอเป็นประธาน แพทย์สุขาภิบาล ปลัดอำเภอ และกำนันในท้องที่เป็นกรรมการ

ตามโครงสร้างระบบราชการในหัวเมืองในกำกับกระทรวงมหาดไทย จะมีตำแหน่งแพทย์สุขาภิบาลอยู่ในคณะกรรมการสุขาภิบาลเมืองและท้องที่ ตามพื้นที่ที่ประกาศว่าเป็นเขตสุขาภิบาล จึงเป็นระบบเริ่มแรกในการกระจายการแพทย์และสาธารณสุขไปสู่ต่างจังหวัด ซึ่งตามพระราช-บัญญัติจัดการสุขาภิบาลสำหรับหัวเมือง ร.. 127 สามารถจัดตั้งสุขาภิบาลเมือง 29 แห่ง และสุขาภิบาลท้องที่ 6 แห่ง รวมทั้งหมด 35 แห่ง เมื่อคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475 จึงยกเลิกชื่อสุขาภิบาล เปลี่ยนชื่อเป็นเขตเทศบาลแทน โดยประกาศเป็นพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.. 2476 แต่เกิดอุปสรรคหลายอย่างเมื่อถึง พ.. 2489 สามารถจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลได้เพียง 117 แห่งจาก 4,800 ตำบล จอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงออกกฎหมายจัดตั้งสุขาภิบาลอีกครั้ง คือพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.. 2495จนถึง พ.. 2542 จึงได้ยกเลิกการตั้งสุขาภิบาลเป็นการถาวร มีการออกพระราชบัญญัติเปลี่ยนฐานะสุขาภิบาลตำบลเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมดจำนวน 980 แห่ง

 

 

733 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

.. 2459

 

2459 - 1 การเปิดหอพระสมุดสำหรับพระนคร(33)

วันที่ 6 มกราคม พ.. 2459 กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดหอพระสมุดสำหรับพระนคร

สภานายกหอพระสมุดอ่านคำกราบบังคมทูลแสดงประวัติตำนานของหอพระสมุดที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดจนพระราชทานสถานที่ถาวรวัตถุให้จัดเป็นหอพระสมุดสำหรับพระนคร พระองค์มีพระราชดำรัสตอบ ใจความสำคัญว่า

 

...ข้าพเจ้ามีความพอใจเปนอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาเปิดหอพระสมุดสำหรับพระนคร ด้วยเหตุ 2 ประการ ประการ 1 ก็เพราะความกตัญญกตเวทีที่มีในพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนารถที่ได้ทรงมอบหมายไว้ครั้ง 1 ให้เปนผู้ดำริห์ทำการ...อิกประการหนึ่ง ข้าพเจ้ามีน้ำใจรักใคร่วรรณคดีและกิจการอันเนื่องด้วยหอพระสมุด เพราะรู้สึกเปนสง่าอันสำคัญ และเปนหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองอันเปนที่รักของเราทั้งหลายที่เปนคนไทย

ชาติใดไม่มีหนังสือ ไม่มีตำนานนับว่าเหมือนคนป่า มานานแล้ว ที่จริงชาติเรามีหนังสือและมีตำนานเปนอันมาก แต่หากกระจัดกระจายไม่ได้รวมอยู่แห่งเดียวกัน...ชาวต่างประเทศบางคนจึงถึงแก่เคยกล่าวว่า ชาติไทยไม่มีหนังสือ ไม่มีตำนาน ข้อนี้เปนข้อที่ข้าพเจ้าแลท่านทั้งหลายเคยรู้สึกเจ็บใจมานานแล้ว...เหตุนี้ จึงได้พยายามจัดตั้งหอพระสมุดขึ้นเปนหลักฐาน...

 

2459 - 2 เปลี่ยนชื่อกรมพยาบาลเป็นกรมประชาภิบาล กระทรวงมหาดไทย(34)

วันที่ 31 มกราคม พ.. 2459 คำสั่ง 63/120 เปลี่ยนแปลงระเบียบการในกรมพยาบาล และเปลี่ยนนามกรมพยาบาลเป็นกรมประชาภิบาล

 

2459 - 3 เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด(35)

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.. 2459 เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา เรื่องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ในคำปรารภของประกาศนี้ได้อธิบายสรุปลักษณะการปกครองประเทศไว้ดังนี้

 

...การปกครองพระราชอาณาจักรแต่โบราณมา ได้รวมท้องที่จัดเปนเมืองชั้นเอก โท ตรี แลจัตวา มีผู้ว่าราชการเมืองเปนหัวน่าบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ บ้าง เมืองน้อยขึ้นแก่เมืองใหญ่บ้าง เปนดังนี้มาจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปิยมหาราชาธิราช เมื่อ พ.. 2437

 

 

734 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

(.. 113) จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองแก้ไขวิธีเดิม รวมท้องที่ส่วนหนึ่ง ๆ แห่งพระราชอาณาจักรเข้าเปนมณฑล มีเทศาภิบาลเปนหัวน่าบังคับบัญชาเหนือผู้ว่าราชการเมืองอีกชั้นหนึ่ง...เมืองเล็กที่ผู้คนพลเมืองเบาบาง ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบลงเปนชั้นอำเภอบ้าง รวมท้องที่หลายเมืองเข้าเปนเมืองเดียวกันบ้าง คงไว้เปนเมืองแต่เฉภาะที่มีลักษณะภูมิประเทศอันเหมาะแก่การปกครอง

ครั้นมาในรัชกาลปัตยุบันนี้...ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมมณฑลเข้าเปนภาค มีอุปราชกำกับราชการ แต่ท้องที่ ๆ เรียกว่าเมืองอันเปนส่วนหนึ่งของมณฑลนั้น ในบัดนี้คงเรียกว่าเมืองบ้าง จังหวัดบ้าง สับสนกันอยู่ เพื่อแก้ไขให้เปนระเบียบอันเดียวกันสำหรับความเข้าใจง่ายในการปกครอง จึงทรงพระ-กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองใช้เรียกว่า จังหวัด ผู้ว่าราชการเมืองให้เรียกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด...

 

2459 - 4 กองแพทย์กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล(36)

วันที่ 14 สิงหาคม พ.. 2459 รายงานระเบียบและการปกครองของกองแพทย์กรมสุขาภิบาลในกระทรวงนครบาลตามการข้าราชการ มีความสำคัญบางตอนดังนี้

กองแพทย์กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ตั้งขึ้นเมื่อเมษายน ร.. 123 (.. 2447)มีหมอเอ๊ชแคมเบล ไฮเอ๊ต และหมอไนติงเกล เป็นนายแพทย์สุขาภิบาล กระทรวงนครบาล

- มีการตั้งกรมป้องกันโรคร้ายในกระทรวงนครบาล เพื่อป้องกันโรคระบาดทั้งทางบก ทางทะเล เพราะมีกาฬโรคระบาด มีหมอไฮเอ๊ตเป็นผู้บัญชาการกรม ได้รับงบประมาณ 60,000 บาท แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน

- ให้โรงพยาบาลกรมกองตระเวนมาขึ้นกับกรมสุขาภิบาล

- เสนอเปลี่ยนชื่อกองแพทย์สุขาภิบาลเป็นกรมรักษาความสุขของราษฎรในกระทรวงนครบาล

- เสนอให้จัดระเบียบหน้าที่ของแพทย์สุขาภิบาล กระทรวงนครบาลใหม่ ในหัวข้อ ดังนี้

1) การจัดการป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ

(ทางบก / ทางทะเล / การปลูกฝี / โรคสุนัขบ้า /

กาฬโรค เป็นต้น)

2) การสะอาด

3) การงานในกรมตำรวจที่เกี่ยวกับแพทย์

4) การแยกธาตุและตรวจเชื้อโรคต่าง ๆ

5) การงานโรงพยาบาลต่าง ๆ

6) ทำการตรวจสายตาให้แก่กรมเจ้าท่า สำหรับพวกที่จะสอบนายท้ายเรือ

 

 

735 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

7) เป็นเจ้าหน้าที่สำหรับรักษาพระราชบัญญัติโม่หิน

8) การวัดปรอทอากาศร้อนเย็น เมเตรีโอโลยีกัล

(Meteorological อุตุนิยมวิทยา)

 

 

หมายเหตุ

ความแตกต่างของงานสุขาภิบาลในกระทรวงนครบาลกับงานสุขาภิบาลหัวเมืองในกระทรวงมหาดไทยมีดังนี้

1) งานสุขาภิบาลนครบาลอยู่ในการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ส่วนงานสุขาภิบาลหัวเมืองอยู่ในการปกครองแบบกระจายอำนาจให้กับคณะกรรมการสุขาภิบาลเมืองหรือตำบล (มีเพียง 8 เมืองเท่านั้นจากทั่วประเทศ)

2) งานโรงพยาบาลในกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลเป็นงานใหญ่ มีโรงพยาบาลสำคัญหลายแห่ง ส่วนงานโรงพยาบาลในหัวเมืองเป็นงานขนาดเล็ก ประชาชนในหัวเมืองไม่ชอบเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาล

3) งานแพทย์ประจำเมืองเป็นงานสำคัญที่สุดในหัวเมืองต่างจังหวัด เดิมอยู่ในหน้าที่ของกรมพลำภัง (กรมปกครอง) กระทรวงมหาดไทย ต่อมา พ.. 2455 จึงย้ายไปสังกัดกรมพยาบาล กระทรวงมหาดไทย

4) กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลมีการแบ่งหน้าที่เป็นกองย่อย แตกต่างกับกรมพยาบาล กระทรวงมหาดไทยในหลายกอง

 

 

.. 2460

 

2460 - 1 ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(37)

วันที่ 26 มีนาคม พ.. 2459 (นับอย่างปัจจุบันคือ พ.. 2460) พระบาทสมเด็จ-พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

 

...โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงพระราชดำริห์ให้ทรงจัดตั้งและได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินที่เหลือจากการเรี่ยรายสร้างอนุสาวรีย์ปิยะมหาราช เปนเงินทุนของโรงเรียน...บัดนี้ทรงพระราชดำริห์เห็นสมควรจะขยายการศึกษาในโรงเรียนนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาวิชาชั้นสูงก็ให้เข้าเรียนในโรงเรียนนี้ได้ทั่วกัน เหตุฉะนั้นควรประดิษฐานขึ้นเปนชั้นมหาวิทยาลัย ให้เหมาะแก่ความต้องการแห่งสมัยเสียทีเดียว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปนมหา-

 

 

736 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

736_พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจุบันคืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.. 2458

 

 

วิทยาลัย พระราชทานนามว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเปนอนุสาวรีย์สมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง และให้มหาวิทยาลัยนี้ขึ้นอยู่ในกระทรวงธรรมการ...

 

2460 - 2 ประกาศกระทรวงธรรมการ รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตั้งกรมมหาวิทยาลัย(38)

วันที่ 6 เมษายน พ.. 2460 จางวางเอก พระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ รับพระบรมราชโองการ ความว่า

 

...บัดนี้โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว ได้ประดิษฐานขึ้นเปนมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่าจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย และโอนมาอยู่ในกระทรวงธรรมการแล้ว โรงเรียนราชแพทยาลัยของกระทรวงธรรมการ ควรจะเปนพแนกหนึ่งของมหาวิทยาลัยนี้ด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าในจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย แต่บัดนี้ไป

 

 

 

737 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

วันที่ 6 เมษายน พ.. 2460 จางวางเอก พระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ รับพระบรมราชโองการ ความว่า...เมื่อได้ประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นแล้วในกระทรวงธรรมการ ควรมีเจ้าน่าที่จัดราชการพแนกนี้เปนส่วนหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหาวิทยาลัยขึ้นอีกกรมหนึ่ง เปนกรมใหญ่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการ มีตำแหน่งหัวน่าเปนชั้นอธิบดี ตั้งแต่บัดนี้ไป (39)

2460 - 3 โอนสถานวิทยาศาสตร์ (สถานเสาวภา) ไปสังกัดสภากาชาดสยาม

สิงหาคม พ.. 2460 สภากาชาดสยามรับโอนสถานวิทยาศาสตร์ ซึ่งสมัยโน้นเรียกว่าปาสตุรสภาจากกระทรวงมหาดไทยมาจัดการ ซึ่งแรกเริ่มตั้งเป็นกองวิทยาศาสตร์ของสภากาชาด มีหน้าที่ทำวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ทำพันธุ์หนองฝี ทำวัคซีน และทำน้ำโลหิตรักษาโรคต่าง ๆ

 

 

.. 2461

 

2461 - 1 กาฬโรคระบาดหัวเมือง และการตั้งกรมสาธารณสุข(40)

วันที่ 11 มีนาคม พ.. 2461 กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือที่ 182/6220 กราบทูล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขาธิการ เรื่องเกิดกาฬโรคระบาดขึ้นตามจังหวัดต่าง ๆ คือ มณฑลนครราชสีมาตาย 45 คน มณฑลพิษณุโลกตาย 7 คน มณฑลนครไชยศรีตาย36 คน มณฑลอุดร จังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร ป่วยรวม 4 คน

วันที่ 30 มีนาคม พ.. 2461 รายงานกระทรวงนครบาล เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม พ.. 2461 ตาย 6 ราย ไข้ทรพิษตาย 3 ราย

วันที่ 3 เมษายน พ.. 2461 กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือที่ 1/12 กราบทูลพระเจ้า-พี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขาธิการ ชี้แจงเรื่องกาฬโรคที่มณฑลนครราชสีมาและนครไชยศรีที่มีการระบาดมากว่าเพราะสาเหตุใด โดยหมอไอราแอร์ทำรายงานชี้แจงเป็นภาษาอังกฤษ 10 หน้า การระบาดที่โคราชและสูงเนินรุนแรงที่สุดและเรื้อรังมาเป็นปี กระทรวงมหาดไทยจึงส่งหม่อมเจ้าสกลวรรณากร อธิบดีกรมประชาภิบาล หมอไอราแอร์ แพทย์ที่ปรึกษา และเจ้าพนักงานกรมประชาภิบาล 12 นายขึ้นไปจัดการ สงบลงแล้ว

วันที่ 5 เมษายน พ.. 2461 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดชมีลายพระหัตถ์เรื่องดังกล่าว มีความสำคัญบางตอนว่า

 

...เรื่องกาฬโรคนี้ เดิมทีหลายเดือนมาแล้ว ได้ทราบว่าที่โคราชมีมากก็มีความรำคาญใจอยู่แล้ว...ต่อมาได้รับรายงานโรคระบาทว์ต่าง ๆ ของมหาดไทยเนือง ๆ ตามเคย เห็นยังมีจำนวนกาฬโรคเกิดใหม่เสมออยู่มาก ทั้งโคราชและนครปฐม จึงได้เขย่ามหาดไทยไปเพราะไม่ได้ออกความเห็นประการใดเลย...ประการหนึ่งว่าในกรุงเทพนี้ก็ดี ก็ยังมีโรคชนิดนี้อยู่ชุกชุม...แต่ไม่เห็นปรากฏว่า

 

 

738 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

เจ้าน่าที่จะจัดการป้องกันสำหรับการภายน่าต่อไปอย่างไร...ข้อสำคัญต้องพูดให้แน่ชัดว่าจะต้องทำอะไรบ้างให้เป็นกิจลักษณะ ไม่ใช่พูดรวม ๆ เป็นน้ำท่วมทุ่ง...ทั้งนี้ให้มีกรรมการอันหนึ่งสำหรับดำริห์ปฤกษาการเรื่องนี้เป็นพิเศษ ให้ทำรายงานยื่นตามความประสงค์ที่กล่าวแล้ว ให้ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ผู้ซึ่งเห็นว่าเธอนั้นขวนขวายในทางแพทย์และศุขาภิบาลอยู่มาก ทั้งเป็นผู้มียศศักดิ์ตามสมควรเป็นหัวน่าได้ ให้เป็นประธานในการประชุมแพทย์เรื่องนี้ ให้มีอำนาจเรียกแพทย์และผู้เกี่ยวข้องสำคัญในกระทรวงต่าง ๆ มาประชุมเป็นกรรมการได้ดังนี้

1) กระทรวงมหาดไทย หม่อมเจ้าสกลวรรณากร (ผู้ยื่นรายงาน) หมอวุลเรบ 1

2) กระทรวงกระลาโหม พระอนุรักษ์โยธา 1 หลวงศักดาพลรักษ์ 1

3) กระทรวงทหารเรือ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงษ์ 1

4) กระทรวงนครบาล หมอไฮเอ็ต 1...

 

วันที่ 8 เมษายน พ.. 2461 รายงานกระทรวงนครบาล เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่าง 24 - 30 มีนาคม พ.. 2461 ตาย 14 ราย ไข้ทรพิษตาย 2 ราย

วันที่ 9 เมษายน พ.. 2461 รายงานกระทรวงนครบาล เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่าง 31 มีนาคม - เมษายน พ.. 2461 ตาย 13 ราย ไข้ทรพิษตาย 4 ราย

วันที่ 11 เมษายน พ.. 2461 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร มีหนังสือจากกระทรวงธรรมการ กราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เรื่องการวางแผนดำเนินการแก้ไขปัญหากาฬโรคระบาด

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.. 2461 รายงานกระทรวงนครบาล เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่าง 21 - 27 เมษายน พ.. 2461 ตาย 8 ราย ไข้ทรพิษตาย 1 ราย

วันที่ 4 พฤษภาคม พ.. 2461 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร มีหนังสือจากกระทรวงธรรมการ กราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เรื่อง ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ขอเปลี่ยนคณะแพทย์ คงหมอไอราแอร์ไว้ แต่ให้หมอรอบสันและหมอวุลเรบออกจากกรรมการเพราะไม่ถนัด และให้พระเวชสิทธิพิลาส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราชและคณบดีคณะแพทยศาสตร์เข้ามาเป็นกรรมการแทน

วันที่ 6 พฤษภาคม พ.. 2461 ประชุมกรรมการกาฬโรค ครั้งที่ 1 มีการวางแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ การวางแผนงานในครั้งนี้ แผนงานข้อที่ 1 และ 2 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานด้านสาธารณสุขครั้งสำคัญ (ในขณะนั้นยังเรียกชื่อว่าการสุขาภิบาล) แผนการดำเนินงานในครั้งนี้ คือ

(1) ควรมีแผนที่และสถิติแสดงความแพร่หลายของกาฬโรค

(2) ให้การศึกษาแก่เจ้าหน้าที่และราษฎรโดยวิธีต่าง ๆ และใช้ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตเป็นผู้แผ่ความรู้

 

 

739 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

(3) ควรฝึกหัดเจ้าพนักงานทั้งผู้เป็นแพทย์และมิใช่แพทย์เพื่อให้สามารถทำการในหน้าที่ของตน

(4) ควรมีพระราชบัญญัติกำกับการก่อสร้างให้เป็นระเบียบ

(5) ควรแก้ไขพระราชบัญญัติโรคระบาดให้เคร่งครัดขึ้น

มีการจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องกาฬโรคแก่ราษฎรให้เข้าใจง่าย ๆ จัดทำโดยหมอคาทิวเรื่องรายงานเรื่องต้นเหตุไข้กาฬโรคและไข้ทรพิษเกิดขึ้นแพร่หลายในกรุงเทพฯ เสมอ ๆ

 

วันที่ 4 มิถุนายน พ.. 2461 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร กราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขาธิการ เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 19 - 25 พฤษภาคม พ.. 2461 ตาย 12 ราย ไข้ทรพิษตาย 1 ราย สมเด็จเจ้าฟ้า-กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดชรับสั่งว่า

 

...ยังไม่ลดลาเลย ควรให้กรรมการทราบ

จะได้นำเสนอรายงานนี้เข้าที่ประชุมกรรมการ เพื่อจัดการเรื่องนี้ต่อไป

 

วันที่ 5 มิถุนายน พ.. 2461 รายงานกระทรวงนครบาล เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่าง 26 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน พ.. 2461 ตาย 14 ราย ไข้ทรพิษตาย 1 ราย

วันที่ 19 มิถุนายน พ.. 2461 รายงานกระทรวงนครบาล เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่าง 2 - 8 มิถุนายน พ.. 2461 ตาย 12 ราย

วันที่ 27 มิถุนายน พ.. 2461 รายงานกระทรวงนครบาล เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่าง 16 - 22 มิถุนายน พ.. 2461 ตาย 10 ราย ไข้ทรพิษตาย 1 ราย

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.. 2461 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร มีหนังสือกระทรวงนครบาล กราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขาธิการ เรื่องการประชุมกรรมการกาฬโรค ครั้งที่ 2 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความว่า

 

...ในการประชุมครั้งที่ 2 นี้ กรรมการได้หารือกันในข้อว่า พระราช-กำหนดกฎหมายซึ่งมีอยู่ในเวลานี้ จะนับว่าเพียงพอที่จะให้เจ้าหน้าที่จัดการระงับโรคในคราวที่เกิดเกิดขึ้นชุกชุมหรือไม่ กรรมการเห็นพร้อมกันว่า เพียงพอแล้ว ทั้งได้ลงความเห็นต่อไปว่า กรรมการเชื่อว่า การใช้พระราชบัญญัติทั้งในกรุงและหัวเมือง ยังหละหลวม ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของพระราช-บัญญัตินั้น ๆ กรรมการเชื่อว่า ข้อนี้แหละเป็นต้นเหตุให้การปราบปรามกาฬโรคยังไม่เป็นผลสำเร็จ...

 

 

740 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

(รายงาน) ที่ 47/61 ย่อเรื่องการป้องกันกาฬโรค

...ก่อนที่ได้ประชุม กรมหมื่นไชยนาทถวายความเห็นส่วนพระองค์ในเรื่องนี้ว่า การแก้ไขและระงับกาฬโรคเปนการลำบากเพราะคนยังไม่มีความรู้ในเรื่องกาฬโรค จึงขัดขืนและต่อสู้เจ้าพนักงาน ด้วยความเข้าใจผิดต่าง ๆ การที่จะแก้ไขก็ลำบาก จะต้องใช้เวลานาน...ส่วนการที่จะจัดทำขึ้นนี้ มีปัญหาอยู่ว่าใครจะเปนผู้ทำการศุขาภิบาลในเวลานี้ยังแยกกันอยู่ กระทรวงนครบาลก็มี กระทรวงมหาดไทยก็มี ถ้ารวมกันได้เสียจะสะดวกขึ้นอีกมาก การเช่นนี้ต้องรวมกันทำ ต้องมีศูนย์กลางแต่แห่งเดียวจึงจะสำเร็จได้ดี...

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งลงในรายงานฉบับนี้ว่า

 

...การสุขาภิบาลถ้าจัดการรวมได้เป็นดี และถ้าจะรวมเห็นว่ารวมที่มหาดไทยจะสะดวก ข้อนี้ให้นำเสนอที่ประชุมเสนาบดีที่ว่า สุขาภิบาล ในที่นี้ หมายความโดยตรงว่า Public Health ส่วนการ Municipality ของกรุงเทพ เช่น ทำถนน สะพาน ฯลฯ ควรให้คงไว้ในกระทรวงพระนครบาล ส่วนเงินให้เบิกจ่ายสำหรับการป้องกันกาฬโรค...

 

เนื่องจากเหตุการณ์แก้ไขปัญหากาฬโรคระบาด จึงนำไปสู่แนวคิดริเริ่มในการจัดการรวมงานเป็นกรมเดียว ซึ่งภายหลังได้ชื่อว่า กรมสาธารณสุข

 

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.. 2461 รายงานกระทรวงนครบาล เรื่องกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ ระหว่าง 23 - 29 มิถุนายน พ.. 2461 ตาย 15 ราย ไข้อหิวาตาย 1 ราย

วันที่ 25 ตุลาคม พ.. 2461 กรมราชเลขาธิการมีหนังสือเวียนพระราชทานพระราช-หัตถเลขาที่ 5/126 แจ้งแก่เสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ ความว่า

 

ด้วยเห็นว่า การสุขาภิบาล (คือ Public Health) ซึ่งเวลานี้ยังแยกย้ายกันอยู่หลายกระทรวง สมควรจะรวบรวมทำเสียเปนพแนกเดียวกัน และควรให้รวมในกระทรวงมหาดไทยจะเปนการสดวกดี ส่วนการ Municipality ของกรุงเทพ เช่น ทำถนน สะพาน ฯลฯ ควรให้คงไว้ในกระทรวงพระนครบาลเช่นเดิม เพราะฉะนั้นให้เสนาบดีกระทรวงนครบาล หาฤๅกับเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จัดการมอบหมายน่าที่การสุขาภิบาลนี้ไว้ ในกระทวงมหาดไทยสืบไปฯ

 

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.. 2461 เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือกราบบังคมทูล ความว่า ได้ประชุมกับกับเสนาบดีกระทรวงนครบาลและเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.. 2461 รับ

 

 

741 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

มอบหน้าที่สุขาภิบาล (Public Health) และควรมีอธิบดีผู้บัญชาการกรมใหม่นี้เสียก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้วางแผนการรวมงานที่เหมาะสม แล้วค่อยนำแผนมาเสนอเสนาบดีทั้ง 3 กระทรวง จึงเสนอให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร เป็นอธิบดี และได้กราบบังคมทูลขอพระบรม-ราชวินิจฉัยว่า

 

...กรมนี้เป็นกรมสำคัญกรมหนึ่ง นามประชาภิบาลนั้น ควรคงไว้หรือควรเปลี่ยนใช้นามอื่นแทนประการใด...

 

741_หรือควรเปลี่ยนใช้นามอื่นแทนประการใด

ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 6 มร 6 ม/10/1 - ม12/10 เรื่องกรมสาธารณสุข

 

 

742 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

กรมราชเลขาธิการจึงมีหนังสือกราบบังคมทูล เรื่องขอเรียนพระราชปฏิบัติว่านามประชาภิบาลนั้นควรคงไว้หรือควรเปลี่ยนใช้นามอื่นแทนประการใด มีพระราชหัตถเลขาตอบครั้งแรกว่า

 

ที่จะให้กรมหมื่นไชยนาทเป็นอธิบดีนั้น ชอบแล้ว ส่วนนามกรมเห็นว่า ควรเรียกว่า กรมสุขาภิบาลเพราะเป็นนามที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว

 

2461 - 2 พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พุทธศักราช 2461(41)

วันที่ 5 มิถุนายน พ.. 2461 ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.. 2461 เพื่อจัดการปกครองโรงเรียนราษฎร์หรือโรงเรียนที่เอกชนจัดตั้งขึ้น

 

2461 - 3 เปลี่ยนชื่อกรมสุขาภิบาลเป็นกรมสาธารณสุข(42)

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.. 2461 มีพระราชดำรัสให้แก้ไขนามใหม่ ดังนี้

 

...กรมสาธารณสุข

ชื่อ กรมสุขาภิบาล ที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานออกมาเมื่อวันจันทร์นั้น บัดนี้ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อว่า กรมสาธารณสุข...

 

คำว่าสาธารณสุขจึงเป็นชื่อพระราชทานเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.. 2461

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.. 2461 กรมราชเลขาธิการมีหนังสือเวียนแจ้งกระทรวงต่าง ๆ เรื่องโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร เป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข ยกร่างประกาศตั้งกรมสาธารณสุขและตั้งอธิบดีกรมสาธารณสุข(43) ในร่างประกาศนี้

 

 

หมายเหตุ

การสุขาภิบาล (Sanitary Department) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วยงาน 2 ประเภท คือ

1. Public Health หมายถึง การรักษา พยาบาล และการป้องโรค แยกออกมารวมใหม่ ตั้งเป็นกรมสาธารณสุข

2. Municipality หมายถึง การดูแลโครงสร้างทางกายภาพของชุมชนเพื่อความสะอาดเรียบร้อย คือ ถนน สะพาน คลอง ปัจจุบันคือเทศบาลโดยเรื่อง Municipality แบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วน คือ

2.1 Municipality ในกระทรวงนครบาล สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล เรียกว่านคราภิบาล

2.2 Municipality ในกระทรวงมหาดไทย สำหรับหัวเมืองต่างจังหวัดทั้งหมด เรียกว่า บุราภิบาล

 

 

743 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

2461 - 4 พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พุทธศักราช 2461(44)

จัดตั้งสภากาชาดสยาม

วันที่ 12 มิถุนายน พ.. 2461 มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พุทธศักราช 2461 เพื่อจัดวางระเบียบการสำหรับสภากาชาดสยามให้เป็นหลักฐานมั่นคงบริบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

.. 2463

 

2463 - 1 สยามเข้าร่วมองค์การสันนิบาตชาติ - League of Nations (ปัจจุบันคือ องค์การสหประชาชาติ)(45)

วันที่ 12 มกราคม พ.. 2462 (นับแบบปัจจุบัน พ.. 2463) กรมพระยาเทวะวงศ์-วโรปการมีหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ 255/12544 แจ้งความมายังพระยาจักรปาณี-ศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ เรื่องการประชุมของสันนิบาตชาติ (League of Nations) ขอพระราชทานแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายสยามเพื่อเข้าร่วมประชุมสันนิบาตชาติ

วันที่ 21 มกราคม พ.. 2462 (นับแบบปัจจุบัน พ.. 2463) พระบาทสมเด็จ-พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า-จรูญศักดิ์กฤดากร พระยาบุรีนวราษฐ พระยาประภากรวงศ์ และพระยาพิพัฒโกษา เป็นผู้แทนประเทศสยามเข้าร่วมประชุมสันนิบาตชาติว่าด้วยสัญญาสันติภาพหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1

 

 

หมายเหตุ

องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)

คือ องค์การระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นในปี ค.. 1919 จากการประชุมสันติภาพที่ปารีสของประเทศผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยการเจรจาและการทูต รวมทั้งพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ คำว่า สันนิบาต แปลว่า การประชุมชุมนุม หรือการรวมตัว ดังนั้นองค์การสันนิบาตชาติจึงหมายถึง องค์กรระหว่างประเทศที่มีประเทศต่าง ๆ มารวมตัวกัน องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) มีที่ตั้งอยู่ที่อาคารปาแลเดนาซียง (Palais des Nations) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Palace of Nations แปลว่า พระราชวังแห่งประชาชาติ ณ นครเจนีวา อาคารปาแล-เดนาซียงถือเป็นหมู่อาคารที่ปริมาตรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของยุโรป รองจากพระราชวังแวร์ซาย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

ความเป็นมาขององค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)

ในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ซึ่งอ้างอิงกับประวัติศาสตร์ยุโรป มีจุด เริ่มต้น ขึ้นราวปี ค.. 1453 (.. 1996) หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์จนถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.. 1945 (.. 2488) หลังจากนี้ไปจนถึงปัจจุบันถือว่าเป็นประวัติศาสตร์โลกยุคปัจจุบัน

 

 

744 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

744_แต่งตั้งผู้แทนฝ่ายสยามเพื่อเข้าร่วมประชุมสันนิบาตชาติ

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้แทนฝ่ายสยามเพื่อเข้าร่วมประชุมสันนิบาตชาติ

 

745_คณะผู้แทนฝ่ายสยามเพื่อเข้าร่วมประชุมสันนิบาตชาติ

คณะผู้แทนฝ่ายสยามเพื่อเข้าร่วมประชุมสันนิบาตชาติ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร : แถวนั่ง - กลาง

(ได้รับจาก United Nation Library and Archives Palais des Nations, Geneva by Mr. Collin Wells)

 

745 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

ในช่วงเวลาของประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่.. 1453 - 1945 ถือว่าเป็นยุคแห่งสงคราม จึงเกิดแนวคิดในยุโรปที่พยายามจัดระเบียบยุโรปใหม่ สร้างกลไกกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ป้องกันการเกิดสงคราม ควบคุมรูปแบบการทำสงครามไม่ให้ร้ายแรงต่อมนุษยชาติ ทุเลาผลของสงครามต่อมนุษยชาติ คือ แนวคิด Perpetual Peace: A Philosophical Sketch .. 1795

 

แนวคิด Perpetual Peace: A Philosophical Sketch .. 1795

ในปี ค.. 1795 (.. 2338 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) อิมมานูเอล คานต์ เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรที่จะไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ (Perpetual Peace: A Philosophical Sketch) โดยเขาย้ำว่าแนวทางนี้ไม่ใช่การให้มีรัฐบาลปกครองโลก แต่ให้รัฐบาลของแต่ละประเทศเคารพพลเมืองของตน และต้อนรับชาวต่างประเทศในลักษณะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน สันติภาพระหว่างประเทศก็จะเกิดขึ้น

ประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่จึงอาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วง

ช่วงแรกคือ สงครามการรบระหว่างจักรวรรดิต่าง ๆ ในยุโรป รวมทั้งการปฏิวัติรบพุ่งภายในประเทศตนเอง สงครามอิสรภาพจากระบอบปกครองประเทศแบบเก่า ในช่วงแรกนี้เกิดกลไกระหว่างประเทศที่สำคัญ 2 กลไก คือ

1) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee of the Red Cross : ICRC) ในปี ค.. 1863 ณ นครเจนีวา ผู้ริเริ่มคือ นายอังรี ดูนังต์

2) ศาลโลกศาลที่ 1 - ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (The Permanent Court of Arbitration : PCA) ณ กรุงเฮก ผู้ริเริ่มคือ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย การจัดตั้งศาลเกิดจากอำนาจกฎหมายระหว่างประเทศของอนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 ฉบับที่ 1 “Convention for the Pacific Settlement of International Disputes” ปัจจุบันยังคงมีอยู่

 

 

 

746 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

ช่วงที่สองคือ มหาสงคราม ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ในช่วงที่สองนี้เกิดกลไกระหว่างประเทศที่สำคัญ 4 กลไก คือ

สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดตั้ง

1) องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) ผู้ริเริ่มคือ ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐ-อเมริกา จัดตั้ง 10 มกราคม พ.. 2463 เลิกกิจการ 20 เมษายน พ.. 2489

2) ศาลโลกศาลที่ 2 - ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ (The Permanent Court of International Justice : PCIJ) เกิดจากอำนาจกฎหมายระหว่างประเทศ Article 14 of the Covenant of the League of Nations จัดตั้ง 30 มกราคม พ.. 2465 เลิกกิจการ 31 มกราคม พ.. 2489

สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการจัดตั้ง

3) องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ผู้ริเริ่มคือ ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิล แห่งอังกฤษ

4) ศาลโลกศาลที่ 3 - ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (The International Court of Justice : ICJ)เกิดจากอำนาจกฎหมายระหว่างประเทศ Article 33 of the United Nations Charter จัดตั้งแทนที่ศาลโลกศาลที่ 2 - ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ ซึ่งยกเลิกไปพร้อมกับองค์การสันนิบาตชาติ ผู้พิพากษาศาลโลกศาลที่ 2 - ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศลาออกทั้งหมดพร้อมกันในวันที่ 31 มกราคม พ.. 2489 เพื่อเลิกศาลนี้ และแทนที่ด้วยศาลโลกศาลที่ 3 เริ่มรับผู้พิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.. 2489

 

ลำดับการกำเนิดองค์กรระหว่างประเทศเพื่อจัดระเบียบโลกยุคใหม่

การกำเนิดองค์กรระหว่างประเทศเพื่อจัดระเบียบโลกยุคใหม่อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค ดังนี้

องค์กรระหว่างประเทศ ยุคที่ 1

1. คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee of the Red Cross : ICRC) .. 1863

2. ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (The Permanent Court of Arbitration : PCA) .. 1899

หลังจากสงครามนโปเลียนในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความพยายามร่วมมือกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามในยุโรปมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังเกิดสงครามกระจายทั่วยุโรป จนกระทั่งสงครามที่เมืองซัลเฟริโน ประเทศอิตาลี (The Battle of Solferino) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.. 1859 เป็นสงครามครั้งใหญ่ที่มีทหารเข้าร่วมรบกว่า 3 แสนนาย ชัยชนะเป็นของพันธมิตรฝรั่งเศส กองทัพออสเตรียพ่ายแพ้ เป็นสงครามที่โหดร้ายและทอดทิ้งทหารบาดเจ็บไว้ในสนามรบจำนวนนับหมื่นคน อังรี ดูนังต์ ผ่านไปพบและให้ความช่วยเหลือ นำมาเขียนเป็นหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ A Memory of Solferino และตีพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ทั่วยุโรป สร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นความทุกข์ทรมานของทหารบาดเจ็บในสงครามในทางมนุษยธรรมครั้งใหญ่ทั่วยุโรป จึงกำเนิดองค์กรระหว่างประเทศองค์กรแรกของโลก คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ - The International Committee of the Red Cross : ICRC / ภาษาฝรั่งเศส - Comité international de la Croix-Rouge : CICR) ในปี ค.. 1863 และนำไปสู่การทำอนุสัญญาระหว่างประเทศต่าง ๆ ครั้งใหญ่ที่สุดในโลกเวลานั้นคือ อนุสัญญาเจนีวา ค.. 1864

ในเวลานั้นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียทรงเป็นผู้นำสนับสนุนการสงบศึกเช่นกัน มีพระราชดำริว่าประเทศต่าง ๆ ในยุโรปกำลังสะสมกำลังอาวุธสมัยใหม่ที่มีศักยภาพในการทำลายล้างสูง อาจจะเกิดมหาสงครามใหญ่ที่มีการทำลายล้างสูง จึงทรงเริ่มการประชุมสันติภาพครั้งแรกของโลก ณ กรุงเฮก (The First Hague Peace Conference of 1899 - an anti-war conference, assembled on 18 May 1899 and adjourned on 29 July 1899) เพื่อป้องกันการเกิดมหาสงคราม หารือเรื่องการลดกำลังทหาร การห้ามใช้

 

 

747 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

747_พระราชวังแห่งประชาชาติ (Palace of Nations)

พระราชวังแห่งประชาชาติ (Palace of Nations) หรืออาคารปาแลเดนาซียง (Palais des Nations)

ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามอาคาร ICRC - สำนักงานใหญ่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ นครเจนีวา

 

ระเบิดตอร์ปิโด การห้ามทิ้งระเบิดจากบอลลูน การยุติการพัฒนาอาวุธทำลายล้างสูง เป็นต้น นำไปสู่การจัดทำอนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 ทำให้เกิดศาลโลกศาลที่ 1 คือ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (The Permanent Court of Arbitration : PCA) เพื่อระงับข้อพิพาทขัดแย้งซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐ หน่วยการปกครองรัฐ (State Entity) ป้องกันการเกิดสงคราม

แม้การเกิดมหาสงครามอยู่ในความคาดหมายของคนในยุคนั้น จนนำไปสู่ความพยายามจัดตั้งกลไกป้องกันสงคราม คือกลไกบรรเทาผลของสงคราม ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสงคราม คือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและศาลอนุญาโตตุลาการถาวร เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่นำไปสู่สงคราม แต่ก็ไม่อาจป้องกันมหาสงครามใหญ่ได้ ในที่สุดจึงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น มีผู้บาดเจ็บล้มตายหลายล้านคน สงครามโลก

 

 

748 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 748_อาคารสำนักงานใหญ่

อาคารสำนักงานใหญ่ (เก่า) ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee of the Red Cross : ICRC)

นครเจนีวา ภาษาฝรั่งเศส Comité international de la Croix-Rouge : CICR749

 

ที่เกิดขึ้นได้พิสูจน์คุณค่าของกลไกระหว่างประเทศด้านมนุษยธรรมในยามสงคราม คือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่มนุษยชาติหลายล้านคนในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ2 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศซึ่งเป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดและทรงเกียรติ เป็นหนึ่งในการบริหารองค์กรที่ขยายตัวมากที่สุด จึงได้รับ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.. 2460 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.. 2487 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 เมื่อ พ.. 2506

 

องค์กรระหว่างประเทศ ยุคที่ 2

3. องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) .. 1919

4. ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ (The Permanent Court of International Justice : PCIJ) .. 1922

หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงมีความพยายามจัดระเบียบโลกใหม่ โดยประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกาได้เสนอการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) และจัดตั้งศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ (The Permanent Court of International Justice : PCIJ) ขึ้นตามสนธิสัญญาแวร์ซาย แต่องค์การสันนิบาตชาติมีจุดอ่อนสำคัญคือ

1) ไม่ได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากสหรัฐอเมริกา

2) ไม่มีกองกำลังทหารเป็นของตนเอง

3) ประเทศสมาชิกคำนึงถึงประโยชน์ของตนมากกว่าการรักษาสันติภาพของโลก

อุปสรรคสำคัญที่สุดอันหนึ่งคือ ไม่มีสหรัฐอเมริการ่วมเป็นสมาชิกขององค์การด้วย สันนิบาตชาติประชุมกันเป็นสมัยประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.. 1939 และหมดสภาพเป็นองค์การระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.. 1946 ทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดได้โอนไปให้องค์การสหประชาชาติ

 

 

 

749 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

749_1

พระราชวังแห่งสันติภาพ (The Peace Palace, in the Hague) สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ตั้งของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร

(The Permanent Court of Arbitration : PCA) ที่ตั้งของศาลโลกทุกศาล

 

749_2

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

(The International Criminal Court) กรุงเฮก

 

 

องค์กรระหว่างประเทศ ยุคที่ 3

5. องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) .. 1945

6. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (The International Court of Justice : ICJ) .. 1946

 

สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดองค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งประสบความสำเร็จในการป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 2 คำว่าสหประชาชาติหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี.โรสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิล แห่งอังกฤษ เสนอแนวคิดครั้งแรกในปฏิญญาสหประชาชาติ เมื่อปี ค.. 1942 ร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้การลงนามในกฎบัตรแอตแลนติก

 

 

750 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

ตัวแทนจากประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการก่อตั้งสหประชาชาติในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. การประชุมครั้งนั้นและครั้งต่อ ๆ มาทำให้เกิดรากฐานความร่วมมือกันระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่สันติภาพ ความมั่นคง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม โดยแผนเหล่านี้ได้ผ่านการถกเถียงอภิปรายจากรัฐบาลและประชาชนทั่วโลก

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (The International Court of Justice : ICJ) จัดตั้งตามมาตรา 33 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ (Article 33 of the United Nations Charter) ทดแทนศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ (The Permanent Court of International Justice : PCIJ) .. 1919 ซึ่งจัดตามมาตรา 14 แห่งข้อตกลงสันนิบาตชาติ (Article 14 of the Covenant of the League of Nations) เนื่องจากมีการยกเลิกข้อตกลงสันนิบาตชาติ (The Covenant of the League of Nations) จึงทำให้ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศถูกยุบไปพร้อมกับองค์การสันนิบาตชาติ

7 ศาลอาญาระหว่างประเทศ (The International Criminal Court)

ศาลโลกศาลที่ 4 คือ ศาลอาญาระหว่างประเทศ (The International Criminal Court : ICC) เป็นศาลสุดท้าย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.. 2545 เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดมนุษยธรรมต่อมนุษยชาติ ตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (รวมอนุสัญญาเจนีวา) ตามแนวคิดของ Gustave Moynier นักกฎหมายผู้ร่วมก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการเสนอครั้งแรกในอนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899 และนำไปสู่การจัดตั้งศาลโลกศาลที่ 1 คือศาลอนุญาโตตุลาการถาวร แต่ศาลโลกศาลที่ 1 ยังไม่สมบูรณ์ตามแนวคิด Gustave Moynier เพราะยังไม่มีการลงโทษทางอาญาต่อผู้กระทำผิดอนุสัญญาเจนีวาหรือการทำลายมนุษยชาติ

ในปี พ.. 2532 นายอาร์เธอร์ นโปเลียน เรย์มอนด์ โรบินสัน นายกรัฐมนตรีของตรินิแดดและโตเบโก รื้อฟื้นความคิด A Proposal for the Creation of an International Arbitration Court ของ GustaveMoynier เพื่อจัดตั้งศาลอาญาถาวรระหว่างประเทศและนำเสนอต่อองค์การสหประชาชาติในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ณ กรุงโรม เมื่อเดือนมิถุนายน พ.. 2541 จึงประกาศสนธิสัญญาจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้น ชื่อว่าธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ” (The Rome Statute of the Inter-national Criminal Court) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.. 2541 โดยได้รับการรับรองด้วยคะแนนเสียง 120 ต่อ 7 และธรรมนูญกรุงโรมได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.. 2545 ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ มีประเทศร่วมลงนามให้สัตยาบันจำนวน 123 ประเทศ (ไม่มีประเทศไทย) นับเป็นศาลสุดท้ายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบและดำเนินคดีกับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญา-กรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเป็นการบรรจบรวมกันระหว่างแนวคิดที่มาจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและการดำเนินการโดยองค์การสหประชาชาติทำให้กลไกกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองมนุษยชาติในยามสงครามมีความสมบูรณ์ แต่มีจุดอ่อนสำคัญคือ ประเทศมหาอำนาจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ไม่ได้เข้าร่วมการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ จึงยังมีบทบาทไม่มากเท่าที่ควร

 

2463 - 2 ตั้งกองสุขาภิบาล กำจัดโรคพยาธิปากขอและไข้มะลาเรีย สภากาชาดสยาม(46)

วันที่ 10 มีนาคม พ.. 2462 (นับอย่างปัจจุบันคือ พ.. 2563) สมเด็จพระอนุชา-ธิราชเจ้า เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ออกประกาศแจ้งความสภากาชาดสยามในราชกิจจานุเบกษา ความย่อว่า

 

 

751 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

...กรรมการสภากาชาดสยามขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าการที่ได้จัดสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเปิดรับรักษาพยาบาลคนเจ็บไข้ทั่วไป ทั้งรับโอนสถานปาสเตอร์มาจัดการนั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือบำบัดโรคภัยไข้เจ็บอันบังเกิดขึ้นแก่มหาชนทั้งสิ้น...

 

การกำจัดโรคพยาธิ์ปากขอ ไข้มะลาเรีย และอื่น ๆ อีกอเนกประการ อันกระทำให้พลเมืองอ่อนกำลังเปนสาเหตุให้เกิดโรคอื่นจนเปนอันตรายถึงแก่ชีวิตร์ได้นั้น ก็เปนสิ่งสำคัญเหมือนกัน ฉะนั้นกรรมการสภากาชาดสยาม จึงได้จัดตั้งกองแยกของสภาขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่กอง 1 ขนานนามว่า กองสุขาภิบาล สภากาชาดสยาม จะได้เริ่มทำการแต่ ณ วันที่ 1 เมษายน พระพุทธศักราช 2463...แบ่งน่าที่ออกเปน 3 พแนก คือ

1. พแนกจัดการสุขาภิบาล

2. แพนกกำจัดโรคพยาธิ์ปากขอ

3. พแนกกำจัดไข้มะลาเรียและอื่น ๆ

การที่ได้ตั้งกองสุขาภิบาลขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น เพราะจะการในมณฑลพายัพ อันเปนทำเลมีโรค พยาธิ์ปากขอและไข้มะลาเรียชุกชุมนั้นก่อน ต่อไปจึงจะค่อยขยายการออกไปทั่วพระราชอาณาเขตร์...ส่วนตำแหน่งผู้อำนวยการกองแยกใหม่นี้ ได้มอบให้แก่นายแพทย์บาร์นส์ แพทย์ของกรรมการสุขาภิบาลระหว่างชาติ...

 

2463 - 3 ประเทศอังกฤษตั้งกระทรวงสาธารณสุข(47)

วันที่ 22 มีนาคม พ.. 2463 พระยาบุรินวราษฐ์ อัครราชทูตสยามประจำกรุงลอนดอน กราบทูลสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ความว่า

 

...เนื่องมหาสงครามคราวนี้ ทรัพย์แลชีวิตมนุษย์ได้เป็นอันตรธานไปโดยคณามิถ้วน จำนวนพลเมืองของประเทศลดลงน่าใจหาย...รัฐบาลเหล่านี้พากันเห็นโดยชัดว่า การจัดการสุขาภิบาลเพื่อป้องกันโรค การค้นหาวิธีเยียวยาโรคการบำรุงอนามัย...เป็นกุศโลบายที่จะต้องดำเนินการโดยพลัน รัฐบาลอังกฤษ ซึ่งแต่ก่อนสงครามแยกย้ายการงานและความรับผิดชอบในแผนกการสาธารณสุขไปตามกรมและกระทรวงต่าง ๆ แล้วแต่ความสะดวกชั่วคราวนั้น มาบัดนี้รู้สึกว่าระเบียบการไม่สมสมัย กิจการก้าวก่ายไม่เป็นผลดี จึงได้ รวมงานเหล่านี้มาอยู่ในความบังคับบัญชาแห่งเดียว ตั้งขึ้นเป็นกระทรวงใหม่อันหนึ่งต่างหาก เรียกว่า “Ministry of Health” ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่ากุศโลบายของรัฐบาลอังกฤษในเรื่องนี้ก็ คล้ายคลึงกับพระบรมราโชบายที่ตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นแต่ก่อนแล้ว เพราะฉะนั้น วิธีการของเขาน่าจะเป็นประโยชน์

 

 

752 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

พอเทียบเคียงความดำริและวินิจฉัยของกรมสาธารณสุขได้บ้าง ได้มอบให้นายอาเชอร์เป็นผู้รวบรวมข้อความและกฎข้อบังคับในเรื่องนี้มาดู...

 

 

หมายเหตุ

มหาสงครามหมายถึง สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.. 2457 และสิ้นสุดลงในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.. 2461 มีทหารเข้าร่วมรบในสมรภูมิถึง 65 ล้านคน มีทหารเสียชีวิตราว9 ล้านคน โดยทหารเยอรมันเสียชีวิต 1,950,000 คน รัสเซีย 1,700,000 คน และฝรั่งเศส 1,900,000 คนส่วนพลเรือนเสียชีวิตหลายสิบล้านคน

การรวบรวมงานแพทย์และสาธารณสุขที่กระจายอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งขึ้นเป็นกระทรวงสุขภาพ” (Ministry of Health) เมื่อ พ.. 2463 โดยประกาศกฎหมายชื่อ The Ministry of Health Act 1919 จึงเป็นการตั้งกระทรวงสุขภาพแห่งแรกของโลก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และหลังจากนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรปจึงเริ่มมีการตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นตามแบบอย่างอังกฤษ เพราะล้วนได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เช่นกัน และแพร่หลายกลายเป็นมาตรฐานโลกต่อมา

ในปี ค.. 1968 Ministry of Health ของอังกฤษได้เปลี่ยนชื่อเป็น The Department of Health andSocial Security (DHSS) และในปี ค.. 2018 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น The Department of Health and Social Care คำว่า “Department” หมายถึง Department of Government หมายถึงกระทรวงด้วยเช่นกัน

สำหรับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมงานแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้ในกรมเดียว และพระราชทานนามว่ากรมสาธารณสุข” (The Department of Public Health) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.. 2461 แต่ประเทศไทยใช้คำว่า Public Health ซึ่งเป็นกิจการที่พัฒนามาจาก Sanitary ส่วนการตั้งชื่อหน่วยงานของต่างประเทศจะใช้คำว่า กระทรวงสุขภาพ (The Department of Health)

 

2463 - 4 สภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

วันที่ 12 มิถุนายน พ.. 2462 พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรมีหนังสือถึงสภานายกกรรมการกลางถามถึงวิธีสำหรับที่จะเข้าในกรรมการกลางสภากาชาด(48)

วันที่ 21 มิถุนายน พ.. 2462 นายปี. เดอ กูต มีหนังสือตอบพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์-กฤดากรว่า

...ทราบว่าสภากาชาดสยามอยู่ชั้นต้น ส่งแบบแจ้งความมาให้ว่า

ด้วยการที่จะเข้าได้โดยมีความสำคัญ 2 ข้อ ๆ

1. เข้าในสัญญาเจนีวา

2. สภากาชาดนั้นรัฐบาลของตนรับแล้ว

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.. 2463 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The Inter-national Committee of the Red Cross : ICRC) ได้ให้การรับรองสภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิก

 

 

753 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

วันที่ 8 เมษายน พ.. 2464 สันนิบาตสภากาชาด (The League of Red Cross Societies) ได้รับสภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิก

 

 

หมายเหตุ

ประเภทขององค์กรกาชาด

องค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศประกอบด้วย 3 องค์กร คือ

1. คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee of the Red Cross : ICRC) มีบทบาทหน้าที่หลักคือ การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดการขัดแย้งทางทหาร เกิดสงครามกลางเมืองหรือสงครามระหว่างประเทศ และธำรงรักษาหลักการกาชาด

2. สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (The International Federa-tion of Red Cross and Red Crescent Societies : IFRC) มีบทบาทหน้าที่หลักคือ ติดต่อประสานงานกับสภากาชาดระหว่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยธรรมชาติทั่วไป พัฒนาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนและเยาวชน จัดตั้งและพัฒนาสภากาชาดของประเทศต่าง ๆ โดยปฏิบัติงานตามหลักการของกาชาดและอนุสัญญาเจนีวา

3. สภากาชาดประจำชาติ สภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ (The National Red Cross and Red Crescent Society) บทบาทหน้าที่หลักคือ ฝึกอบรมบุคลากรเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ เช่น แพทย์ พยาบาลอาสาสมัคร ฯลฯ เพื่อปฏิบัติงานในโครงการต่าง ๆ ของสภากาชาด และบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติ รวมถึงฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ด้วย

 

ที่มาขององค์กรกาชาด

องค์กรกาชาดทั้ง 3 องค์กรเกิดจากผลของกฎหมายอนุสัญญาเจนีวา กล่าวคือ อนุสัญญาเจนีวาเป็นอนุสัญญาทวิภาคี (Bilateral Treaty) แบบเก่าที่มีใช้ในยุโรปมาตั้งแต่ยุคโรมัน เป็นสัญญาระหว่างประเทศสวิสกับแต่ละประเทศภาคีสมาชิก 196 ประเทศ ในขณะนั้นยังไม่มีอนุสัญญาแบบพหุภาคี (Multilateral Treaty) ซึ่งอนุสัญญาแบบพหุภาคีเพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกภายหลัง คือ อนุสัญญากรุงเฮก ค.. 1899

อนุสัญญาเจนีวาประกอบด้วยคู่สัญญา 2 ส่วน คือ

1. ผู้รับสัญญา (Depositary State) คือ ประเทศสวิส เป็นผู้มีอำนาจใช้อนุสัญญา จึงเป็นผู้ใช้อนุสัญญาเจนีวาขับเคลื่อนปฏิบัติการระหว่างประเทศได้ การขับเคลื่อนปฏิบัติการของกาชาดเรียกว่า Red Cross Movement

รัฐบาลสวิสมอบอำนาจให้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศสำนักงานใหญ่ ณ นครเจนีวาเป็นผู้ดำเนินการแทนรัฐบาลสวิส ซึ่งถือเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสวิสและได้รับเงินงบประมาณของรัฐบาลสวิสโดยตรง นอกจากนี้ยังมีสาขาของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก สาขาเหล่านี้ได้รับอุดหนุนจากเงินบริจาคของประเทศต่าง ๆ

ภารกิจหลักของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศคือ ปฏิบัติการทางมนุษยธรรมในระดับนานาชาติ (International Conflicts / International Disasters / Non-International Conflicts) เพราะได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวา ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law : IHL) อนุสัญญาเจนีวาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายชุดนี้

2. ผู้ให้สัญญา (Ratifying State) คือ ประเทศต่าง ๆ ที่ให้สัตยาบันต่อรัฐบาลสวิสทีละประเทศ ประเทศเหล่านี้เรียกว่า ประเทศภาคีสมาชิก ไม่มีอำนาจใช้อนุสัญญาเจนีวาโดยตรง แต่อำนาจทางอ้อมคือต้องเข้าร่วมกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จึงสามารถปฏิบัติภารกิจระหว่างประเทศโดยมีอำนาจกฎหมาย

 

 

754 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

อนุสัญญาเจนีวาคุ้มครอง ประเทศเหล่านี้ได้จัดตั้ง National Red Cross Society ขึ้น สำหรับประเทศไทยคือ สภากาชาดไทย

ปัจจุบันมี 196 ประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาเจนีวา และมี 191 ประเทศจัดตั้ง National Red Cross Society จึงมีทั้งหมด 191 National Red Cross Societies แต่ละแห่งมีอำนาจปฏิบัติการภายใต้กฎหมายของประเทศตนเอง จึงมีภารกิจหลักเกี่ยวกับภัยพิบัติใหญ่ของประเทศตนเอง (Natural and Technological Disasters, Refugees and Those Affected by Health Emergencies)

 

สันนิบาตกาชาด (The League of Red Cross Societies)

เนื่องจากสภากาชาดของแต่ละประเทศมีจำนวนมาก เฮนรี เดวิสัน ประธานคณะกรรมการกาชาดสงครามอเมริกัน (American Red Cross War Committee) ได้เสนอให้รวมตัวกันจัดตั้งสหพันธ์กาชาดขึ้น เรียกว่าสันนิบาตกาชาด” (The League of Red Cross Societies) หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.. 2462 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์กาชาดสากลและเสี้ยววงเดือนแดง (International Federation of Red Cross and Red Crescent) ตั้งแต่ปี พ.. 2534

คำว่าสันนิบาตหมายถึง ชุมนุม ดังนั้นสันนิบาตกาชาดจึงหมายถึง การรวมตัวของสภากาชาดของแต่ละประเทศ (National Red Cross Society) เพื่อเป็นหน่วยงานเชื่อมประสานสภากาชาดของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน เพื่อเป้าหมาย 4 ประการ ดังนี้

เป้าหมาย 1 : ลดจำนวนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และผลกระทบจากภัยพิบัติ

เป้าหมาย 2 : ลดจำนวนผู้เสียชีวิต ความเจ็บป่วย และผลกระทบจากโรคและภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

เป้าหมาย 3 : เพิ่มขีดความสามารถของสภากาชาดในชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อจัดการกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่เร่งด่วน

เป้าหมาย 4 : ส่งเสริมการเคารพในความหลากหลายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และลดการเลือกปฏิบัติและการกีดกันทางสังคม

ทั้งนี้จะเห็นว่าเป้าหมายทั้ง 4 ประการของสหพันธ์กาชาดสากลและเสี้ยววงเดือนแดงเกี่ยวกับภัยพิบัติและงานมนุษยธรรมภายใต้กฎหมายของประเทศตนเอง ไม่เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในสงคราม การสู้รบ หรือความขัดแย้ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศที่มีอำนาจอนุสัญญาเจนีวาคุ้มครองปฏิบัติการ

 

ขบวนการกาชาด (The Red Cross Movement)

The Red Cross Movement แปลเป็นภาษาไทยว่า ขบวนการกาชาด หมายถึง กิจกรรมขับเคลื่อนอนุสัญญาเจนีวาให้มีผลในทางปฏิบัติจริง เป็นหน้าที่ของ Depositary State คือประเทศสวิส ซึ่งมอบอำนาจให้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ ได้ขับเคลื่อนอนุสัญญาเจนีวาโดยใช้การประชุมองค์กรกาชาดทั่วโลกทุก ๆ 4 ปี คือ The International Conference of the Red Cross and Red Crescent : IRRCซึ่งมีการจัดประชุมครั้งแรกที่กรุงปารีสเมื่อ พ.. 2410 (The first meeting took place in Paris in 1867) และกำลังจะมีการประชุมครั้งที่ 33 ในปี พ.. 2562 (the 33rd Conference in 2019)

 

หลักการกาชาด (The Fundamental Principles of the Red Cross)

เป็นผลลัพธ์ที่สรุปจากประสบการณ์ปฏิบัติการกาชาดยาวนานกว่าหนึ่งร้อยปี โดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ร่วมกันประกาศ

 

 

755 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

หลักการกาชาด ณ กรุงเวียนนา เมื่อ ค.. 1965 (.. 2508) ด้านต่าง ๆ ได้แก่ Humanity / Impartiality / Neutrality / Independence / Voluntary Service / Unity / Universality

 

755_1

 

 

756 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

756_1

 

 

757 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

2463 - 5 พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยามเพิ่มเติม พุทธศักราช 2463(49)

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.. 2463 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศรับรองสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิก

วันที่ 16 ตุลาคม พ.. 2463 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม มีหนังสือสภากาชาดสยาม ที่ 1754 กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(50) ความว่า

 

ด้วยในระหว่างที่อรรคราชทูตสยามได้เจรจากับกรรมการกาชาดระหว่างประเทศที่เจเนวา (Inter-national Red Cross Committee of Geneva) เพื่อให้รับรองสภากาชาดสยามเข้าในสมาคมกาชาดระหว่างประเทศ แลเมื่อได้ส่งพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พ.. 2461 ให้ตรวจดู เพื่อทราบฐานะของสภากาชาดสยามแล้ว กรรมการที่เจเนวา ได้ไต่ถามทักท้วงถึงการบางอย่าง ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินั้น แลซึ่งเปนนิยมระหว่างประเทศว่าจำต้องยึดถือเปนหลักสำหรับทางปฏิบัติการของสภากาชาดทั้งปวงที่จักร่วมสมาคมกัน จึงจำต้องแก้ไขข้อบัญญัติสำหรับสภากาชาดสยามเข้าหา จึงจักสามารถได้รับความรับรองที่ปรารถนานั้น

คณะกรรมการสภากาชาดสยามในชั้นนั้น เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าพระ-ราชบัญญัติ พ.. 2461 ได้ประกาศออกไปยังมิช้ามินาน จะแก้ไขอีกโดยพลันเช่นนั้น จักไม่เปนการงดงาม จึงได้ร่างเปนข้อบังคับสำหรับใช้ประกอบกับพระราชบัญญัติ ส่งให้กรรมการกาชาดระหว่างประเทศตรวจก่อน เมื่อเห็นชอบด้วยแล้ว จึงจะประกาศใช้ กรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ทักท้วงว่าข้อบังคับนั้นมีข้อความบางข้อที่ยังขัดกับพระราชบัญญัติเดิม แต่ผลที่สุดก็ได้ยอมตกลงให้ความรับรอง เปนอันเสร็จกันไปแล้ว

บัดนี้ ได้ปฤกษากัน เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า เพื่อบำบัดข้อขัดข้องทั้งปวงควรมีพระราชบัญญัติเพิ่มเติม เพื่อพระราชทานอำนาจแก่สภานายก (สภานายิกา) ในอันที่จะวางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการปกครอง แลวิธีดำเนินการของสภาได้ แลยกเลิกข้อความในพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม พ.. 2461 เฉพาะที่เปนปฏิปักษ์ต่อบทพระราชบัญญัติใหม่นี้ ฤๅต่อข้อบังคับ ซึ่งสภานายก (สภานายิกา) ได้วางไว้โดยอาศรัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อบำบัดข้อที่ขัดกันเล็กน้อย อันกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้ทักท้วงนั้นให้พ้นไป เมื่อต้องตราพระราชบัญญัติเพิ่มเติมฉนี้แล้ว น่าจะนึกว่าเหตุไฉน จึงไม่ตราพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติเดิมเสียทีเดียวเล่า ทั้งนี้เนื่องมาแต่ความคิดว่า ข้อกำหนดอันได้วางลงโดยข้อบังคับนี้ เปนข้อความเลอียดจุกจิกหลายอย่าง อาจมีการที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอีกต่อไปได้เนือง ๆ หากตราเปนพระราชบัญญัติแล้ว การแก้ไขพระราชบัญญัติย่อมเป็นการใหญ่มาก ไม่น่านิยมให้ต้องแก้เนือง ๆ จึงได้รับพระราชทานวางลง เปนข้อบังคับ เพื่อ

 

 

758 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

แก้ไขได้สดวก โดยฐานะที่ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมแลข้อบังคับ ซึ่งได้กราบบังคมทูลนี้ เพื่อได้รับพระราชทานพระบรม-ราชวินิจฉัย แลขอพระราชทานกราบบังคมทูลให้ทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทด้วยว่าร่างนี้ มหาอำมาตย์ตรี พระยาจินดาภิรมย์ กรรมการที่ปฤกษาของสภากาชาดสยาม เปนผู้ได้ช่วยตรวจแลเรียบเรียง กับพระยาจินดาภิรมย์ ได้นำไปหารือ นายอาร์ คี ยอง หัวน่ากรรมการร่างประมวลกฎหมาย ตรวจออกความเห็น แลได้ช่วยแก้ไขด้วยตลอดแล้ว ถ้าชอบด้วยพระราชดำริ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประกาศใช้สืบไป

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า

ข้าพระพุทธเจ้า บริพัตร ขอเดชะ

อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม

 

 

หมายเหตุ

หลังจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเห็นชอบกับรูปแบบกฎหมาย (ร่าง) ของพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยามเพิ่มเติม พุทธศักราช 2463 แล้วว่า สอดคล้องกับรูปแบบกฎหมายสำหรับสภากาชาดของแต่ละประเทศที่กำหนด เรียกว่า Draft Model Law (For National Red Cross) จึงรับสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิก

 

2463 - 6 ตั้งกรมแพทย์ในกระทรวงนครบาล(51) (แยกงานแพทย์กรมสุขาภิบาล จัดเป็นหมวดหนึ่ง)

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.. 2463 กระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทยมีบันทึกข้อตกลงกับกระทรวงนครบาล เรื่องโครงการสาธารณสุข จึงมีข้อเสนอให้ตั้งกรมแพทย์ในกระทรวงนครบาล ความว่า

...การแพทย์ในมณฑลกรุงเทพฯ เวลานี้ยังแยกกันอยู่หลายแห่ง กองแพทย์ในกรมสุขาภิบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการรักษาพยาบาลเฉพาะในเขตสุขาภิบาลแห่งพระนครเท่านั้น มีหน้าที่ก้าวก่ายออกไปนอกเขตสุขา-ภิบาลแต่ในบางเรื่อง เช่น ควบคุมและระงับโรคระบาด เป็นต้น ส่วนการรักษาพยาบาลและการสุขาภิบาลในจังหวัดอื่น ๆ เป็นหน้าที่แพทย์กรมพระนครบาล การรักษาพยาบาลในกองมหันตโทษก็เป็นหน้าที่ของแพทย์ในกรมราชทัณฑ์ จึงเห็นว่าควรตั้งกรมแพทย์ขึ้นใหม่กรมหนึ่งกระทรวงนครบาลขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงนครบาล ย้ายกองแพทย์ในกรมสุขาภิบาล แพทย์กรมราชทัณฑ์ แพทย์กรมพระนครบาล มาสังกัดกรมแพทย์ที่จะตั้งขึ้นใหม่นี้ กรมแพทย์พระนครบาล นี้มีหน้าที่จัดการสาธารณสุข จัดการรักษาพยาบาลในมณฑลกรุงเทพฯ ทั่วไป (รวมทั้งการรักษาพยาบาลในเรือนจำด้วย) ตามคำแนะนำในความควบคุมของกรมสาธารณสุข...

 

 

759 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

759

Draft Model Law (For National Red Cross) ฉบับปัจจุบัน

 

 

760 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

760

 

 

761 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

761

 

 

762 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

762

 

 

763 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

2463 - 7 พระนิพนธ์โรคทุเบอร์คุโลสิส

สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงพระนิพนธ์บทความโรคทุเบอร์คุโลสิส ซึ่งกรมสาธารณสุขตีพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารสาธารณสุข ทั้งยังจัดพิมพ์ช่วยในงานพระราชทานเพลิงพระศพจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวง-พิษณุโลกประชานาถ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.. 2463 เป็นข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวัณโรคที่สมบูรณ์และเผยแพร่แก่ประชาชนให้รู้จักปฏิบัติตัวครั้งแรกของประเทศไทย

 

2463 - 8 ตั้งกองบรรเทาทุกข์ สภากาชาดสยาม(52)

วันที่ 23 ธันวาคม พ.. 2463 สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์-วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ทรงตั้งกองบรรเทาทุกข์สภากาชาดสยาม สำหรับกิจการฝ่ายบรรเทาทุกข์ มีหน้าที่ช่วยเหลือในการระงับทุกข์ของประชาชนทั้งในยามสงครามและยามสงบ

สภากาชาดสยามในเวลานี้ประกอบด้วย 4 กองแยก ได้แก่

1. กองพยาบาล สำหรับกิจการฝ่ายโรงพยาบาล ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

2. กองวิทยาศาสตร์ สำหรับกิจการฝ่ายสถานวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ที่สถานเสาวภา

3. กองสุขาภิบาล สำหรับทำการร่วมกับกรรมการสุขาภิบาลระหว่างชาติ (แผนก International Health Board) ของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

4. กองบรรเทาทุกข์ สำหรับช่วยเหลือในการระงับทุกข์ของประชาชน ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด ทั้งในเวลาสงครามและยามสงบ ภารกิจอีกประการหนึ่งคือ ตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหญิงชายให้มีความรู้ในการพยาบาล เพื่อเป็นนางพยาบาลและบุรุษพยาบาล ได้โอนโรงเรียนนางพยาบาลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาจัดการ

 

 

.. 2464

 

2464 - 1 รายงานกองสุขาภิบาลสภากาชาดสยาม ร่วมกับ Rockefeller Foundation(53) และการจัดทำข้อตกลงระหว่างมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์กับสภากาชาดสยาม “Memorandum on the History and Development of the Sanitary Service”(54)

วันที่ 14 มกราคม พ.. 2464 พระองค์เจ้าธานีนิวัต ราชเลขาธิการ กราบบังคมทูลพระกรุณา ความว่า

 

...เสนาบดีศึกษาว่า เมื่อหมอไฮเซอร์ เจ้าน่าที่ผู้ 1 ของรอคเฟลเลอร์เฟาน์เดชั่น มาตรวจการแพนกสาธารณสุขที่เขาจัดอยู่ในประเทศสยามนั้น ได้พูดถึงเรื่องการจัดการศึกษาทางแพทย์ในเมืองเรา...ฝ่ายตะวันออกมีหมอไฮเซอร์เป็นหัวน่า เฉภาะในประเทศสยามมีหมอบาร์นส์ เป็นเจ้าน่าที่ทำการติดต่อกับ

 

 

764 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

สภากาชาดสยาม ตามเสียงหมอไฮเซอร์ ดูเหมือนอยากจะช่วยเหลือการศึกษาทางแพทย์ในเมืองเรา แต่จะมาทำเองโดยมิได้รับคำเชื้อเชิญก็เกรงว่าเราจะเห็นเปนการยื่นมือเข้ามา ถ้าเราเชื้อเชิญเช่นประเทศอื่น...เขาคงจะมาช่วยเหลือเปนแน่

การจัดการศึกษาในทางแพทย์กระทรวงศึกษาได้เคยรู้สึกอึดอัดอยู่ 2 ประการ คือ จะจัดวิธีอย่างไรดี และจะหาเงินที่ไหนมา เพราะฉนั้นถ้าเราเชิญรอคเฟลเลอร์ เฟาน์เดชั่นให้มาช่วย เขาคงส่งผู้ชำนาญมาตรวจและวางโครงการ จะรับหรือไม่นั้นแล้วแต่เรา ส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เปนของรอคเฟลเลอร์เฟาน์เดชั่นทั้งหมดด้วย เจ้าน่าที่ในแพนกนี้ชื่อ หมอเปียร์ส กำลังตรวจอยู่ในประเทศจีนไปจนราวเดือนมิถุนายน ถ้าเราจะเชื้อเชิญเฟาน์เดชั่นให้ส่งผู้ชำนาญมาดูงานในประเทศเราบ้าง คงจะเปนการสะดวกแก่เขา ทั้งนี้ถ้าชอบด้วยพระ-ราชกระแสพระราชดำริแล้ว เสนาบดีศึกษาจะได้เชิญไปในนามรัฐบาล...

 

วันที่ 15 มกราคม พ.. 2464 มีพระราชกระแสรับสั่ง ดังนี้

 

ควรถามความเห็นของกระทรวงต่างประเทศก่อน

ราม ป..

 

วันที่ 5 เมษายน พ.. 2464 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือที่ 1/72 กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชปฏิบัติเรื่องการเชิญ Rockefeller Foundation ในนามรัฐบาลสยามผ่านทางหมอไฮเซอร์ (ขณะนั้นอยู่ที่เกาะลังกา) และหมอบาร์นส์ (อยู่ที่เชียงใหม่) ซึ่งรับว่าจะโทรเลขไปยังร็อคกี้เฟลเลอร์ฟาวน์เดชั่น เมื่อทราบพระราชดำริ

ในหนังสือกราบบังคมทูลฉบับนี้กล่าวอธิบาย Rockefeller Foundation ไว้ดังนี้

 

...Rockefeller Foundation นี้ นาย Rockefeller เศรษฐีอเมริกัน ได้มอบทุนทรัพย์ให้ถึง 150 ล้านเหรียญทอง ตั้งขึ้นสำหรับการอนามัยแห่งเพื่อมนุษย์ทั่วโลก เป็นการกุศลโดยแท้ ไม่มีเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใดอย่างหนึ่งเลย เขาได้แบ่งเป็นแผนกใหญ่ ๆ คือ

1) แผนก International Health Board

2) ฝ่ายตะวันออก มีหมอไฮเซอร์เป็นหัวหน้า ดูกิจการในประเทศสยาม (มีหมอบาร์นสเป็นเจ้าหน้าที่ทำการติดต่อกับสภากาชาดไทย) ออสเตรเลียอินเดีย ลังกา อียิปต์ ฯลฯ

3) ฝ่ายตะวันตก

4) ฝ่ายอเมริกา

 

 

765 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

5) แผนก China Medical Board

6) แผนก Rockefeller Institute New York

7) แผนก Medical Education in Foreign Countries มีหมอเปียร์สเป็นหัวหน้าแผนก ได้ทำการอยู่แล้วในประเทศบราซิล ชิลี อังกฤษ อเมริกา แคนาดา โดยความเชื้อเชิญของรัฐบาลประเทศนั้น ๆ...

 

คำอธิบายนี้ทำให้ทราบว่า Rockefeller Foundation มอบหมายให้แผนก International Health Board ฝ่ายตะวันออกมีหมอไฮเซอร์เป็นหัวหน้า ปฏิบัติการครั้งแรกคือ The Eradicationof Hookworm Disease ที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสภากาชาดสยาม ระหว่าง พ.. 2459 - 2464

เมื่อแผนก International Health Board ฝ่ายตะวันออกได้เสร็จสิ้นภารกิจ จึงได้ประสานให้อีกแผนกคือ แผนก Medical Education in Foreign Countries ซึ่งมีหมอเปียร์สเป็นหัวหน้าแผนก เข้าจัดการแก้ไขการศึกษาแพทย์ของประเทศไทยในช่วง พ.. 2464 - 2478 ซึ่ง Rockefeller Foundation เรียกปฏิบัติการครั้งหลังว่า Reorganization of the Medical School of the Chulalongkorn University

วันที่ 19 เมษายน พ.. 2464 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ มีหนังสือที่ 12/843 ไปยังมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณี-ศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ ความว่า ให้เสนาบดีร่างหนังสือเชิญทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพิจารณา เพราะถ้อยคำจะมีไปว่ากระไร เพียงใด

วันที่ 29 เมษายน พ.. 2469 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือที่ 4/423 กราบบังคมทูลผ่านมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการแนบร่างจดหมายเชิญ Rockefeller Foundation

วันที่ 8 พฤษภาคม พ.. 2462 ถึงวันที่ 18 ธันวาคม พ.. 2462 สมเด็จเจ้าฟ้า-กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถมีพระราชหัตถเลขาโต้ตอบนายแพทย์บาร์นส์ (M. E. Barnes) แห่งมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เพื่อจัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสภากาชาดสยามกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (อยู่ในระหว่างดำเนินการ)

วันที่ 10 พฤษภาคม พ.. 2464 สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ มีหนังสือที่ 33/2102 ไปยังมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีล-วิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลว่า ร่างดังกล่าวยังไม่เปนที่เรียบร้อยในทางสำนวนแต่งจึงให้หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรร่างขึ้นใหม่ฉบับหนึ่ง มีใจความเดียวกัน แต่ดีกว่าร่างเดิมมาก ในร่างนี้มีใจความสำคัญในย่อหน้าสุดท้ายดังนี้

…In view of the important attached by government to question of public health and their interest in the progress made in medical science and education, I need hardly assure you that any

 

 

766 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

suggestion, recommendation or proposition of kind just refer to will always receive from The Royal Government a ready welcome and a most earnest and sympathetic consideration.

 

วันที่ 13 พฤษภาคม พ.. 2464 กรมราชเลขาธิการมีหนังสือกราบทูลสมเด็จกรมพระยา-เทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศว่าการที่จะเชิญนั้น ไม่ได้ทรงคัดค้านอย่างใดแล้ว จึงประทานร่างใหม่มา ร่างใหม่ดีกว่า ควรจะเอาตามนั้น

วันที่ 8 มิถุนายน พ.. 2464 สภากาชาดสยาม โดยนายแพทย์เอ็ม. อี. บาร์นส์ ผู้อำนวยการกองสุขาภิบาล สภากาชาดสยาม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา(55) ความว่า ในปี พ..2463 สภากาชาดสยามได้จัดตั้งกองนี้ขึ้น ทำการร่วมมือกับทุนของนายร็อคกี้เฟลเลอร์ ได้กระทำการกำจัดโรคพยาธิปากขอและการสุขาภิบาล มีรายการที่ได้ทำไปในปี พ.. 2463 และก่อนปี พ.. 2463

วันที่ 24 สิงหาคม พ.. 2464 พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ราชเลขาธิการ กราบบังคมทูลถวายรายงานที่ 273/64 โดยย่อ มีความสำคัญบางตอนดังนี้

หมอเปียร์สได้ให้ความเห็นไว้พอเปนเลา ๆ ว่า การฝึกหัดแพทย์ควรจะจัดเปน 2 ชั้น คือ

(1) นักเรียนแพทย์ชั้นสูง ควรรับแต่นักเรียนที่สอบไล่ได้มัธยมบริบูรณ์ (ปีที่ 3) ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการแล้ว เข้าเล่าเรียนวิชาตามหลักสูตรมีกำหนด 6 ปี ให้เรียนภาควิทยาศาสตร์ล้วน 2 ปี เรียนวิชาแพทย์ 4 ปี เมื่อเรียนสำเร็จแล้วให้เปนแพทย์ปริญญาซึ่งมีทางที่จะขอให้มหาวิทยาลัยต่างประเทศรับรองว่า เสมอการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ทำนองเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศรับรองว่า มัธยมปีที่ 8 ของเราเสมอการสอบไล่ Matriculation ของเขา นักเรียนแพทย์ที่สอบไล่ได้ชั้นสูงเชนนี้ เมื่อจะไปเรียนวิชาเพิ่มเติมอีก ณ ต่างประเทศ ก็เรียนชั้น Post Graduate ทีเดียวเพียง 1 หรือ 2 ปีก็สำเร็จ

(2) นักเรียนแพทย์ชั้นสามัญ ควรรับนักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ดังรับอยู่เดี๋ยวนี้ มีกำหนดเรียน 3 หรือ 4 ปี (เดี๋ยวนี้เรียน 6 ปี) แล้วออกทำการเปนสารวัดแพทย์สำหรับการสาธารณสุข หรือทำการรักษาพยาบาลทั่ว ๆ ไป ให้ทันกับความต้องการของบ้านเมือง...

 

 

767 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

767_1

หมอไฮเซอร์ หมอบาร์นส์ หมอแมคฟาร์แลนด์ และหมอเอลลิส วัดพระแก้ว พ.. 2464

 

767_2

เจ้าหน้าที่สำรวจโรคพยาธิปากขอประจำอำเภอสันทราย

 

 

768 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

768_1

พระภิกษุกำลังส่องกล้องจุลทรรศน์ดูตัวพยาธิปากขอ ภาคเหนือ

 

768_2

การสำรวจพยาธิปากขอในภาคเหนือ

ที่มา : Rockefeller Archive Center

 

769 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

วันที่ 13 ตุลาคม พ.. 2464 กระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือกราบบังคมทูลที่ 39/5285 ผ่านมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ ความว่า

 

ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวง ศึกษาธิการเชิญ รอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่น ช่วยอุดหนุนการศึกษาทางแพทย์ของประเทศสยามนั้น บัดนี้หมอบาร์นสได้แจ้งมาว่า รอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่น จะส่งหมอเปียร์ส เข้ามาดูกิจการแผนกแพทยศาสตร์ของเราที่จัดอยู่ เพื่อทำรายงานและความเห็นเสนอรอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่น ว่าควรจะช่วยเหลือเพียงไร...ถ้าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้หมอเปียร์สได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยเฉพาะ เขาจะรู้สึกเป็นเกียรติยศ...

 

วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.. 2464 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือที่ 45/5904 เรียนแจ้งมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า มหาวิทยาลัยได้เชิญหมอเปียร์สไปเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อพบแพทย์ทั้งหลายที่ทำการเกี่ยวเนื่องกับมหาวิทยาลัย และท่านได้เชิญไปเลี้ยงอาหารเย็นที่บ้าน ซึ่งหมอเปียร์สชี้แจงว่า

 

...ในการที่ รอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่น จะช่วยนี้เป็นส่วนทางวิชา เขามีความเห็นว่า ชั้นต้นบางทีจะส่งศาสตราจารย์มาให้ 6 คน พอครบวิชาที่ต้องการ เขาจะขอให้ศาสตราจารย์ที่มีชื่อเสียงของเขาในการจัดสอนวิชาและการสอบไล่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกหัด มีสถานที่และเครื่องใช้ก็จะช่วยได้บ้างเหมือนกัน เขาเห็นว่า ควรมีความตกลงกันระหว่างรัฐบาลสยามกับรอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่น กำหนด 5 ปี ในการที่จะฝึกสอนวิชาแพทย์ เมื่อครบ5 ปีแล้ว ถ้ารัฐบาลสยามยังต้องการให้ช่วยต่อไปอีก ก็จะรับช่วยต่อไปอีก 5 ปีรวมเป็น 10 ปี แต่ทั้งนี้เป็นความเห็นเขา ซึ่งจะได้รายงานต่อรอคคีเฟลเลอร์เฟาวน์เดชั่น เมื่อตกลงอย่างไรคงจะบอกมาให้ทราบภายหลัง...

 

วันที่ 19 มกราคม พ.. 2465 ราชเลขาธิการกราบบังคมทูลย่อเรื่องแผนกต่างประเทศที่ 8/65 ว่า ร็อคกี้เฟลเลอร์ฟาวน์เดชั่นรับช่วยเหลือการศึกษาในแผนกนี้

วันที่ 23 มกราคม พ.. 2465 (January 23, 1922) Dr. Richard M. Pearce, The Rockefeller Foundation, 61 Broadway, New York มีจดหมายถึงเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ อธิบายพร้อมแนบเอกสารข้อเสนอการพัฒนาแพทยศาสตร์ศึกษา 6 แผ่น

 

 

770 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

770_หมอเปียร์ส (Dr. Richard M. Pearce)

หมอเปียร์ส (Dr. Richard M. Pearce)

Director of the Rockefeller Foundation’s Medical Sciences Division,

Prepared a report on the state of medical education in Siam. Issued in 1921,

the report set the stage for frank discussions between the Ministry of Education and

the Foundation regarding a plan to improve medical education.

ที่มา : Rockefeller Archive Center

 

...The Result of the discussion of the material I collected in Siam, the following plan for the development of Medical Education in the Royal Medical School of Bangkok is proposed: …

 

วันที่ 17 เมษายน พ.. 2465 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือที่ 2/111 เรียนแจ้งมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบ เรื่องงบประมาณสร้างสถานปาโถโลยี 1 หลัง ราคา80,000 บาท โดยใช้เงินทุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตึกพยาบาล 1 หลัง ราคา 80,000 บาท ด้วยเงินของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชทาน และกราบบังคมทูลว่า

 

...สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเอาเป็นธุระในเรื่องนี้อยู่มาก ทรงเข้าพระไทยทางการได้ถ้วนถี่ ได้ทรงพบปะสนทนากับหมอวินเซนต์ นายกแห่งฟาวน์เดชั่น และได้ทรงรับกับเขาไว้ว่าจะมาฟังความและรับสั่งแก่เขาเมื่อเสด็จกลับออกไป พระองค์ท่านได้ทรงตรัสแนะนำว่า เพื่อให้ทันในเวลาอันน้อย ควรมีกรรมการสำหรับพิจารณาเรื่องนี้ เพื่อให้มีผู้แทนของกระทรวงที่ใช้แพทย์เข้าเปนกรรมการด้วย กระทรวงศึกษาธิการเปนเจ้าหน้าที่ พระองค์ท่านก็ทรงยินดีจะช่วยเหลือ ข้าพเจ้าเห็นชอบด้วยพระดำริห์และเห็นว่าถ้าได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีกรรมการ และได้พระองค์ท่านเปนประธาน กับมอบการจัดเรื่องกรรมการนี้ไว้ในพระองค์ท่านจะเปนการดีมาก...

 

771 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

วันที่ 20 เมษายน พ.. 2465 มหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราช-เลขาธิการ มีหนังสือที่ 2/49 เรียนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการว่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการรีบไปทูลปรึกษาเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเสียก่อน

วันที่ 21 เมษายน พ.. 2465 หนังสือที่ 4/198 นามเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ได้ไปทูลหารือสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศแล้ว รับสั่งว่า เหนควรให้จัดการตามที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ได้ตกลงกับเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์

วันที่ 21 พฤษภาคม พ.. 2465 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์มีลายพระหัตถ์แจ้งความมายังเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ความสำคัญบางตอนดังนี้

 

...ตามคำสั่งของเจ้าคุณ ข้าพเจ้าได้พิจารณาการที่ รอคคิเฟลเลอร์เฟานเดชั่น จะรับช่วยจัดการบำรุงการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศสยาม ดังมีความแจ้งอยู่ในจดหมายของนายแพทย์เปียร์ส ผู้แทนรอคคิเฟลเลอร์เฟานเดชั่นในแผนกแพทย์ศึกษา และได้ตรวจข้อที่นายแพทย์เปียร์สขอให้รัฐบาลสยามรับสัญญา จัดเป็นส่วนที่รัฐบาลจะช่วยในกิจการที่จะกระทำร่วมกัน ข้าพเจ้าได้ปฤกษาเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้วยการใช้แพทย์และสอนแพทย์ รวบรวมใจความได้ดังต่อไปนี้ ในชั้นต้น จะขอรายงานความเห็นว่า ถ้ารัฐบาลรับการช่วยของรอคคิเฟลเลอร์เฟานเดชั่นแล้วจะมีผลดีผลร้ายอย่างไรบ้าง...

 

วันที่ 10 มิถุนายน พ.. 2465 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือที่ 15/1513 กราบบังคมทูลผ่านราชเลขาธิการ พร้อมแนบรายงาน 2 ฉบับ คือ

1. รายงานของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ พร้อมสำเนาหนังสือของหมอเปียร์ส

2. รายงานกระทรวงศึกษาธิการ ย่อเรื่องรอคคิเฟลเลอร์เฟาน์เดชัน รับจะช่วยจัดการบำรุงการศึกษาทางแพทยศาสตร์มี 3 ตอน 25 หน้า

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ กราบบังคมทูลถวายความเห็นของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเงินใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาเงินเดือนแพทย์ผู้ที่สอบได้ปริญญาตามที่จะจัดนี้ ปัญหาเงินเดือนศาสตราจารย์ 6 ตำแหน่ง ปัญหาค่าใช้จ่ายก่อสร้างปัญหาเรื่องศรัทธาในความปรองดอง และปัญหาคน

 

...ปัญหาคนที่จะจัดการฝ่ายเรานี้เป็น ปัญหาสำคัญเพราะเมื่อเริ่มจัดคณะแพทยศาสตร์ ก็จำเป็นต้องจัดคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย

 

 

772 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ทันที คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นคณะใหญ่และเป็นคณะที่มุ่งหมายไว้ว่า นักเรียนทุกคนจะเรียนทางคณะใด ๆ ก็ต้องผ่านคณะนี้ก่อนทั้งนั้น... เพราะฉะนั้น ถ้าได้บุคคลอย่าง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุน-สงขลานครินทร์ ทรงงานทางกรมมหาวิทยาลัยในภายหน้าแล้ว กระทรวงศึกษาจะยินดีหาน้อยไม่...

 

วันที่ 26 มิถุนายน พ.. 2465 มหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ ไกรฤกษ์) ราชเลขาธิการ มีหนังสือกรมราชเลขาธิการที่ 24/720 เรียนแจ้งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์-มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ความสำคัญบางตอนดังนี้

 

เรียน ท่านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

ตามหนังสือท่านที่ 15/1513 ลงวันที่ 10 เดือนนี้ ทูลเกล้าฯ ถวายสำเนารายงานของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ เรื่องการที่รอคคิเฟลเลอร์เฟาน์เดชัน รับจะช่วยจัดการบำรุงการศึกษาทางแพทยศาสตร์ในประเทศสยาม พร้อมด้วยความเห็นของท่านในเรื่องนี้ ได้นำความขึ้นกราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ตามพระบรมราชโองการแล้ว มีพระกระแสว่า หนังสือของท่านดังนี้ ดูเหมือนจะทำเป็นรายงานที่พิสดารในเรื่องนี้ เมื่อทรงฟังความที่ท่านกล่าวมาก็ดูเหมือนว่าการทั้งปวงในเรื่องนี้ที่ได้ปฤกษาหารือกับกระทรวงต่าง ๆ ตามที่สมเด็จ-พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์กับกระทรวงศึกษา ได้ช่วยกันไปว่ากล่าวนั้น ก็ไม่มีที่จะขัดข้องต่อการที่จะรับเขาช่วยนั้นแล้ว

อนึ่งตามที่ท่านทูลเกล้าฯ ถวายลายพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯทรงมีถึงท่าน ลงวันที่ 21 พฤษภาคม ทรงชี้แจงพระดำริห์ทุกข้อในความที่เขาว่ามาแล้ว ลงที่สุดเป็นคำถามว่าจะรับเขาหรือไม่ และตามที่ท่านแสดงความเห็นในหนังสือรายงานนี้ว่า ควรรับแล้วนั้น ความสำคัญยังขาดอยู่อย่าง 1 คือว่า ท่านได้ทูลตอบสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ นั้นเป็นประการใด ข้อความนี้ควรจะมีไว้ในรายงานให้ชัดเจนด้วยว่า ได้ทูลความฤๅตกลงกันไว้เป็นประการใด ๆ ด้วย เพราะเข้าพระทัยว่า ท่านจะยังไม่มีหนังสือตอบหมอเปียร์ส และจะให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ นั้นว่ากล่าวกับเขาแทนที่จะตอบหนังสือของเขา เพื่อไม่ให้มีช่องที่จะเข้าใจผิดกันในเรื่องนี้...

 

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.. 2465 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษา-ธิการ มีหนังสือที่ 19/2212 เรียนมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ ความว่า

 

 

773 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

773_เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์

 

 

ด้วยหนังสือท่านที่ 24/720 ลงวันที่ 26 มิถุนายน ศกนี้ เรื่องรอคคิเฟลเลอร์เฟาน์เดชันนั้นทราบแล้ว เรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า-กรมขุนสงขลานครินทร์ มีรับสั่งไว้ว่า เมื่อตกลงรับให้เขาช่วยแล้ว ขอให้แจ้งแก่หมอบาร์นส์ทราบ เพื่อหมอบาร์นส์จะได้แจ้งให้หมอเปียร์สทราบ เพื่อเตรียมตัวไว้ กับได้ทรงทำความเข้าใจไว้กับหมอบาร์นส์ว่า เมื่อหมอเปียร์สจะเข้ามากรุงเทพฯ ขอให้มาทางยุโรปและเฝ้าพระองค์ท่านที่ปารีส การตอบทางราชการ เมื่อโปรดเกล้าฯ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการจะได้ตอบไปอีกส่วนหนึ่งและตอบตกลงเพียงหลักการ ส่วนรายละเอียดขอให้เขาปรึกษาหารือกับสมเด็จ-พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ แล้วมาตกลงกันในกรุงเทพฯ ขอท่านได้โปรดนำกราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา-เทวะวงศ์วโรปการ ทราบฝ่าพระบาทด้วย

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.. 2465 มหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราช-เลขาธิการ มีหนังสือแจ้งมายังเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดี ความสำคัญว่า

 

 

 

774 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

...สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทราบฝ่าพระบาทแล้ว มีรับสั่งว่า ได้โปรดให้เรียนถามท่านไปว่า ท่านได้ตอบลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์(56) นั้นเป็นประการใดบ้าง ก็หาได้ความมาอย่างไรไม่ จึงเข้าพระทัยว่าจะไม่มีคำตอบแล้วกลับได้ความมาว่าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ มีรับสั่งว่ากระไรอีกต่อไป เปนความแปลกออกไปจากรายงานฉบับก่อน ก็ได้ความกระจ่างไปอีกชั้นหนึ่ง

แต่การตอบทางราชการที่ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะได้ตอบอีกส่วนหนึ่งนั้น ทรงพระดำริห์ว่า ในหนังสือที่จะมีไปใช้ถ้อยคำอย่างไรนั้น เปนการสำคัญมาก ควรจะคิดร่างดูกันเสียก่อนมีไปได้ จึงจะดี...

 

วันที่ 7 กรกฎาคม พ.. 2465 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์-วโรปการ มีลายพระหัตถ์ถึงพระยาสุนทรลิขิต ความว่า

 

...หนังสือดอกเตอร์เปียร์ส ลงวันที่ 23 มกราคม 1922 ซึ่งขอดูและเจ้าคุณนำไปให้แล้วนั้น อ่านดูแล้ว เหนความว่า ข้อความที่กล่าวเปนหลัก (principle) นั้น มีหลายประการมากนัก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ ร่างตอบหลักที่เขาว่ามา แต่ให้ไปปฤกษาราชการที่จะกระทำขึ้น [...ภาษาอังกฤษ เอกสารชำรุด...] แล้ว ทูลหม่อมแดงมีลายพระหัตถ์ชี้แจงความที่จะรับตามเขาว่ามาได้ฤๅมิได้เปนอันมาก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ว่ายังไม่ได้ทูลตอบไปว่ากระไรเลย ดังนี้ถ้าเขาไปปฤกษากับท่าน ท่านจะว่ากระไรได้ เว้นแต่จะให้กระดาษเปล่าเปนเหมือนหนึ่งคำสั่ง ถวายไปแล้ว (carteblame instruction)(57) เท่านั้น การที่คิดตอบไปโดยอ้างพระปรมาภิธัยว่ายอมรับตามหลักการเขาว่ามาโดยสังเขป เช่นร่างเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีทำนี้ เกรงว่าจะเปนไม่ดีที่ไม่ได้กล่าวชัดเจนว่าจะยอมเพียงไร เพราะฉนั้นจะคิดแก้ร่างตอบนี้ แต่เพียงหนังสือที่ได้มาแล้ว ยังเหนไม่พอ ขอสำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมแดงที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ทูลเกล้าฯ ถวายอีกฉบับหนึ่ง เหนว่าเปนลายพระหัตถ์ลงวันที่ 20 พฤษภาคม ศกนี้ ฤๅวันไรไม่แน่นัก ส่งไปให้ด้วย แล้วจะคืนมาพร้อมหนังสือทั้งปวงในเรื่องนี้...

 

หนังสือที่สมเด็จกรมพระยาฯ ยืมไป

1) หนังสือ ดร.เปียร์ส 23 มกรา 1922

2) ย่อ ศ 6/65

3) ใบปะหน้าตอบต่อเรื่องรอคคิเฟลเลอร์เฟาน์เดชัน

4) หนังสือศึกษา 19/2212 ลง 1/6/65

5) สำเนา ส 22/800 6 กรกฎา 65

 

 

775 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

6) สำเนา ส 26/720 26 มิถุนา 65

7) หนังสือศึกษา 15/1513 ลง 10 มิถุนา 65

8) สำเนาลายพระหัตถ์ทูลหม่อมแดง ลง 21/2/65...

 

วันที่ 6 กรกฎาคม พ.. 2465 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษา-ธิการ มีหนังสือที่ 21/2316 เรียนมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ พร้อมแนบร่างจดหมายฉบับเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีตอบ Rockefeller Foundation เป็นทางการ 1 หน้า ความว่า

 

...ขอเรียนว่า กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้กราบทูลตอบสมเด็จพระเจ้า-น้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ประการใดเลย ที่พระองค์ท่านรับสั่งนั้น ได้รับสั่งล่วงหน้าไว้แต่ก่อนเท่านั้น ส่วนร่างที่จะตอบผู้แทนรอคคิ-เฟลเลอร์เฟาน์เดชัน ข้าพเจ้าได้ร่างส่งมาพร้อมด้วยหนังสือนี้แล้ว ขอท่านได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทราบฝ่าพระบาทด้วย...

 

วันที่ 7 สิงหาคม พ.. 2465 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการแจ้งความมายังมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ พร้อมแนบร่างจดหมายฉบับหม่อมเจ้าวรรณไวยากรตอบ Rockefeller Foundation เป็นทางการ 6 แผ่น ความว่า

 

...ข้าพเจ้าเหนว่าร่างหนังสือที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีทำมานั้น กล่าวย่อความเกินไป มีใจความยอมรับหลักของการที่เขาว่ามาแล้ว ก็ให้เขาไปทูลหารือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์เท่านั้น

การตอบหนังสืออย่างนี้ ควรจะกล่าวให้ชัดเจนถึงหลักข้อต้นข้อสำคัญที่ยอมรับกัน เพื่อว่าจะได้เหนว่ายอมรับกันเพียงไร ข้าพเจ้าจึงให้หม่อมเจ้าวรรณไวยากรร่างตอบขึ้นใหม่ ให้กล่าวความตามที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ยอมรับในร่างที่ทำมาแล้ว แต่ให้กล่าวความให้ชัดไปทุกข้อที่เขาว่ามา เพื่อจะได้เหนว่ายอมรับกันตรงแล้ว ฤๅมีข้อบ่ายเบี่ยงเพียงไร หม่อมเจ้าวรรณไวยากรได้ร่างถูกใจข้าพเจ้ามาก ได้แก้ไขบางคำเลกน้อยแล้ว ข้าพเจ้าได้คัดเทียบกับหนังสือที่เขามีมาคนละซีก ฤๅแถว เพื่อที่จะได้เหนความได้ง่าย ส่งมาพร้อมกับต้นหนังสือเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีที่ได้รับจาก กรมราชเลขาธิการนั้นด้วยแล้ว ขอนำความกราบบังคมทูลฯ การจะควรประการใด สุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ...

 

 

776 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

วันที่ 12 สิงหาคม พ.. 2465 มหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราช-เลขาธิการมีหนังสือที่ 93/11221 กราบทูลเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ความว่า

ข้าพระพุทธเจ้าได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละออง-ธุลีพระบาท โปรดเกล้าฯ ว่า ร่างนั้นดีแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งร่างไปยังเสนาบดีกระทรวงศึกษาแล้ว

October 3, 1922 Letter Dr. Richard M. Pearce to Prince Songkla อธิบายขั้นตอนการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันดังนี้

1) Prince Songkla sends Memorandum to Dr. Richard M. Pearce

2) Dr. Richard M. Pearce approved Memorandum

3) His Majesty, Bangkok approved Memorandum

4) The Rockefeller Foundation approved Memorandum

5) Proceed detail of the Reorganization of the Bangkok Medical School

October 6 / October 25 / November 11, 1922 - at Paris, 29 Hare Wood House, Hanover Square, London/Bournemouth: 4 Letters from Prince Songkla to Dr. Richard M. Pearce

วันที่ 23 ตุลาคม พ.. 2465 พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ กราบบังคมทูลถวายรายงานพร้อมบันทึกข้อตกลงที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ประทาน ความว่า

บันทึกข้อตกลงในวิธีที่จะดำเนินการเบื้องต้น บอร์ดออฟทรัสตีแห่งมูลนิธินั้นได้เห็นชอบด้วยแล้ว เพื่อเรียนพระราชปฏิบัติ ถ้าได้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลา มาทรงจัดการทางแผนกมหาวิทยาลัยเสียแต่เริ่มต้นจัดการใหม่นี้ทีเดียว กิจการจะดำเนินไปโดยเร็ว จะหาคนอื่นให้เหมาะกว่าได้ยากที่สุด ด้วยท่านทรงปริญญาถึง Doctor of Public Health ย่อมมี Prestige ในยุโรปอยู่ การที่จะทรงหมาย Doctor of Medicine อีกนั้น เห็นว่าไม่จำเปน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาว่า

 

ตามบันทึกนี้ก็ดีแล้ว ควรคิดจัดการทำต่อไปตามที่ได้ตกลงกัน

ราม ป..

 

หมอ Richard M. Pearce M.D. เป็น Director Division of Medical Education, Rockefeller Foundation และมี Alan Gregg M.D. เป็น Associate Director

(จดหมายฉบับ November 9, 1922 at the Rockefeller Foundation 61 Broadway,New York: Letter Dr. Richard M. Pearce to Prince Songkla)

 

 

777 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

วันที่ 21 ธันวาคม พ.. 2465 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์-วโรปการ มีหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ 14/15867 แจ้งความมายังเจ้าพระยา-ธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ความว่า

 

...ด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ได้ทรงมีพระโทรเลขมาจากปารีส ลงวันที่ 21 เดือนนี้ ฉบับ 1 ทรงขอให้ส่งต่อมายังเจ้าคุณ มีความว่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ท่านประทับทรงศึกษาที่ลอนดอนต่อไปอีก 2 ปี จะได้ทรงรับสั่งกับรอคเฟลเลอร์มูลนิธิต่อไป บรรทึกนั้นบอร์ดออฟทรัสตีเห็นชอบแล้ว ทรงขอให้มีโทรเลขไปให้ทรงทราบว่า รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เห็นชอบแต่เมื่อใด และทรงขอให้ส่งงบประมาณที่จะสร้างตึกต่าง ๆ นั้นไปถวายโดยเร็วด้วย ดังมีความแจ้งอยู่ในสำเนาพระโทรเลขที่ส่งมานี้แล้ว...

 

วันที่ 22 ตุลาคม พ.. 2466 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือที่ 26/4914 เรียนมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ รายงานการดำเนินการดังนี้

 

...รอคคิเฟลเลอร์มูลนิธิ ได้ส่งหมอคาร์เตอร์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยหมอเปียร์สมาดูงานและเพื่อปรึกษาหารือกัน เกี่ยวกับที่จะดำเนินการต่อไป ได้มาดูงานไปถึงคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้เป็นที่เตรียมนักเรียนแพทย์ 2 ปี ก่อนที่จะเรียนแพทยศาสตร์แท้แล้วได้...พร้อมด้วยพระยาไพศาลศิลปศาสตร์ ปลัดทูลฉลอง และหมอบาร์นส์ฝ่ายการทางคณะแพทยศาสตร์ก็ได้เริ่มงานตามที่ตกลงกันแล้ว...ส่วนการที่จะให้ รอคคิเฟลเลอร์มูลนิธิช่วยคณะอักษรศาสตร์และวิทยา-ศาสตร์นั้น ถ้าชอบด้วยกระแสพระราชดำริแล้ว ข้าพเจ้าขอพระราชทานบอกรับรองไป...

 

วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.. 2466 มหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ มีหนังสือกรมราชเลขาธิการที่ 37/2119 เรียนแจ้งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ความว่า

 

778 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

778_1

คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อแรกเริ่มนั้น

เรียนที่วังใหม่หรือวังวินเซอร์ระหว่างที่อาคารบัญชาการ (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์) กำลังก่อสร้าง

ต่อมากรมพลศึกษาเช่าที่ดินต่อจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วรื้อวังใหม่ เพื่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ

โดยสร้างสนามกีฬาหลัก สนามกีฬาในร่ม สระว่ายน้ำ ฯลฯ สนามกีฬาหลักส่วนบนพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังใหม่

เมื่อสร้างเสร็จใช้ชื่อว่า สนามศุภชลาศัย

 

778_2

ห้องเรียนภายในวังใหม่

เมื่อกรมพลศึกษาเช่าที่ดินจากจุฬาฯ ก็ได้รื้อวังใหม่

และสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย) ขึ้นแทน

 

 

 

779 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

779_1

ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ The Laboratory of Bacteriology in 1930

คณะอักษรศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

779_2

ห้องปฏิบัติการเคมี คณะอักษรศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

780 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

...ตามหนังสือท่านที่ 26/4914 ลงวันที่ 22 เดือนก่อน...เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต บอกรับรองการที่จะให้มูลนิธิช่วย คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นั้น ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว โปรดเกล้าฯ ว่า ถ้าไม่ขัดข้องในทางการก็ควรแท้ที่จะรับ เพราะมหาวิทยาลัยจะได้เจริญได้เร็วทันต้องการขึ้นบ้าง...

 

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.. 2467 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษา-ธิการ มีหนังสือที่ 35/7855 เรียนมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ รายงานการดำเนินการดังนี้

1) กรรมการแห่งมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ได้ประชุมกันเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.. 2466 ตกลงรับที่จะช่วยเหลือคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีกำหนด 5 ปี ในประเภทวิชาแผนกเตรียมแพทยศาสตร์ คิดจะรับเพิ่มเดือนให้กับผู้ที่จะจ้างเข้ามาเป็นศาสตราจารย์ฟิสิกส์ - เคมีสตรีคนหนึ่ง เดือนละ 300 - 500 บาท ช่วงเวลา 5 ปี อาจารย์สอนภาษาอังกฤษคนหนึ่ง เดือนละ 700 บาท กำหนดเวลา 3 ปี

2) จัดหาสถานที่สำหรับสอนวิทยาศาสตร์ช่วงเวลา 5 ปีแรกที่วังใหม่

3) วางแผนก่อสร้างสถานเรียนวิทยาศาสตร์ขึ้นใหม่ (คือ ศาลาวิทยาศาสตร์ ตึกขาว ปัจจุบันคือ ตึกชีววิทยา 1)

4) จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับการสอน

5) ใช้ทุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำหรับวิทยาศาสตร์การแพทย์ของสมเด็จ-พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ จำนวน 200,000 บาท ดอกเบี้ยปีละ 8,000 บาท สำหรับจ้างศาสตราจารย์

สมเด็จเจ้าฟ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์ ประทานเงิน 200,000 บาทแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป็นทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์ เพื่อจ้างศาสตราจารย์และส่งนิสิตไปเรียนวิทยาศาสตร์ขั้นสูง เพื่อกลับมาสอนนิสิตแพทย์

วันที่ 1 มีนาคม พ.. 2467 มหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขา-ธิการ มีหนังสือตอบเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ความว่า ได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา ทราบฝ่าพระบาท ทรงประทานอนุญาตให้ตอบรับ โดยพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 มกราคม ศกนี้

วันที่ 31 กรกฎาคม พ.. 2468 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษา-ธิการ มีหนังสือที่ 18/3003 เรียนมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ ความว่า

 

...ตามโครงการที่ได้ตกลงร่วมมือกับรอคคิเฟลเลอร์มูลนิธิ จำเปนที่จะต้องจัด โรงเรียนนางพยาบาลและนางผดุงครรภ์ ให้ดำเนินการไปทันกัน เพราะทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน และเป็นวิชชาการ แห่งคณะ

 

 

781 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

แพทยศาสตร์ ได้แนะให้ขอความช่วยเหลือจากรอคคิเฟลเลอร์มูลนิธิ ได้มีการปรึกษาหารือดังบันทึกโครงการที่ส่งมานี้ (Plan for Reorganization of the Nurses Training School at SIRIRAJ Hospital)...

ในการที่จะจัดใหม่นี้ ควรมีสถานที่เป็นส่วนสัด เห็นพร้อมใจกันว่าสถานที่เดิมของโรงเรียนวังหลัง ซึ่งจะว่างลงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.. 2469เป็นที่เหมาะ สถานที่นี้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ได้ทรงซื้อจากคณะมิชชันนารีแล้ว...ทั้งจะทรงพระอนุเคราะห์ในส่วนค่าซ่อมแซม...ทำให้เปนการสะดวกที่จะดำเนินการร่วมมือกับรอคกิเฟลเลอร์มูลนิธิอีกชั้นหนึ่งได้ แม้ในเวลาที่การเงินอัตคัด ซึ่งควรอนุโมทนาอย่างยิ่ง...

 

วันที่ 8 สิงหาคม พ.. 2468 มหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราช-เลขาธิการ มีหนังสือที่ 29/1300 ตอบเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ความว่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว

781_แผนผังอาคารภายในโรงพยาบาลศิริราช

แผนผังอาคารภายในโรงพยาบาลศิริราชตามโครงการของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์

ที่มา : งานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

782 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ทรงพระราชดำริห์ เห็นชอบด้วย

(ในอีก 2 เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต การตั้งโรงเรียนนางพยาบาลจึงมีเรื่องราวต่อเนื่องไปในช่วงรัชกาลที่ 7 ด้วย จึงขอนำมาลงเพื่อให้ความต่อเนื่องกัน)

วันที่ 19 มกราคม พ.. 2469 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือที่ 34/7360 เรียนมหาเสวกเอก พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ราชเลขาธิการ ความว่า

 

...เรื่องการจัดโรงเรียนนางพยาบาลและนางผดุงครรภ์ ว่าทรงพระ-ราชดำริเห็นชอบด้วยโครงการที่จะจัดแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้รับพระราชทานมีจดหมาย จึงบันทึกโครงการจัดโรงเรียนนางพยาบาลและนางผดุงครรภ์ ไปยังรอคคิเฟลเลอร์มูลนิธิ บัดนี้ได้รับตอบมาว่า กรรมการแห่งรอคคิเฟลเลอร์มูลนิธิ ได้ประชุมกันเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ศกนี้ ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันจัดการและช่วยอุดหนุนโรงเรียนนางพยาบาลและนางผดุงครรภ์ ตามโครงการนั้นแล้วเป็นเวลา 5 ปี (58)...

 

วันที่ 19 มกราคม พ.. 2469 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือที่ 34/7360 เรียนมหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ ความว่า

 

...หมอคาร์เตอร์ รองผู้อำนวยการแผนกการศึกษาทางแพทย์แห่งรอคคิเฟลเลอร์มูลนิธิ เข้ามากรุงเทพ มาดูการคณะแพทยศาสตร์กับคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์...ทางคณะแพทยศาสตร์ หมอคาร์เตอร์ชมเชยว่า ดำเนินการเรียบร้อยตามที่ตกลงกัน...ส่วนคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้แนะนำบางอย่างเกี่ยวด้วยดำเนินการ ซึ่งจะได้ดำริจัดการต่อไป...

 

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.. 2471 มหาอำมาตย์เอก พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มี หนังสือลับที่ 268/10739 เรียนมหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราช-เลขาธิการ แจ้งว่า ดร.คาร์เตอร์เข้ามาถึงวันที่ 7 ศกนี้ มีการเจรจาหารือกัน 7 ครั้ง วันสุดท้าย ดร.คาร์เตอร์ขอพบพระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ เป็นการส่วนตัว หนังสือลับฉบับนี้ได้อธิบายสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์หมองหมาง เช่น เรื่องการตั้งงบประมาณ ความเฉื่อยชาในเรื่องการสั่งซื้อยาจากต่างประเทศ เป็นต้น และได้แนะนำให้เปลี่ยนแปลงระเบียบการบางอย่างเป็นการแก้ไข

วันที่ 3 มีนาคม พ.. 2471 เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ มีหนังสือที่ 405/5979แจ้งพระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ความว่า ตามลายพระหัตถ์ลับที่ 268/10739 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.. 2470 ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงการแผนกแพทยศาสตร์ศึกษา ซึ่งจะทำความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ต่อไปนั้น ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว

 

 

783 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

วันที่ 7 กันยายน พ.. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาตอบว่า

 

การร่วมมือต่อไปนั้น เราต้องจัดให้จงได้

เรื่องการเงินดู ไม่น่าจะขัดข้องเลย ให้ตอบไปตามร่างนั้นได้

ประชาธิปก ป..

 

วันที่ 17 ตุลาคม พ.. 2472 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือที่ 225/9213 เรียนมหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ แจ้งว่า

 

...เนื่องจากที่สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ สิ้นพระชนม์รอคกิเฟลเลอร์มูลนิธิได้โทรเลขมายังผู้แทนของเขาว่า บรรดาศาสตราจารย์ทั้ง 6 คนซึ่งจะหมดเขตต์รับราชการร่วมมือกับรัฐบาลสยามใน ค.. 1930 นี้ มูลนิธิเห็นควรอนุมัติให้เลื่อนเวลาร่วมมือโดยต่อสัญญาออกไปอีกปีหนึ่ง เพียงสิ้นปี 1931...

 

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.. 2472 เจ้าพระยามหิธรทูลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า-ธานีนิวัติ มีหนังสือตอบกลับว่า ได้กราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว

 

...โปรดเกล้าฯ ว่า ควรเลื่อนเวลาอย่างยิ่ง อาจารย์เหล่านี้ล้วนเปนคนดีมาก...

 

วันที่ 18 เมษายน พ.. 2473 กระทรวงมหาดไทยขอพระราชานุญาตบรรจุนายแพทย์สกาปิโรจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ แทนนายแพทย์ไอราแอร์ ในตำแหน่งที่ปรึกษาของกรมสาธารณสุข

วันที่ 15 ตุลาคม พ.. 2473 พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือที่ 225/9213 เรียนมหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ นำความกราบบังคมทูลเรื่องขอพระราชทานหนังสือในนามรัฐบาลสยาม ตอบขอบใจมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ในการที่ได้โทรเลขมายังผู้แทน ตกลงจะทำการร่วมมือโดยต่อสัญญาให้อาจารย์ต่างประเทศตำแหน่งต่าง ๆ ของคณะแพทยศาสตร์ซึ่งจะหมดเขตลงภายใน พ.. 2474 มีพระราชกระแสรับสั่ง ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2473 ความว่า

 

ดีแล้ว มีไปได้

 

ประชาธิปก ป..

 

 

784 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

วันที่ 6 มกราคม พ.. 2474 มหาอำมาตย์เอก พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือที่ 221/11003 เรียนมหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ แจ้งว่า ด้วย ดร.เอ. จี. เอลลิส ผู้แทนมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ในกรุงสยามแจ้งว่า

 

...การร่วมมือกับรอคกิเฟลเลอร์มูลนิธิ แผนกโรงเรียนผดุงครรภ์และพยาบาล จะหมดอายุลงในเดือนตุลาคม พ.. 2475 มูลนิธิเห็นว่า การงานแผนกนี้ยังควรช่วยกันให้เข้ารูปดีกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ จึงแสดงความเจตจำนงจะขยายเวลาการร่วมมือต่อไปอีก 3 ปี...

 

วันที่ 18 มกราคม พ.. 2474 หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล (แทน) ราชเลขาธิการ มีหนังสือที่ 289/5526 ทูลพระองค์เจ้าธานีนิวัติ ความว่า พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขยายเวลาทำการร่วมมือต่อไปอีก 3 ปี และให้พระองค์เจ้าธานีนิวัติขอความอุดหนุนจากหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ให้เงินเดือนต่อไปอีกสัก 1 ปี เพราะเวลานี้การเงินของรัฐบาลอัตคัด อาจต้องตัดรายจ่ายลงไปอีก

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.. 2474 พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือเรียนเจ้าพระยามหิธร ความว่า ทรงได้ไปหาหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ยินดีรับให้เงินเดือนอีก 1 ปี จึงขอเรียนมาเพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละออง-ธุลีพระบาท จะได้ทรงอนุโมทนา

วันที่ 3 มีนาคม พ.. 2474 เจ้าพระยามหิธรมีหนังสือที่ 333/6579 ทูลพระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ความว่า ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงอนุโมทนา

 

2464 - 2 สันนิบาตกาชาดรับรองสภากาชาดสยามและรับสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิก

วันที่ 8 เมษายน พ.. 2464 สันนิบาตกาชาด (League of Red Cross Societies) รับรองสภากาชาดสยาม และรับสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิก [สันนิบาตกาชาด (League of Red Cross Societies) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ” (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) เมื่อปี พ.. 2534]

 

2464 - 3 ตั้งหมอคาทิวเป็นที่ปรึกษากรมสาธารณสุข(59)

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.. 2464 เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือที่ 2/662 ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หมอคาทิวเป็นที่ปรึกษาในกรมสาธารณสุข

 

 

785 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

2464 - 4 กองสุขาภิบาลกาชาดสยามร่วมกับ Rockefeller Foundation

กำจัดโรคพยาธิปากขอ(60)

วันที่ 8 มิถุนายน พ.. 2464 สภากาชาดสยาม โดยนายแพทย์เอ็ม. อี. บาร์นส์ ผู้อำนวยการกองสุขาภิบาลสภากาชาดสยาม ประกาศในราชกิจจานุเบกษาความว่า ในปี พ.. 2463 สภากาชาดสยามได้จัดตั้งกองนี้ขึ้น ทำการร่วมมือกับทุนของนายร็อคกี้เฟลเลอร์ ได้กระทำการกำจัดโรคพยาธิปากขอและการสุขาภิบาล มีรายการที่ได้ทำไปในปี พ.. 2463 และก่อนปี พ.. 2463 ซึ่งได้ตรวจรักษาผู้ที่เป็นโรคพยาธิปากขอรวม 69,158 คน

 

2464 - 5 พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช 2464(61)

วันที่ 1 กันยายน พ.. 2464 มีพระบรมราชโองการตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา โดยเริ่มใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.. 2464 มีการบัญญัติศัพท์คำว่า

โรงเรียนประถมศึกษาหมายความว่า โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนประชาบาล และโรงเรียนราษฎร์

โรงเรียนรัฐบาลหมายความว่า โรงเรียนประถมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการตั้งและดำรงอยู่ด้วยเงินในงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนประชาบาลหมายความว่า โรงเรียนประถมศึกษาที่ประชาชนอำเภอหนึ่งหรือตำบลหนึ่งตั้งและดำรงอยู่ด้วยทุนทรัพย์ของตนเอง หรือที่นายอำเภอตั้งขึ้นและดำรงอยู่ด้วยทุนทรัพย์ของประชาชน

โรงเรียนราษฎร์หมายความว่า โรงเรียนประถมศึกษาที่บุคคลคนเดียวหรือหลายคนรวมกันตั้งและดำรงอยู่ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์

โดยในมาตรา 5 กำหนดให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ต้องเรียนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาจนอายุได้ 18 ปีบริบูรณ์ แต่สำหรับบางอำเภอหรือบางท้องที่อาจจะเขยิบอายุเป็น 8 - 10 ปีได้ รวมทั้งยกเว้นเด็กที่มีความบกพร่องหรือที่มีบ้านอยู่ห่างจากโรงเรียนที่สอนให้เปล่าเกิน 3,200 เมตร ฯลฯ

 

2464 - 6 ราชเลขาธิการย่อเรื่องสาธารณสุขเพื่อกราบบังคมทูล(62)

วันที่ 26 ตุลาคม พ.. 2464 พระองค์เจ้าธานีนิวัต ราชเลขาธิการ มีหนังสือย่อเรื่องสาธารณสุข กราบบังคมทูลทรงทราบพระราชปฏิบัติ ย่อความสำคัญดังนี้

 

เมื่อเดือนตุลาคม อุปนายกสภากาชาด กราบบังคมทูลว่า สันนิ-บาตสภากาชาดมีความประสงค์จะประชุมว่าด้วยการส่งเสริมการสุขาภิบาลในบุรพทิศในเดือนพฤศจิกายนปีหน้า โดยเลือกเอากรุงเทพฯ เป็นสถานที่จัดประชุม แต่ทรงวิตกถึงการงานข้างฝ่ายเราที่เขาจะมาเห็นและคงจะถามถึงใจความตามที่กราบบังคมทูลมีอยู่ 4 ข้อได้แก่

 

 

786 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

. การของสภากาชาด ในส่วนของโรงพยาบาลและส่วนของวิทยา-ศาสตร์พอเพียงจะอวดได้ ในส่วนสุขาภิบาลได้ช่วยพวกอเมริกันอยู่ในภาคพายัพ(คือ โครงการสำรวจและกำจัดพยาธิปากขอที่จังหวัดเชียงใหม่) และสภากาชาดตกลงจะจัดจังหวัดสมุทรปราการให้เรียบร้อยอีกตำบล 1 ให้พอแสดงได้

. การสาธารณสุขของแผ่นดิน ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมหน้าที่ตั้งเป็นกรมขึ้นนั้น...มีอยู่แต่ชื่อ จักต้องเสื่อมเสียพระเกียรติยศเป็นแม่นมั่น เพราะไม่เป็นที่ตกลงกันได้ในระหว่างเสนาบดี 3 กระทรวงซึ่งเปนผู้รับพระบรมราช-โองการ หากเสนาบดีได้ทำรายงานความเห็น แม้ในสิ่งที่แย้งกันเพื่อได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยชี้ขาดในทางใดทางหนึ่งแล้ว ก็จักเป็นผลสำเร็จในทันที จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชหัตถเลขาเตือนไป ได้รับรายงานตอบมาโดยพิสดาร แต่เรื่องนี้โต้ตอบซับซ้อนมาก จึงขอพระราชทานเก็บความย่อไว้ข้างหลังต่างหาก...

. ควรให้มีพระราชบัญญัติจดทะเบียนแพทย์ (หมายถึง พระราช-บัญญัติการแพทย์) เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่มีความรู้สมควร มิให้หากินทางรักษาโรคถวายร่างของพระศักดาขึ้นมาด้วย ได้รับพระราชทานร่างนั้นส่งไปยังเสนาบดีมหาดไทย เพื่อดำริต่อไป เสนาบดีมหาดไทยตอบว่า กรมสาธารณสุขได้คิดการอยู่แล้ว พร้อมด้วยกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและสภากาชาดสยามกำลังจะร่างพระบัญญัติขึ้นใหม่โดยปรึกษาพร้อมกัน

. อีกข้อหนึ่งที่สภากาชาดจะพูดถึงคือการบำบัดโรคเรื้อน...การนี้ในกรุงสยามพวกมิชชันนารีทำอยู่ที่โรคเชียงใหม่แห่งเดียว ข้างฝ่ายราชการนั้นได้ทรงทราบว่ากระทรวงนครบาลดำริอยู่แต่ไม่มีเงินจะทำ จึงทรงเห็นว่าถ้าสภากาชาดจะช่วยเหลือด้วยกำลังและทุนรอนอาจมีทางสำเร็จได้...ได้พระราชทานพระบรมราชโองการสั่งสภากาชาดสยามกับกระทรวงนครบาลให้ช่วยกันคิดการ...

 

การโต้ตอบระหว่างเจ้าหน้าที่

ตุลาคม พ.. 2461 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลัง กระทรวงนครบาล และกระทรวงมหาดไทยช่วยกันคิดรวมหน้าที่สาธารณสุขไว้ในที่เดียว โดยขอให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ร่างโครงการขึ้น แต่เวลานั้นทรงพระประชวรหนัก ซึ่งฝ่ายนครบาลได้ตักเตือนมหาดไทยอยู่เนือง ๆ แต่ฝ่ายมหาดไทยว่ายังร่างไม่เสร็จ

เมษายน พ.. 2463 กระทรวงมหาดไทยส่งร่างโครงการที่กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ทรงร่างขึ้นไปยังเสนาบดีพระคลังฯ และเสนาบดีนครบาล ฝ่ายคลังขอให้มหาดไทยตกลงกับนครบาลในเรื่องการโอนงาน แบ่งคนและแบ่งเงิน แต่ชั้นนี้ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างเข้าใจความกันไปคนละทาง ข้างฝ่ายมหาดไทยก็มีความคิดบางอย่างซึ่งดูว่าไม่จำเป็นต้องเร่งร้อน

 

 

787 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ในที่สุดแห่งการโต้ตอบ เจ้าพระยายมราชแจ้งเจ้าพระยาสุรสีห์ว่า นครบาลพร้อมที่จะมอบหมายการงาน ถ้าหากมหาดไทยจะรับเอาไปจัดการทั้งหมดโดยตรง ข้างฝ่ายมหาดไทยในชั้นนี้จึงเห็นว่าการที่จะรวมเอากรุงเทพฯ ไว้ในโครงการนี้จะไม่เป็นผลสำเร็จได้ จึงคิดละเว้นเสีย เพราะแท้จริงก็เป็นแต่ส่วนน้อยในพระราชอาณาจักร จะดำเนินการเฉพาะหัวเมือง ฝ่ายมหาดไทยจึงร่างโครงการใหม่อีก ใจความอย่างเดิม แต่เว้นความส่วนที่เกี่ยวกับกรุงเทพฯ ออกเสีย ซึ่งกรมหมื่นไชยนาทนเรนทรถวายความเห็นส่วนพระองค์ในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะพระองค์

 

2464 - 7 ปัญหาการดำเนินโครงการสาธารณสุข(63)

วันที่ 31 ธันวาคม 2464 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร (สะกดตามเอกสารต้นฉบับ) อธิบดีกรมสาธารณสุข มีหนังสือกราบบังคมทูลส่วนพระองค์เรื่องโครงการของกรมสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัญหาระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงนครบาล โดยพระองค์เห็นว่า

 

...ถึงเวลาแล้วที่จะจัดการสาธารณสุขขึ้นเปนการประเภทหนึ่งสำหรับประเทศสยาม มีกรมสาธารณสุขเป็นศูนย์กลาง...การที่กรมสาธารณสุขยังไม่เข้ารูป ยังติดขัดชักช้ามาจนบัดนี้นั้น ข้าพระพุทธเจ้ามาคิดเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเปนเพราะได้เดินทางไม่เหมาะมาตั้งแต่แรก คือได้ทำโครงการขึ้นสำหรับกระทรวงนครบาลกับกระทรวงพระคลังฯ...กระทรวงนครบาลมีความเห็นแตกต่างกันกับกระทรวงมหาดไทย คัดค้านโต้แย้งด้วยประการต่าง ๆ ทั้งสามกระทรวงนี้ มิได้หันเข้าหากัน...กรมสาธารณสุขเวลานี้เปรียบเหมือนเปนทารกซึ่งเกิดใหม่ ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อตัวเองว่าจะมีความสามารถพอที่จะเลี้ยงและบำรุงทารกนี้ให้เจริญเติบโตขึ้นได้ตามพระราชประสงค์ ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีภูมิรู้และความสามารถพอในทางสาธารณสุข ทำการในหน้าที่นี้ยังไม่สู้จะถนัด แต่ข้าพระพุทธเจ้าจะพยายามศึกษาและฝึกฝนตนเองและรับราชการฉลองพระเดชพระคุณในหน้าที่นี้จนสุดกำลัง...

 

 

หมายเหตุ

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (12 พฤศจิกายน พ.. 2428 - 7 มีนาคม พ.. 2494) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง (พระธิดาในพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) หลังประสูติได้ 12 วันพระมารดาถึงแก่อนิจกรรม พระราชบิดาทรงอุ้มมาประทานสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา-อัยยิกาเจ้า พร้อมกับตรัสว่าให้มาเป็นลูกแม่กลางทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศเยอรมนี เดิมมีพระประสงค์ที่จะศึกษาวิชาแพทย์ แต่ทรงศึกษาวิชากฎหมายตามพระราชประสงค์ของพระบิดา ต่อมาจึงทรงเปลี่ยนไปศึกษาวิชาการศึกษา และยังทรงเข้าศึกษาวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์บางอย่างเป็นการส่วนพระองค์กับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นด้วย

 

 

788 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

788_พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

 

 

พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.. 2456 ได้ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร เมื่อ พ.. 2457 และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัยเมื่อ พ.. 2458 ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและอธิบดีกรมสาธารณสุข ทั้งในด้านการจัดการศึกษาของชาติและการสาธารณสุข ทรงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้โน้มน้าวสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชให้สนพระทัยวิชาการแพทย์ พระองค์ได้รับการเชิดชูพระเกียรติเป็นพระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย และได้รับการยกย่องจากแพทย์และบุคลากรด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี หลังจากสิ้นพระชนม์ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

 

 

789 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

.. 2465

 

2465 - 1 พระราชทานพระบรมราชานุญาตดำเนินโครงการจัดตั้งกรมสาธารณสุข โดยให้ดำเนินการเฉพาะกระทรวงมหาดไทยไปก่อน(64)

วันที่ 28 มกราคม พ.. 2465 ราชเลขาธิการมีหนังสือที่ 7/435, 52/437, 10/436, 51/438 ถึงเสนาบดีที่เกี่ยวข้อง 3 กระทรวงและกรมหมื่นไชยนาทนเรนทร แจ้งพระราช-กระแสรับสั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยกับเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดำเนินการสำหรับหัวเมืองในปกครองของกระทรวงมหาดไทยไปก่อน เว้นส่วนกรุงเทพฯ ค่อยดำเนินการภายหลัง โดยพระราชกระแสรับสั่งถึงกรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ความดังนี้

 

...ได้รับหนังสือลงวันที่ 31 เดือนก่อนบรรยายความเห็นเรื่องรวมหน้าที่สาธารณสุขนั้นแล้ว เรื่องนี้เห็นใจอยู่ว่าเปนการลำบาก และฉันทราบอยู่แล้วเหมือนกันว่า จะทำความตกลงกับนครบาลไม่ง่ายนัก เพราะนครบาลเคยระแวงมานานแล้วว่า จะถูกตัดทอนอำนาจไปทีละน้อย ๆ จนในที่สุดยุบนครบาลไปสมทบมหาดไทย การที่นครบาลสงสัยเช่นนี้ จะว่าไม่มีมูลก็ไม่ได้เพราะเปนที่น่าเสียใจที่มีผู้ใหญ่ในราชการของกระทรวงมหาดไทยเคยกล่าวเปนเชิงโอ้อวดเช่นนั้นเสียด้วย

ส่วนเรื่องสาธารณสุข เห็นว่าไม่ควรรอจนกว่าจะได้รับความตกลงยินยอมของนครบาล เห็นควรจัดไปในหัวเมืองในการปกครองของมหาดไทยก่อน ฉันเชื่อว่า เมื่อนครบาลได้แลเห็นผลดีของการจัดวางการใหม่นั้นแล้ว ต่อไปคงจะว่าง่ายขึ้น ฉันจะได้สั่งไปทางราชการถึงกระทรวงการคลังด้วย...

 

2465 - 2 กองอนามัย สภากาชาดสยาม และการประชานามัยพิทักษ์(65)

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.. 2465 แจ้งความสภากาชาดสยาม

 

...ด้วยนามกองแยกและนามศัพท์ที่สภากาชาดสยามได้บัญญัติเรียกและใช้อยู่เดิมนั้น ยังไม่เปนการสดวกและสมสมัย เพราะมีสำเนียงพัวพันซ้อนกับกรมกองของรัฐบาล ทำให้เกิดความเข้าใจขึ้นได้ง่าย จึงได้เปลี่ยนใหม่ดังแจ้งต่อไปนี้

 

1) กองสุขาภิบาล สภากาชาดสยาม เปลี่ยนเรียกว่ากองอนามัย สภากาชาดสยาม” (ภาษาอังกฤษว่า The Health Section of the Siamese Red Cross Society)

2) การสาธารณสุขพิทักษ์ เปลี่ยนใช้ว่าการประชานามัยพิทักษ์” (Public Health Nursing)

3) การสาธารณสุขศึกษา เปลี่ยนใช้ว่าอนามัยศึกษา” (Health Instruction)

 

 

790 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

วันที่ 1 กันยายน พ.. 2466 สภากาชาดสยามได้โอนงานสุขาภิบาล (กองอนามัย สภากาชาดสยาม) ให้กรมสาธารณสุขทั้งหมด ตลอดจนข้อตกลงสหกรณ์กับสภาสุขภาพนานาชาติตั้งเป็นกองส่งเสริมสุขาภิบาลกรมสาธารณสุข แบ่งงานออกเป็นแผนกอำนวยการ มีหน้าที่ควบคุมกิจการ รวบรวมและทำตารางรายงานต่าง ๆ กับการงบประมาณ และหน่วยส่งเสริมสุขาภิบาล มี 5 หน่วย มีหน้าที่ส่งเสริมการสุขาภิบาลตามจังหวัดต่าง ๆ มีการตรวจเชื้อโรคกับกล้องจุลทรรศน์ มีเครื่องในการตรวจชันสูตรโรค การตรวจและรักษาโรคพยาธิปากขอ การทำส้วม การให้ความรู้ประชาชนตามโรงเรียน วัด หมู่บ้าน การตรวจหาไข้มาเลเรีย เป็นต้น(66)

 

2465 - 3 รวมงานการปกครองท้องที่ กระทรวงนครบาล รวมไว้ในกระทรวงมหาดไทย(67)

วันที่ 1 สิงหาคม พ.. 2465 มีประกาศรวมการปกครองท้องที่และแบ่งปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงยุติธรรม ความว่า

 

มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า แต่เดิมมา การปกครองท้องที่แยกย้ายกันอยู่เปนหลายกระทรวง คือ การปกครองพระนครเปนน่าที่กระทรวงนครบาล การปกครองหัวเมืองเปนน่าที่กระทรวงต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพุทธศักราช 2435 (.. 111) ได้โปรดเกล้าฯ ให้มารวมไว้เปนน่าที่กระทรวงมหาดไทยแต่แห่งเดียว บัดนี้ทรงพระราชดำริห์ว่า ราชการได้ดำเนินมาถึงขีดคั่นอันสมควรแล้ว ที่จะรวมน่าที่ปกครองนี้ไว้ในกระทรวงเดียวได้ เพราะฉนั้นจึ่งทรงให้รวมน่าที่ราชการในกระทรวงนครบาลนอกจากที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ข้างล่างนี้ เข้าไว้ในกระทรวงมหาดไทย

ส่วนการปกครองท้องที่ พร้อมทั้งงานประชาภิบาล นคราภิบาล ฯลฯอันเปนน่าที่เฉภาะกรุงเทพพระมหานครนั้น ให้มีสมุหพระนครบาลเปนหัวน่ารับผิดชอบอย่างสมุหเทศาภิบาลแห่งมณฑลต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร...ให้โอนกรมราชทัณฑ์จากกระทรวงนครบาลมาขึ้นกระทรวงยุติธรรม และโอนกรมอัยการจากกระทรวงยุติธรรมมาขึ้นในกระทรวงมหาดไทย...

 

 

หมายเหตุ

การปกครองเมืองหลวงของกรมนครบาลเป็นการจัดราชการที่มีในกฎหมายตราสามดวง ตั้งแต่สมัยพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาที่แบ่งแผ่นดินออกเป็น 4 ส่วน โดย 3 ส่วนแรก ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ให้เสนาบดี 3 คนถือตราราชสีห์ ตราคชสีห์ ตราบัวแก้ว สำเร็จราชการบังคับบัญชาทั้งพลเรือนและทหารในแต่ละภาค ต่อมา พ.. 2435 อำนาจพลเรือนทั้ง 3 ภาคถูกยุบรวมกันตั้งเป็นกระทรวงมหาดไทย ส่วนที่ 4 คือ เมืองหลวง ขึ้นกับกรมนครบาล ถูกยกขึ้นเป็นกระทรวงนครบาล และถูกยุบเป็นการถาวรในปีนี้ เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่าราชการได้ดำเนินมาถึงขีดคั่นอันสมควรแล้ว ที่จะรวมหน้าที่ปกครองไว้ในกระทรวงเดียวได้จึงกลายเป็นรากฐานการปกครองประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

791 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

.. 2466

2466 - 1 ตั้งกรมพลำภัง(68)

วันที่ 24 ตุลาคม พ.. 2466 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องวางระเบียบจัดกรมใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย ความตอนหนึ่งว่า

 

...ในแผนกการปกครองและบรรดาแผนกการต่าง ๆ ในกรมปกครองเดิมเช่น การปกครองภายใน การทำเนียบ การทะเบียน และกรมการเมืองเดิม ซึ่งเนื่องด้วยการปกครองแต่เป็นการภายนอก ให้รวมเป็นกรมเดียวกัน พระราช-ทานนามกรมนี้ว่า กรมพลำภัง...

 

จากประกาศราชกิจจานุเบกษา ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในสมัยรัชการที่ 5เมื่อ ร.. 125 มีกรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังและกรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ และในปี ร.. 127 - 129 มีกรมพลำภังและกรมฝ่ายเหนือ โดยกรมมหาดไทยฝ่ายเหนือมีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายและงานด้านอัยการ กรมพลำภังมีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ ต่อมายุบรวมกันเป็นกรมพลำภัง คือกรมการปกครองในปัจจุบัน

 

2466 - 2 พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466(69)

วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.. 2466 ประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 เพื่อคุ้มครองประชาชนจากอันตรายที่เกิดจากผู้ไร้ความรู้ ไม่รับการฝึกหัดในการประกอบโรคศิลปะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ กำหนดให้มีสภาการแพทย์ เพื่ออนุญาตและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ

 

 

.. 2468

 

2468 - 1 รายงานกรมสาธารณสุข ประจำพุทธศักราช 2465, 2466 และ 2467(70)

วันที่ 1 มีนาคม พ.. 2468 หม่อมเจ้าสกลวรรณากร อธิบดีกรมสาธารณสุข เสนอรายงานกรมสาธารณสุขต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าถวายฯ รายงานฉบับนี้ มีจำนวน 166 หน้า แบ่งเป็น 22 บท พร้อมแสดงตารางสถิติต่าง ๆ จำนวนมากจากทั่วประเทศ เป็นรายงานฉบับแสดงข้อมูลได้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เริ่มจากบทที่ 1 คำปรารภ การปกครอง ประเภทเงินถือจ่ายและรายจ่ายต่าง ๆ การออกกฎหมายทางสาธารณสุข การเกี่ยวข้องกับนานาชาติ เรื่องสุขภาพ สุขศึกษา สถิติพยากรณ์ โรคติดต่อ การสุขาภิบาล การจัดบำรุงบุราภิบาล การบำบัดโรค การสงเคราะห์ทารกและมารดา เรือนจำ กองบุราภิบาล กองโอสถาศาลารัฐบาล กองยาเสพติดให้โทษ กองส่งเสริมสุขาภิบาล (โอนมาจากกองสุขาภิบาลสภากาชาดสยาม) รายงานของผู้ตรวจการสาธารณสุขประจำภาค การสาธารณสุขในมณฑลต่าง ๆ กองแพทย์สุขาภิบาลแห่งพระนคร

 

792_หม่อมเจ้าสกลวรรณากร

หม่อมเจ้าสกลวรรณากร

 

เนื่องจากเมื่อแรกจัดตั้งกรมสาธารณสุขเมื่อ พ.. 2461 ยังไม่สามารถจัดการทำงานของกรมสาธารณสุขได้แท้จริง เพราะไม่สามารถรวมงานระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงนครบาล จึงไม่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโครงการจัดตั้งกรมสาธารณสุข กระทรวงพระคลังจึงไม่ได้อนุมัติเงินงบดำเนินการ จนกระทั่ง พ.. 2465 ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการ เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.. 2465 รายงาน

กรมสาธารณสุขฉบับนี้จึงเป็นรายงานผลการดำเนินการครั้งแรก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงรากฐานการสาธารณสุขที่หม่อมเจ้าสกลวรรณากร รักษาการอธิบดีกรมสาธารณสุข ดำเนินการโดยใช้วิชาสถิติเข้ามาผสานในการจัดทำรายงานและการดำเนินการของกรมสาธารณสุข และเป็นรากฐานสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขเช่นเดียวกับประเทศตะวันตก

2468 - 2 โอนงาน Public Health ของกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ไปรวมในกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย(71)

วันที่ 21 เมษายน พ.. 2468

...ด้วยตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.. 2461 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกการศุขาภิบาลแพนกป้องกันความป่วยไข้ให้ความศุขแก่ประชาชน (Public Health) จากกรมศุขาภิบาลไปรวมขึ้นอยู่ในกรมสาธารณสุข แต่ในเวลานั้นมีเหตุไม่สดวกกับทางการบางอย่าง การจึงได้รอต่อมา

บัดนี้ถึงเวลาอันสมควรที่จะรวมการศุขาภิบาลแพนกนี้ให้อยู่ในความบังคับบัญชาของกรมสาธารณสุขได้ เพื่อให้การงานได้ดำเนินไปโดยเรียบร้อยสดวกดียิ่งขึ้น

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนการในกรมสุขาภิบาล แพนกป้องกันความป่วยไข้ให้ความศุขแก่ประชาชน ไปรวมขึ้นกรมสาธารณสุข คือ

1. การปกครองและการจัดการเกี่ยวกับโรงพยาบาลต่าง ๆ

. โรงพยาบาลกลาง

. โรงพยาบาลบางรัก

 

 

792 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

. โรงพยาบาลคนเสียจริต

. โรงพยาบาลโรคติดต่อ

2. ที่ทำการตรวจหาเชื้อโรคต่าง ๆ

3. การตรวจแลป้องกันโรคฝ่ายบก (โรคติดต่อ) มี

. การตรวจแลป้องกันไข้ทรพิษ

. การตรวจแลป้องกันอหิวาตกโรค

. การตรวจแลป้องกันกาฬโรค รวมทั้งการทำลายสัตว์ร้ายต่าง ๆ

4. การตรวจศพ

5. การตรวจแลป้องกันโรคร้ายทางทะเล

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เปลี่ยนนาม กรมสุขาภิบาล เป็น กรมนคราทร ส่วนกองช่างก่อสร้าง ในกรมสุขาภิบาล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เรียกว่า กองสถาปัตยะกร เมื่องานย้ายงาน Public Health ออกไปแล้ว กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลจึงเหลืองาน Municipality (การนคราภิบาล) เพียงอย่างเดียว

 

2468 - 3 ตั้งโอสถสภาจังหวัดขอนแก่น(72) (โรงพยาบาลขอนแก่น)

วันที่ 28 สิงหาคม พ.. 2468 เปิดโอสถศาลาที่จังหวัดขอนแก่น (คือ โรงพยาบาลขอนแก่น)

สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรมีใบบอกที่ 29/507 วันที่ 1 พฤษภาคม พ.. 2469 ว่า เดิมโอสถสภาและที่พักแพทย์สำหรับจังหวัดขอนแก่นไม่มี ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยกรรมการอำเภอได้จัดการเรี่ยไรจากพ่อค้าราษฎรทุกอำเภอ ได้เงินรวมทั้งสิ้น 11,455 บาท 6 สตางค์ ได้จัดสร้างโอสถสภา 1 หลัง และที่พักแพทย์ 1 หลัง ครัว 2 หลัง ตามแบบของกรมสาธารณสุข ได้ก่อสร้างเสร็จ เปิดเป็นที่ทำการตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม พ.. 2468

 

2468 - 4 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระชนมพรรษา 46 พรรษา